ผู้ป่วยโรคไตต้องต้องระวังอาหารชนิดใดบ้าง
ในการดูแลตนเองสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวนั้น การรับประทานอาหารนอกเหนือจากการรักษาของแพทย์ถือว่าเป็นการดูแลตนเองอีกอย่างที่สามารถช่วยประคับประคองอาการของโรคควรเป็นในทิศทางที่ดีได้ เนื่องจากว่าโรคประจำตัวหลายๆโรคนั้นเกิดจากการบริโภคอาหารต่างๆโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์หรือโทษที่จะตามมา ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมด้วยของอาการของโรคไม่ว่าจะเกิดจากลักษณะทางกายภาพที่ไม่ได้เกิดจากการบริโภคหรือาการรับประทานอาหารเอง แต่หากการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องก็จะสามารถทำให้อาการของโรคแย่ลงไปตามลำดับได้เช่นกัน วันนี้เราจะมาพูดถึงโรคไต โรคที่เกิดจากการพฤติกรรมการรับประทานอาหารซะส่วนใหญ่ โรคไตนั้น คือ โรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของพยาธิสภาพของไตที่เกิดจากในการทำงานเพื่อขับของเสียออกจากร่างกายและรักษาความสมดุลของเกลือและน้ำในร่างกายมนุษย์ ซี่งโรคไตนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุมากเช่น โรคไตวายฉับพลันจากเหตุต่าง ๆ เช่น โรคไตวายเรื้อรังเกิดตามหลังโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าท์ โรคไตอักเสบ โรคไตอักเสบจากโรค SLE โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือโรคโรคถุงน้ำที่ไต เนื่องจากไตที่เกิดปัญหาไม่สามารถฟอกเลือดหรือขับของเสียออกจากเลือดได้ตามปกติหากป่วยเป็นโรคไตเกิดขึ้นแล้ว เนื่องจากไตทำหน้าที่คัดกรองสารอาหารต่าง ๆ ภายในเลือดเพื่อให้ร่างกายนำกลับไปใช้ประโยชน์อีกครั้ง แล้วขับน้ำส่วนเกินหรือของเสียจากเลือดออกมาในรูปแบบปัสสาวะ หากไตเกิดความเสียหายหรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ย่อมส่งผลระบบต่าง ๆ ในร่างกายและทำให้เกิดอาการป่วย โดยโรคไตที่มักพบบ่อย ได้แก่ ไตวาย ไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ และนิ่วในไตได้เป็นต้น การรักษาไตวาย อาจจะต้องการให้สารน้ำหรือเลือด รวมถึงปรับเปลี่ยนการรับประทานที่ไม่ทำให้ไตทำงานหนักจนเกินไป และอาจรับการฟอกไตจนกว่าการทำงานของไตจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หรือไตอักเสบ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ งดอาหารรสเค็ม งดเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของโพแทสเซียมจำนวนมาก เลิกบุหรี่ เป็นต้น จากข้อความข้างต้นจะทำให้เราได้เห็นแล้วว่า การแก้ไขปัญหาโรคนี้นั้นเริ่มจาการรับประทานอาหาร วันนี้ทางอาหารปั่นผสม SN จะมาแนะนำอาหารที่ไม่ดีต่อผู้ป่วยโรคไต ต้องระมัดระวังอาหารชนิดใดบ้าง
หากกล่าวถึงอาหารที่ดีต่อโรคไต มีอยู่มากมายนัก มีจำนวนมากให้เราเลือก เมื่อผู้ป่วยโรคไตมีอาการแล้วนั้นผู้ป่วยจะมีปัญหาในการขับของเสียออกจากร่างกาย ดังนั้นเราจะมาดูอาหารที่ไม่เหมาะสมนี้ เริ่มต้นจาก อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ โปรตีนนั้นคือสารอาหารที่มีประโยชน์ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอช่วยให้ดีขึ้นได้ เมื่อเรากินโปรตีนเข้าไป ร่างกายจะเปลี่ยนโปรตีนเป็นกรดอะมิโนและไนโตรเจน ก็จะสามารถกระตุ้นให้ไตทำงานมากขึ้น ก็จะทำให้ไตทำงานหนักมากขึ้น ถัดมาคือข้าวและแป้ง เป็นแหล่งให้พลังงานที่สำคัญที่สุด หากในกรณีผู้ป่วยที่จำกัดโปรตีนมากๆทางเลือกนี้ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการทดแทนพลังงานที่ดีได้ให้แก่ร่างกายแต่ก็มีโปรตีนอยู่บ้างแต่ถ้าหากรับประทานปริมาณมากก็อาจจะส่งผลให้ไตทำงานหนักมากขึ้นได้ ต่อมาคืออาหารประเภทคอลเลสเตอรอลสูง อาหารประเภทนี้ผู้ป่วยโรคไตจำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงเป็นอย่างมาก เนื่องจากไขมันสูงนั้นมีผลต่อระบบความดันโลหิตของร่างกายอย่างมาก ซึ่งมีผลต่อการทำงานของไตอย่างแน่นอน และที่สำคัญอาหารอีกประเภท โซเดียมคือศัตรูตัวร้ายของผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตประเภทใดที่เป็นเรื้อรังมากๆและมีภาวะบวม หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยที่เป็นโรคไตธรรมดา โซเดียมหรือความเค็มคือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับโรคไตนี้ เนื่องจากโซเดียมทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง หากไม่สามารถควบคุมอาหารได้ร่างกายจะเป็นโรคความดันเรื้อรังซึ่งมีผลกับไตอย่างแน่นอน
ในการดูแลตนเองจากการรับประทานอาหาร เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยโรคไตจำเป็นจะต้องระมัดระวังมากที่สุด อาหารในสมัยปัจจุบันผ่านการปรุงแต่งมาเยอะมาก ซึ่งมีส่วนประกอบของโซเดียมอยู่เยอะมาก ทำให้ผู้ป่วยโรคไตหลายคนได้รับปริมาณโซเดียมไปจำนวนมากในแต่ละวัน จึงพบว่าคนไทยนั้นเป็นโรคไตอยู่มากพอสมควร และเป็นเร็วกว่าคนสมัยก่อนคือเป็นที่ระดับอายุน้อยลงเนื่องจากรูปแบบอาหารในสมัยใหม่อย่างที่กล่าวถึง เราจึงอยากให้คุณหันมาใส่ใจเรื่องอาหารมากขึ้นเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อโรค เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้คนทั่วไปและอาการที่ดีของผู้ป่วยโรคไตเช่นกัน