อาหารช่วยป้องกันเกล็ดเลือดต่ำ

การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งในปัจจุบันนี้คนเรานิยมหันมารักษาสุขภาพ ด้วยการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพเพราะเชื่อว่าการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะทำให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าคนไทยเราป่วยเป็นโรคประจำตัว อันมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคหัวใจและอีกมากมาย สำหรับโรคที่กล่าวมาข้างต้นนั้น มีสาเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ซึ่งอาจจะเกิดจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากจนเกินไป ทำให้ร่างกายเกิดการสะสมจนนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บ หรือเกิดความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆได้ โดยเราสามารถป้องกันได้ สำหรับวันนี้ SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาพูดถึงอาหารสำหรับผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งภาวะเกล็ดเลือดต่ำนั้นถือว่าเป็นอันตรายมากเช่นเดียวกัน และสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่การรับประทานอาหารก็สามารถป้องกันการเกิดเกล็ดเลือดต่ำได้ เกล็ดเลือด คือเซลล์เม็ดเลือดชนิดหนึ่ง ที่ช่วยทำให้เลือดแข็งเป็นลิ่ม มีหน้าที่สำคัญในการห้ามเลือดเมื่อเนื้อเยื่อเกิดบาดแผล ช่วยอุดรอยฉีกขาดของเส้นเลือดเวลาถูกของมีคมบาด ดังนั้นหากผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำก็อาจทำให้มีปัญหาเลือดออกง่าย หยุดยาก โดยปกติแล้วเกล็ดเลือดแต่ละเกล็ดจะมีอายุไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 7-10 วัน เมื่อหมดอายุก็จะถูกกำจัดออกไปเพื่อให้ไขกระดูกสร้างขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ ตลอดชีวิต

 

ก่อนที่เราจะมาพูดถึงอาหารสำหรับช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดนั้น เราจะมาพูดถึงสาเหตุที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็คือการที่ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะเกิดจากโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อที่ทำให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเกล็ดเลือดหรือเม็ดเลือดแดงเพียงพอ นอกจากนี้โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ก็เป็นสาเหตุทำให้ไขกระดูกและสเต็มเซลของเกล็ดเลือดถูกทำลาย นอกจากนี้สาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกหรือเชื้อไวรัสอีสุกอีใส ก็ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้การรับประทานยาบางชนิดที่อาจส่งผลต่อการสร้างเกล็ดเลือดเช่น ยาขับปัสสาวะหรือยาแอสไพริน นอกจากนี้การที่ร่างกายของเราขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดเช่น วิตามินบี 12 โฟเลท และธาตุเหล็ก ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้ และที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็ส่งผลต่อการสร้างเกล็ดเลือดเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ อาการสำหรับผู้ที่มีเกิดเลือดต่ำก็สามารถสังเกตได้ชัดๆนั่นก็คือ จะมีรอยช้ำตามตัว เป็นจุดเลือดออกแดงๆเล็กๆ หรือเป็นจ้ำเลือดตามร่างกายหลายจุด และถ้าหากถูกของมีคมบาดหรือเป็นบาดแผลเพียงเล็กนิดเดียว อาจจะทำให้เลือดไหลเป็นจำนวนมากและไหลไม่หยุด มีอาการเลือดกำเดาไหลบ่อยๆ เลือดออกตามไรฟัน ปัสสาวะเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด ประจำเดือนมามากผิดปกติ มีภาวะซีด อ่อนเพลียง่าย ม้ามโต นี่ก็เป็นอาการสำหรับผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ เราควรสังเกตุอาการให้ดี เพื่อป้องกันและรักษาได้อย่างทันเวลา

 

สำหรับอาหารที่มีสรรพคุณในการสร้างเกล็ดเลือดหรือเพิ่มเกล็ดเลือดนั้น มีด้วยกันหลากหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น ทับทิม เพราะทับทิมมีส่วนช่วยในการเพิ่มการสร้างเกล็ดเลือดได้ เพราะทับทิมอุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆมากมาย ในขณะที่สารต้านอนุมูนอิสระสูง มีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบในร่างกาย และยังมีสรรพคุณกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย ต่อมาคือน้ำมันปลา ที่มีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างเกล็ดเลือดในร่างกายได้ จากการศึกษาพบว่า น้ำมันปลา นอกจากจะมีโปรตีนที่สูงแล้วยังมีสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดในร่างกายได้เป็นอย่างดี และคนที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำควรรับประทานน้ำมันปลาด้วย ต่อมาคือฟักทอง ซึ่งฟักทองมีวิตามินเอสูง ซึ่งวิตามินเอมีส่วนช่วยซัพพอร์ตในการสร้างเกล็ดเลือดและในฟักทองก็มีโปรตีนอยู่พอสมควรจะช่วยกันสร้างเกล็ดเลือดของร่างกายได้ นอกจากนี้อาหารที่มีวิตามินซีสูง ก็สามารถช่วยสร้างเกล็ดเลือดได้ เพราะวิตามินซีเป็นสารอาหารที่สำคัญในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดในร่างกายได้เป็นอย่างดี ต่อมาผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักโขม กวางตุ้ง ผักบุ้ง ก็จะมีวิตามินเคค่อนข้างสูง ในวิตามินเคมีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดและอาจจะช่วยกระตุ้นการสร้างเกล็ดเลือดได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำก็ไม่ควรเน้นรับประทานอาหารที่มีสรรพคุณช่วยเพิ่มเกล็ดเลือดประเภทใดประเภทหนึ่งมากจนเกินไป เพราะอาหารบางชนิดอาจจะมีผลกระทบต่อบางโรคได้ เพราะฉะนั้น SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราอยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และคำนึงถึงปริมาณของสารอาหารที่ร่างกายควรจะได้รับให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย เพราะอาหารแต่ละชนิดถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไปก็สามารถเกิดโทษขึ้นได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นควรเลือกรับประทานอาหารให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจะเป็นการดีที่สุด

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว