อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

อาหารในผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นจะถูกแบ่งออกตามความสามารถในการรับประทานอาหารของผู้ป่วย โดยอาหารเสริม จะถูกพิจารณาใช้ในกรณีที่ร่างกายได้รับสารอาหารจากอาหารหลักไม่ครบถ้วนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายสำหรับการรับประทานอาหารเพื่อดำรงชีวิต

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการย่อยและการดูดซึมสารอาหาร

เมื่อร่างกายเรามีภาวะอาหารหรือดูดซึมอาหารที่ผิดปกติ มักทำให้เกิดปัญหาโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆเช่น โรคลำไส้อักเสบ ภาวะตับอ่อนล้มเหลว โดยระบบย่อยอาหารนั้น มีหน้าที่เปลี่ยนอาหารที่เรารับประทานเข้าไปให้กลายเป็นพลังงานเพื่อให้ร่างกายได้นำไปใช้ รวมทั้งขับกากอาหารหรือของเสียออกนอกร่างกาย ผ่านทางทวารหนัก

อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ที่ต้องการโปรตีนสูง/ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน

สำหรับอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่ต้องการโปรตีนสูง ในอาหารทางการแพทย์ก็จะมีปริมาณโปรตีนที่สูงกว่าสูตรทั่วไปมาก และมีการเติมสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันและมีส่วนช่วยลดการอักเสบ จึงเหมาะกับผู้ป่วยที่มีความต้องการโปรตีนเพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น โรคมะเร็ง ผู้ป่วยพักฟื้นจากการผ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยแผลไฟไหม้ บาดเจ็บรุนแรงเฉียบพลัน เป็นต้น

อาหารทางการแพทย์สำหรับโรคตับ

สำหรับอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคตับ จะต้องมีการจำกัดในเรื่องของปริมาณไขมัน 25% ของพลังงานทั้งหมด เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับมักมีความผิดปกติในการย่อยไขมันในอาหารและมีปริมาณโปรตีนสูง 25% ของพลังงานทั้งหมด

อาหารทางการแพทย์สำหรับโรคไตเรื้อรัง

สำหรับอาหารทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง จะมีลักษณะคืออาหารจะมีการจำกัดในเรื่องของปริมาณแร่ธาตุ เช่นโซเดียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ที่อาจจะมีการคั่งอยู่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และมีปริมาณโปรตีนที่สูงถึง 17% ของพลังงานทั้งหมด เนื่องจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตจะมีความต้องการโปรตีนเพิ่มสูงมากขึ้น และนอกจากนี้ต้องมีความเข้มข้นของพลังงานสูงคือให้พลังงาน 1.8 กิโลแคลอรี่

อาหารทางการแพทย์สำหรับโรคเบาหวาน

อาหารทางการแพทย์สำหรับโรคเบาหวานนั้น เป็นกลุ่มของอาหารทางการแพทย์ที่มีการพัฒนาสูตรออกมามากที่สุด สำหรับโรคเบาหวานมักจะมีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานต่ำกว่าอาหารทางการแพทย์สูตรอื่นๆ และจะมีการใช้คาร์โบไฮเดรตที่มีค่าน้ำตาลต่ำ เพื่อชะลอไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงหลังจากรับประทานอาหารเ