อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยขาดสารอาหาร
อาหารทางการแพทย์ เป็นอาหารที่ใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เพื่อช่วยผู้ป่วยให้ได้รับสารอาหารที่ถูกต้อง และเหมาะสมต่อโรค เช่นอาหารสำเร็จรูปที่ใช้ให้ทางสายอาหาร หรืออาหารที่รับประทานเสริมเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและสภาวะของโรคผู้ป่วย และการใช้อาหารทางการแพทย์ มีความจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะหากใช้อาหารทางการแพทย์อย่างผิดวิธีแล้ว จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เพราะร่างกายอาจจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน หรือในปนิมาณที่เพียงพอต่อความจำเป็นต่อร่างกาย อาจจะส่งผลให้ร่างกายเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ ซึ่งโรคขาดสารอาหาร เป็นภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา โดยอาจมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย ผิวหนังมีลักษณะผิดปกติ กระดูกหยุดเจริญเติบโต หรือมีภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น ซึ่งโรคขาดสารอาหารมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที อาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
เพราะฉะนั้น การรักษาภาวะขาดสารอาหารสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ให้แคลอรี่จำนวนมากแก่ร่างกาย ซึ่งหากมีอาการรุนแรงแพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้าพบนักโภชนาการด้วย เพื่อวางแผนการรับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ นอกจากนี้ การรับประทานอาหารเสริม อาจจะทำได้ในบางกรณี ที่ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานอาหารเสริมร่วมกับวิตามินอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมอาหารเสริมที่รับประทานเข้าไปก่อนหน้าได้ ซึ่งระยะเวลาและปริมาณในการรับประทานอาหารเสริมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการป่วย ซึ่งการใช้อาหารทางการแพทย์ก็สามารถทำได้ และทำให้สามารถป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ เพราะผู้ป่วยบางราย อาจจะรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ได้รับสารอาหารที่น้องและไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจจะต้องพิจารณาให้ใช้อาหารทางการแพทย์ เพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอ นอกจากนี้อาหารทางการแพทย์อาจจะมีรสชาติที่ไม่ถูกปาก ดังนั้นอาจจะใช้น้ำผลไม้หรือนม ผสมก็ได้ แต่ก็ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม
อย่างไรก็ตามภาวะขาดสารอาหาร สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการให้อาหารทางสายยาง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่หมดสติ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับอาหารทางสายยางเพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดไป โดยวิธีนี้อาจใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร ซึ่งอาจทำได้โดยสอดสายยางผ่านจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร หรือสอดสายยางผ่านผิวหนังบริเวณกระเพาะอาหารเข้าไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง นอกจากนี้ อาจให้สารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำได้เช่นกัน ทางอรงพยาบาล จึงมั่นใจได้ว่ามีความสะอาดและปลอดภัยมากที่สุด ทั้งยังมีการควบคุมการผลิตโดยนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของอาหารสำหรับผู้ป่วย เพื่อที่จะได้คำนวณปริมาณของสารอาหารอย่างถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด นอกจากวิธีใช้อาหารทางการแพทย์หรือวิธีการให้อาหารทางสายยางแล้ว วิธีที่ดีที่สุดที่สามารถช่วยป้องกันภาวะขาดสารอาหารได้ คือ การรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วนและครบถ้วนตามหลักอาหาร 5 หมู่ โดยเน้นอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงอย่างผัก ผลไม้ หรือธัญพืชไม่ขัดสี และรับประทานอาหารจำพวกแป้งให้เพียงพอ เช่น ข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง เป็นต้น รวมถึงเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมด้วย เพื่อให้ร่างกายได้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ