การรับประทานอาหารในผู้ที่มีไส้เลื่อนที่กระบังลม
การรับประทานอาหาร เป็นปัจจัยหลักของการดำเนินชีวิตของคนเรา เราจำเป็นต้องรับประทานอาหาร เพื่อให้ร่างกายสามารถขับเคลื่อนไปได้ เพื่อใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การรับประทานอาหารยังสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆได้ด้วย นอกจากนี้ การที่เราเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะส่งผลดีต่อร่างกายของเรา ทำให้เรามีสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่อย่างไรก็ตาม การที่เรารับแระทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้เรามีสุขภาพดีแล้ว การที่เรารับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ก็ส่งผลทำให้เราห่างไกลจากโรคได้เช่นกัน ซึ่งโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นนั้น ก็มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารด้วยเช่นเดียวกัน แต่อาหารที่เรารับประทานเข้าไปก็สามารถช่วยบรรเทาอาการป่วยหรือช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพได้เหมือนกัน เพียงแต่เราจะต้องรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม สำหรับวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาแนะนำแนวทางในการเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาไส้เลื่อนที่กระบังลม ถึงแม้ว่า ผู้ที่เป็นไส้เลื่อนที่กระบังลมมากกว่า 50% ไม่มีอาการใดๆ แต่ในผู้ที่มีอาการ พบว่ามีจำนวนมากกว่าครึ่งที่มีอาการแสบร้อนกลางหน้าอก การรู้วิธีควบคุมอาการนี้จากการรับประทานอาหารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้น เราจะต้องเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมเพื่อบรรเทาอาการป่วย และอาจจะช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวได้
สำหรับผู้ที่มีปัญหาไส้เลื่อนที่กระบังลม โดยทั่วไปแล้วกล้ามเนื้อบริเวณรูนี้และหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาอาหารจะวางตัวอยู่คู่กันเพื่อป้องกันไม่ให้มีการไหลกลับของสารในกระเพาะอาหาร เชื่อว่าการมีไส้เลื่อนที่กระบังลมจะทำให้การทำงานของหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายแย่ลงและทำให้เกิดกรดและสารจากกระเพาะอาหารไหลย้อนผ่านรูเปิดที่กระบังลม และเข้าสู่หลอดอาหาร สำหรับโรคไส้เลื่อนกระบังลมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักมาก หรือผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ส่วนแนวทางในด้านของโภชนาการของผู้ที่มีภาวะไส้เลื่อน ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารมื้อเล็กแต่ควรรับประทานให้ถี่ขึ้น แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ ผู้ป่วยไม่ควรเข้านอนหลังจากรับประทานอาหารน้อยกว่า 2 ชั่วโมง เพราะป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนด้วย ควรนั่งอย่างน้อย 1 ชั่วโมงหลังจากการรับประทานอาหาร อย่าโน้มตัวไปทางด้านขวาขณะกิน และหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอก หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม อาหารบางชนิดก็สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ จึงควรที่จะหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณในการรับประทานการรู้จักอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญ และควรรู้จักอาหารที่รับประทานแล้วปลอดภัยกับตัวเองด้วย จะเป็นการดีที่สุดเพื่อลดความเสี่ยงในการกเริบของอาการได้ เห็นมั้ยว่า การเลือกรับประทานอาหารและวิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยและสำหรับคนทั่วไป เพราะพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ถูกต้องจะส่งผลดีต่อร่างกาย และช่วยป้องกันการเกิดโรคได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม เราสามารถป้องกันการกำเริบหรือป้องกันที่จะเกิดความเสี่ยงของอาการไส้เลื่อนได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพราะจะสามารถบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคไส้เลื่อนกระบังลมได้ ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารมื้อเล็กแต่บ่อยครั้ง แทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อต่อวัน หลีกเลี่ยงการนอนหงาย รวมถึงตอนนอนหลับ เป็นเวลา 3 ชั่วโมง หลังจากดื่มหรือรับประทานอาหารมา และไม่ควรดื่มน้ำกลางดึก เลี่ยงไม่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้อาการของป่วยแย่ลง และที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ช็อคโกแลต มะเขือเทศ อาหารไขมันสูง อาหารรสเผ็ด และอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นกรดสูง เช่นน้ำผลไม้รสเปรี้ยว ไม่ควรการงอตัวหรือการก้ม โดยเฉพาะหลังจากรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำมา ในเรื่องของการนอนหลับพักผ่อน ควรยกส่วนบนของเตียงขึ้นประมาณ 20cm ด้วยการค้ำด้วยแผ่นไม้หรืออิฐ ไม่ควรใช้หมอนหนุนศีรษะเพิ่มขึ้นเพื่ออาจะเพิ่มแรงกดที่ท้องได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักร่างกายมากเกินไป การลดน้ำหนักจะช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการได้ และถ้าหากผู้ป่วยมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ ก็ควรที่จะเลิกอย่างเด็ดขาด เพราะควันบุหรี่จะไปทำให้ระบบย่อยอาหารเกิดการระคายเคืองจนทำให้อาการทรุดลงได้ อย่างไรก็ตาม ทาง SN Food เราอยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆที่จะทำให้ส่งผลเสียต่อร่างกายของเรา นอกจากนี้ เราควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อให้ร่างกายสามารถต้านทานต่อโรคต่างๆได้