หากผู้ป่วยมีภาวะคลื่นไส้ขณะให้อาหารจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?
ในภาวะอาการเจ็บป่วยนั้น สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะมีโรคประจำตัวหรือไม่ ภาวะแทรกซ้อนหรืออาการต่าง ๆก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนเป็นต้น อาการคลื่นใส้ คืออาการอึดอัดมวนภายในท้องที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถมาได้จากหลายปัจจัย ทำให้รู้สึกอยากอาเจียนขึ้นมาทันที ซึ่งอาจอาเจียนออกมาหรือไม่ก็ได้ โดยอาการคลื่นไส้สามารถเกิดขึ้นเฉียบพลันหรือเกิดอาการเรื้อรัง หากรู้สึกคลื่นไส้เป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียตามมาด้วย ทั้งนี้ คลื่นไส้คืออาการอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพที่อาจเพิ่งเกิดขึ้นหรือสะสมมานาน สามารถเกิดได้จากปัญหาสุขภาพกาย เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารที่สามารถเป็นได้ง่าย หรือแม้แต่ระบบประสาทสมองที่เราอาจจะเป็นไม่รู้ตัว และยังมีความสมดุลของหูชั้นใน และเกิดได้จากปัญหาทางด้านจิตใจได้ในหลายๆครั้งเช่นกัน ผู้ที่เกิดอาการคลื่นไส้จะรู้สึกไม่สบายหรือพะอืดพะอมอยู่ข้างในท้องส่วนบน หน้าอก หรือลำคอ นอกจากนี้ อาจรู้สึกเอียนหรือเบื่ออาหาร หรืออยากอาเจียนออกมาได้ทันที หากเกิดอาการคลื่นไส้และรู้สึกอยากอาเจียนในช่วงขณะนั้น อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง
ดังนี้ กล้ามเนื้อหูรูดซึ่งอยู่ระหว่าง หลอดอาหารกับกระเพาะอาหารจะ คลายตัว ส่งผลให้อาหารภายใน กระเพาะไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหาร กล้ามเนื้อบริเวณท้องและกะบังลมจะหดเกร็ง หลอดลมจะปิด ท้องส่วนล่างหดเกร็ง กล้ามเนื้อหูรูดซึ่งอยู่ระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหารจะคลายตัว ส่งผลให้อาหารภายในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาที่หลอดอาหารกล้ามเนื้อบริเวณท้องและกะบังลมจะหดเกร็ง หลอดลมจะปิด ท้องส่วนล่างหดเกร็ง จนทำให้รู้สึกอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารออกมาตามหลอดอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปได้ทันที
ในการดูแลผู้ป่วยใส่สายยางให้อาหารนั้นจะต้อง ดูแลอย่างใกล้ชิดขณะที่ยังให้อาหาร นอกจากภาวะสำลักแล้วที่จำเป็นต้องสังเกตอย่างใกล้ชิดนั้นก็คือภาวะคืนไส้อาเจียน ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาขณะให้อาหาร ไม่ว่าจะด้วยและปัจจัยก็ตาม อาจเกิดจากการให้อาหารที่เร็วเกินไป หรืออาหารไม่สะอาด หรือเกิดจากปัจจัยที่เกิดจากผู้ป่วยเองที่มีภาวะท้องอืดร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการไม่สุขสบาย บางคนมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย ไม่สามารถลืมตามองได้ และในหลายหลายครั้งจะมีอาการอาเจียน โดยปกติแล้วหากผู้ป่วยมีอาการนี้ตั้งแต่แรกเริ่มก่อนให้อาหาร พยาบาลหรือผู้ป่วยนั้นจะต้องงดเว้นหรือรักษาด้วยการให้ยา เพื่อให้อาการนั้นหายไปก่อน อาจะรักษาด้วยการฉีดยาหรือรับประทานยา หลังจากให้ยาไปโดยประมาณ 1 ชั่วโมง ผู้ดูแลหรือพยาบาลจะทำการติดตามอาการอีกครั้งหนึ่ง มาด้วยอาการนั้นหายไปหรือไม่ หากอาการมันดีขึ้นแล้ว อาจสามารถพิจารณาให้อาหารมื้อนั้นได้ แต่หากอาการนั้นยังคงมีอยู่ แต่ไม่รุนแรงมากนัก อาจจะต้องเพิ่มระยะเวลาในการพัก เพราะถ้าหากให้อาหารทันทีอาการผู้ป่วยอาจจะรุนแรงมากกว่าเดิมได้ ท้ายที่สุดอาการคลื่นใส้จะดีตามลำดับหากได้รับการรักษา ผู้ป่วยต้องได้รับอาหารเพื่อความต้องการของร่างกาย
ทั้งนี้โดยการพูดไปแล้ว คลื่นไส้อาเจียนเกิดขึ้นเป็นระยะสั้น ๆ แค่ไม่กี่วัน หรือเป็นทุกวันแต่วันละครั้ง ช่วงเวลาอื่น ๆ ก็ไม่มีอาการแสดงใด ๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ ก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลนัก แต่หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนบ่อยมาก คือเป็นวันละหลายครั้ง กรณีนี้อาจเสี่ยงต่อการขาดสารน้ำ พลังงาน และขาดสารอาหารได้ ยิ่งหากเป็นเด็ก หรืออยู่ในช่วงการรักษาโรค หรือฟื้นฟูร่างกายอย่างกรณีผู้ป่วยมะเร็งด้วยแล้ว อาการคลื่นไส้อาเจียนนี้อาจเป็นอันตราย และส่งผลกระทบต่อแผนการรักษาของแพทย์ได้เลยทีเดียววิธีป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนโดยทั่วไปแล้วจะเริ่มต้นจากดื่มน้ำสะอาดอย่างพอเพียง และรับประทานอาหารอ่อน รสไม่จัด และรับประทานอาหารช้า ๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืนทุกครั้ง ถัดมาแบ่งอาหารออกเป็น 5-6 มื้อเล็ก ๆ แทนที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ๆ 3 มื้อ และจะต้องควรรับประทานอาการก่อนเข้านอนประมาณ 3-4 ชั่วโมงเพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนที่อาจเกิดขึ้นได้ อาการคลื่นใส้นั่นมีวิธีแก้ไม่ยาก หากระวังระวังก็จะสามารถป้องกันจากอาการนี้ได้แล้ว อาหารปั่นผสม SN เรามีบริการอาหารทางสายยาง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอตาอความต้องการของร่างกาย สามารถหาซื้อได้ที โรงพยาบาลธนบุรี2 และโรงพยาบางกรุงเทพ-พัทยา อาหารปั่นผสมของทาง SN เราผลิตด้วยกระบวนการที่มีมาตรฐาน ควบคุมโดยนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญ ให้อาหารปั่นผสม SN เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เหมาะสมและมีคุณภาพ