ผู้ดูแลต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง ในการให้อาหารทางสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง เป็นการรักษาทางการแพทย์วิธีหนึ่ง เป็นการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่หมดสติ ซึ่งถือว่าการให้อาหารทางสายยางจำเป็นจะต้องมีผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วย ดังนั้นการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยจะต้องมีการดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญทุกขั้นตอน ตังแต่ขั้นตอนการเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์การให้อาหารสายยางต่าง ๆ และอาหารที่จะนำไปให้ผู้ป่วยจะต้องมีความสะอาดและปลอดภัย เพื่อที่ผู้ป่วยจะได้รัยสารอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ เพราะการที่ร่างกายของผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ไม่สะอาด อาจจะทำให้ร่างกายผู้ป่วยเกิดอาการท้องเสียได้ ซึ่งอาจจะส่งผลให้อาการป่วยของผู้ป่วยแย่ลงไปอีก ดังนั้น ในเรื่องของความสะอาดถือเป็นสิ่งที่คำนึงถึงให้มากทีสุด ทางอาหารปั่นผสม SNFood เรามีขั้นตอนการผลิตอาหารปั่นผสม สำหรับผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยและมีการควบคุมขั้นตอนการผลิตทุกขั้นตอนโดยนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญ มีการออกแบบสูตรอาหารเพื่อผู้ป่วยโดยเฉพาะบุคคล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกกับโรค เพราะผู้ป่วยในแต่ละโรคมีการต้องการสารอาหารที่ไม่เหมือนกัน ทำให้สูตรอาหารปั่นผสมจึงมีความแตกต่างกัน ทางอาหารปั่นผสม SNFood เรายังมีบริการผลิตอาหารปั่นผสม ตามใบสั่งแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้มั่นใจในเรื่องของอาหารที่จะนำไปให้ผู้ป่วย

สำหรับวันนี้ทางอาหารปั่นผสม SNFood เราจะมาพูดถึงเรื่องของการเตรียมตัว เตรียมความพร้อมสำหรับการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย ว่าผู้ดูแลจะต้องมีวิธีการเตรียมความพร้อมอย่างไรบ้าง เพื่อให้การให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ถูกวิธีและมีความปลอดภัยมากที่สุด เพราะการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย มักจะเกิดความเสี่ยงที่จะให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจให้ดีและถูกต้องว่าวิธีการให้อาหารทางสายยางทำอย่างไร และต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ ความจำเป็น ที่จะต้องให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย หรือหากมีการนำผู้ป่วยไปพักฟื้น ดูแลที่บ้านจะต้องทราบถึงขั้นตอนการเตรียมอาหารปั่นผสม ว่าควรที่จะทำอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอและเหมาะสมกับร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามการทำอาหารปั่นผสมหรือสูตรอาหารต่างๆ ก็ต้องทำการปรึกษานักโภชนาการอย่างละเอียดว่า ผู้ป่วยควรที่จะรับสารอาหารประเภทใด ควรเน้นสารอาหารประเภทใด และที่สำคัญต้องทราบให้แน่ชัดว่า ผู้ป่วยมีอาการแพ้อาหารใดบ้าง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ปลอดภัยและเพื่อให้ร่างกายป้องการเกิดภาวะแทรกซ้อน เพราะการแพ้อาหารอาจจะทำให้เสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ดูแลหรือญาติจะต้องฝึกทำอาหารปั่นผสม และวิธีการให้อาหารปั่นผสมจนมีความเชี่ยวชาญและมั่นใจ หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาในการให้อาหารทางสายยาง ไม่ควรแก้ไขปัญหาเอง เช่น หากสายยางให้อาหารหลุด ควรพาไปให้แพทย์ใส่ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ด้วย

สำหรับระยะเวลาที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ขึ้นกับผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารเองได้หรือไม่ ความรู้สึกตัวดีขึ้น ไม่สำลักอาหาร เพราะผู้ป่วยบางรายอาจจะยังไม่ชินกับการให้อาหารทางสายยาง ซึ่งอาจจะเกิดการสำลักอาหารได้ง่าย รวมไปถึง อาจจะให้อาหารเข้าไปติดในปอดได้ ก็จะทำให้ปอดเกิดการติดเชื้อ เพราะฉะนั้นนอกจากการให้อาหารทางสายยางที่ถูกต้องแล้ว ผู้ดูแลควรหมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วยว่า มีอาการผิดปกติหรือไม่ และการเริ่มต้นของการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยจะให้อาหารเหลวทางสายยางผ่านทางรูจมูกก่อนเสมอ แต่ก็ต้องดูว่าผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องของลำคอหรือไม่ เพราะถ้าหากมีปัญหาในเรื่องของลำคอ เช่น ทำการผ่าตัดบริการลำคอ อาจจะใช้วิธีการให้อาหารทางสายยางผ่านทางหน้าท้องแทนและถ้าผู้ป่วยไม่สามารถกลืนอาหารได้เลยเป็นเวลานาน ก็ต้องใส่สายยางเจาะหน้าท้องเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง เพื่อที่จะได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างไรก็ตามทางอาหารปั่นผสม SNFood เรามีบริการอาหารทางสายยาง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพ โดยมีการผลิตจากนักโภชนาการที่มีความเชี่ยวชาญ และสามารถผลิตอาหารตามคำสั่งแพทย์ได้ ทางเราผลิตอาหารจากห้องปลอดเชื้อของทางโรงพยาบาล จึงทำให้อาหารมีความสะอาด ปลอดภัย และเป็นที่ไว้วางใจว่า อาหารของเราจะถูกต้องตามหลักของทางการแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ปลอดภัย โดยอาหารปั่นผสม SNFood มีการเลือกสรรวัตถุดิบที่มีความสด ใหม่ มีคุณภาพ ปราศจากสารเคมี เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วยด้วย อาหารปั่นผสม SNFood สามารถหาซื้อได้ทีโรงพยาบาลธนบุรี 2 และโรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสิ่งดีๆ ให้อาหารปั่นผสม SNFood คอยดูแลสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อที่จะได้หายจากอาการป่วยอย่างรวดเร็ว

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว