อาหารสำหรับผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง

ในปัจจุบันสาเหตุของการตายที่พบได้บ่อยที่สุดคือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งอาจพบประมาณร้อยละ 50 ของประชากร เนื่องจากภาวะระดับไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ซึ่งเป็นต้นเหตุความพิการของหลอดเลือด อันเป็นผลจากการเพิ่มภาวะความไม่สมดุลของระดับไขมันทุกชนิดในกระแสเลือดของตนเอง เป็นความผิดปกติที่อาจเกิดกับผู้ใดก็ได้ไม่จำกัด อายุ เพศ อ้วน หรือผอม รวมไปถึงการดื่มสุราหรือสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือรับประทานอาหารที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง หรือรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็นของร่างกาย นอกจากนี้ยังเกิดได้จากโรคหรือการใช้ยาบางชนิด เช่น โรคไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ  โรคเบาหวาน โรคไต ยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด เป็นต้น และพันธุกรรมด้วย ซึ่งโรคไขมันในเลือดสูงนั้น สามารถควบคุมได้ด้วยวิธีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้

 

สำหรับวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาแนะนำการรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงที่ควรหลีกเลี่ยงและควรที่จะรับประทาน เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคนได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ในผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงนั้น ควรจำกัดอาหารและเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ซึ่งโดยคนปกติควรรับประทานคอเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน และในผู้ป่วยเบาหวาน ควรรับประทานคอเลสเตอรอลไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ สัตว์ที่มีกระดองแข็ง เช่น หอยนางรม ปู ปลาหมึก น้ำมันมะพร้าว กะทิ เป็นต้น สำหรับอาหารที่ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทนไขมันอิ่มตัวได้แก่ การรับประทานอาหารที่ทำจากพืช ถั่วต่างๆ และเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลาชนิดต่างๆ เน้นการประกอบอาหารแบบต้ม อบ นึ่ง ตุ๋น ยำ แทนการใช้น้ำมัน หากจำเป็นต้องใช้น้ำมันควรลดปริมาณให้น้อยลงหรือเลี่ยงการใช้น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ซึ่งจะช่วยลดปริมาณไขมันอิ่มตัวในการบริโภคได้ เลี่ยงแหล่งไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม หรืออาหารที่ใช้ไขมันดังกล่าว เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมพัฟและพาย มันฝรั่งทอด น้ำมันทอดซ้ำ

 

นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น ยำต่างๆ แกงเลียง แกงส้ม แกงเหลือง แกงป่า แกงจืด ต้มยำ ปลานึ่งกับผัก ปลาย่าง มะเขือเผา(ไม่ไหม้) อาหารที่ผัดใส่น้ำมันน้อย อาหารทอดที่ไม่อมน้ำมัน ปลาทอดโดยไม่ชุบแป้ง ไข่เจียวทอดใส่น้ำมันน้อย แทน อาหารผัดน้ำมันนองจาน อาหารทอดอบน้ำมัน เช่น ไข่ฟู ปาท่องโก๋ ไก่ชุบแป้งทอด ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง และปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ไขมันใต้ผิวหนัง ปลาทะเลดังกล่าวมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ นอกจากนี้หากต้องการดื่มนมควรเลือกนมชนิดไขมันต่ำแทนนมสดครบส่วน และที่สำคัญที่ควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะจะมีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงงดสูบบุหรี่ และควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ รวมไปถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการวิ่ง เดินเร็ว หรือขี่จักรยาน เพราะจะช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับของเฮ็ดดีแอลได้อย่างดีควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ3-4 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทั้งนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพอยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมา

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว