อาหารสำหรับผู้มีภาวะไขมันในเลือดสูง

การรับประทานอาหาร เป็นสาเหตุและปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมาย ในบ้านเรามีอาหารการกินที่รสชาติอร่อยและถูกปากมากมาย จึงไม่แปลกที่คนไทยจะป่วยเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารเป็นจำนวนมาก และในจำนวนผู้ป่วยก็มีกลุ่มคนที่ยังอายุไม่มากนัก ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ จึงทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆด้วย เพราะพฤติกรรมการรับประทานอาหารส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไขมันในเลือด ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ซึ่งภาวะดังกล่าวก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เพราะระดับไขมันในเลือดมีความสำคัญต่อการเกิดหลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี่ยงหัวใจ ดังนั้น ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้นั่นเอง ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหาร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง ก็ถือว่ามีผลต่อการเกิดโรคเช่นเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันสาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อย คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เนื่องจากมีภาวะระดับไขมันในเลือดสูง นับเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ซึ่งเป็นต้นเหตุความพิการของหลอดเลือด อันเป็นผลจากการเพิ่มภาวะความไม่สมดุลของระดับไขมันทุกชนิดในกระแสเลือดของตนเอง เป็นความผิดปกติที่อาจเกิดกับผู้ใดก็ได้ไม่จำกัด อายุ เพศ อ้วน หรือผอม สำหรับวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพจะมาพูดถึงอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพ

สำหรับการรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงนั้น อย่าแรงเลยคือต้องควบคุมระดับไขมันในเลือด ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการควบคุมอาหาร  การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เป็นรากฐานสำคัญของการป้องกัน และรักษาภาวะไขมันสูงในเลือด ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ พยายามปรุงอาหารโดยใช้วิธีการต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนการทอดหรือผัด เลือกอาหารประเภทต้ม ต้มยำ แกงส้ม ยำ และไม่ควรมีกะทิเป็นส่วนประกอบ ใช้ไขมันจากพืชในการประกอบอาหาร  เช่น  น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำ เลือกรับประทานเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน โดยแยกเอาไขมันและหนังออกให้หมด ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวที่ไม่ขัดสีมาก ผักสดหลากหลายสีชนิดต่าง ๆ วันละ 4-5 ถ้วยตวง พืชสมุนไพร เครื่องเทศ ธัญพืชไม่ขัดสี  วันละ 3 ถ้วยตวง  ผลไม้ไม่หวานหลายชนิด วันละ4 ผล (ขนาดกลาง) เช่น ฝรั่ง ส้ม แอปเปิ้ลชมพู่ กล้วย ฯลฯ บริโภคปลาทะเล สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพื่อเป็นการลดเนื้อสัตว์ใหญ่ ซึ่งมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ปลาทะเลมีน้ำมันปลา หรือกรดโอเมก้า 3 ช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิต และลดไตรกลีเซอไรด์ได้ หากจะดื่มนม ควรเลือกดื่มนมพร่องมันเนยหรือนมขาดมันเนย แทนนมที่มีไขมันเต็มส่วน

ควรหลีกเลี่ยง อาหารพวกเนื้อสัตว์ที่ติดมัน เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ไส้กรอก กุนเชียง แฮม เบคอน หมูยอ แคบหมู อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้งชนิดต่าง ๆ หอยนางรม ปลาหมึกสด ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น เนย ครีม เนยแข็ง ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล และกะทิ รวมไปถึงขนมที่มีไขมันแฝงอยู่ เช่น ขนมขบเคี้ยว ขนมกินเล่น ขนมเบเกอรี่ เช่น โดนัท เค้กหน้าครีม คุกกี้ ไอศกรีม และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน อย่างอาหารทอด เช่น ไก่ชุบแป้งทอดกล้วยทอด ปาท่องโก๋ อาหารพวกแกงกะทิต่าง ๆ หลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง  เช่น น้ำมันมะพร้าว และไขมันที่ได้จากสัตว์ เพราะน้ำมันเหล่านี้มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ให้เลือกใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารแทนน้ำมันสัตว์ นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยลดไขมันในเลือดแล้ว การออกกำลังกายถือเป็นเรื่องที่สำคัญด้วยเช่นกัน เพราะการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะและสม่ำเสมอ  นอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว  ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล LDL และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล HDL สำหรับผู้ที่ต้องใช้ยาในการลดไขมันในเลือด ในกรณีที่การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ไม่สามารถลดระดับไขมันในเลือดถึงระดับที่ต้องการ  จำเป็นต้องพิจารณาการใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย  ทั้งนี้ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ อยากให้ทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรง ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหาร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เราทุกคนต้องรักษาดูแลสุขภาพของเราให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อให้เรามีร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพดี

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว