การทำอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะโรค

โภชนาการของผู้ป่วย ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่ดูแลให้มากเป็นพิเศษ เพราะผู้ป่วยบางโรคต้องมีการจำกัดในเรื่องของปริมาณของสารอาหาร ดังนั้น หากผู้ป่วยได้รับสารอาหารบางชนิดที่มากจนเกินไปหรือน้อยไป ก็อาจจะได้รับผลกระทบไปถึงอาการป่วยได้ ดังนั้นอาหารของผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลโดยนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารทีครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย และที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยจจะต้องได้รับอาหารที่เหมาะสมตามโรคของผู้ป่วย ซึ่งจะต้องมีการคำนวณค่าของสารอาหารให้เหมาะสมตามที่แพทย์ต้องการ โดยนักโภชนากรจะต้องดูว่า ผู้ป่วยที่เข้ามาแต่ละคนมีภาวะขาดสารอาหารชนิดใดบ้าง หรือ เป็นโรคอะไรเช่น ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งอาจจะต้องมีการควบคุมโซเดียม และหน้าที่ของนักโภชนาการก็คือ ต้องสามารถประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เหมาะสมต่อโรค ทางอาหารปั่นผสม SN เรามีบริการอาหารทางสายยาง ที่มีการออกแบบสูตรโดยนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารอย่างปลอดภัยมากที่สุด ทางเรามีสูตรอาหารสูตรเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วย จึงทำให้มั่นใจได้ว่า อาหารปั่นผสม SN จะมีความปลอดภัยและมีคุณภาพมากที่สุด

 

และวันนี้ทางอาหารปั่นผสม SN จะมาพูดถึงการทำอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะโรค ซึ่งต้องบอกว่า เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อนมาก เพราะอาหารที่ผู้ป่วยได้รับประทานเข้าไปนั้น จะส่งผลต่อร่างกายและอาการป่วยโดยตรง เพราะฉะนั้น การออกสูตรอาหารหรือปรุงอาหารสูตรเฉพาะโรคของผู้ป่วยนั้น จึงมีความสำคัญมาก ยกตัวอย่างเช่น อาหารสำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ควรจะได้รับความรู้เกี่ยวกับโภชนาบำบัด

โรคเบาหวานและการรับประทานอาหาร ซึ่งผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องเพื่อสุขภาพ และสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีโรคแทรกซ้อนก็จะลดลงด้วย และหลักในการรับประทานของผู้ป่วยเบาหวานหรือผุ้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคนั้น จะต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยอาจจะรับประทานข้าวเป็นหลัก สลับกับอาหารพวกแป้งเป็นบางมื้อ ควรรับประทานพืชผักให้มาก และรับประทานผลไม้เป็นประจำ ถ้าหากต้องรับประทานเนื้อสัตว์ควรรับประทานเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดเป็นประจำ ดื่มนมให้พอเหมาะกับวัย หลีกเลี่ยงอาหาร หวาน มัน และเค็ม หรือรสจัด นอกจากนี้ควรรับประทานอาหาร 3 มื้อ และอาหารว่างหนึ่งมื้อ และรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ห้ามงดอาหารเด็ดขาด ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายเพื่อที่รางกายจะได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ โดยพิจารณาจากภาพให้รับประทานอาหารได้มากบริเวณฐาน รับประทานไขมันให้น้อย เลือกเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงการทอดใช้การย่าง อบ ต้ม หรือเผาแทนการทอด

 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานจะต้องควบคุมน้ำหนักด้วย เพราะในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยต้องสามารถที่จะวางแผนในการรับประทานอาหารในแต่ละมื้อได้อย่างเหมาะสม เป็นที่ทราบกันดีว่าการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายเป็นประจำ และควรรับประทานน้ำตาลให้น้อยลง ก่อนรับประทานอาหารให้อ่านสลากอาหาร หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมที่ใส่น้ำตาล หลีกเลี่ยงคุกกี้ เค้ก ลูกอม หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม โดยการเติมเกลือให้น้อย หลีกเลี่ยงอาหารกระป่อง ให้ชิมรสอาหารก่อนปรุง หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ เพื่อจำกัดปริมาณของโซเดียม การควบคุมอาหาร ทางอาหารปั่นผสม SN เราอยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกาย ยิ่งในผู้ป่วยในเรื่องขออาหารการกินถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องควบคุมและระมัดระวัง เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปนั้น สามารถส่งผลต่อร่างกายและอาการป่วยได้ ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ถือว่าพื้นฐานการมีสุขภาพที่ดี เพื่อให้เราได้ห่างไกลจากโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว