อาหารที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยง
การรับประทานอาหาร ถือเป็นเรื่องที่เราจะต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด โดยเฉพาะผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลเรื่องของอาหารการกินอย่างเป็นพิเศษ เพราะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละมื้อนั้น ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง และยังส่งผลต่ออาการป่วยด้วย ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหาร ถือเป็นวิธีการดูแลตัวเองอย่างหนึ่งที่เห็นผลดีที่สุด และการเลือกรับประทานอาหารก็เป็นทางเลือกที่จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยที่ดีขึ้น จากการสำรวจพบว่า คนไทยเรา ป่วยเป็นโรคเพราะการรับประทานอาหาร เพราะอาหารบางอย่างที่ทานเข้าไปนั้นไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อเรารับประทานเข้าไปบ่อย ๆ จนร่างกายเกิดการสะสม จึงทำให้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่คนไทยมักจะเป็นกันมาก ยกตัวอย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน และโรคอื่น ๆ ซึ่งโรคที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็มีสาเหตุมาจากการที่ไม่เลือกรับประทานอาหาร ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย
และการเลือกรับประทานอาหาร สามารถป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆได้ เช่นโรคเบาหวาน เป็นโรคที่ต้องควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารให้มากที่สุด หากเราป่วยเป็นโรคเบาหวาน ก็จะมีโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมาได้ เช่น เมื่อป่วยเป็นโรคเบาหวาน ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงตามมา และจะมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆตามมาได้
สำหรับวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งความดันโลหิตสูงนั้น เราสามารถคสบคุมได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน การควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหาร และการพักผ่อน ซึ่งผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ควรที่จะเลือกรับประทานอาหาร พักผ่อนให้เป็นเวลา และควรงดอาหารที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงขอโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งอาหารที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงก็มี แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงอาหารที่ผู้ป่วยควรจะหลีกเลี่ยง เพื่อที่จะได้เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค ทำให้เราสามารถควบคุมการเกิดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ สำหรับภาวะความดันโลหิตสูง คือการที่ร่างกายของเรา มีค่าความดันในหลอดเลือดแดงมีค่าสูงกว่าระดับปกติ ซึ่งหากค่าความดันโลหิตยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง และไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างต่อร่างกายได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไตวาย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม คนปกติก็สามารถตรวจพบความดันเลือดสูงได้ เช่นในช่วงออกกำลังกาย เป็นไข้ ตื่นเต้น โกรธ หวาดกลัว หรือกินยาบางชนิด ดังนั้นในการตรวจจึงอาจจะต้องวัดซ้ำอีกครั้งในสภาวะปกติเพื่อยืนยันความดันที่แน่นอน แต่การรับประทานอาหารสามารถป้องกันการดันโลหิตสูงได้ ผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้คุณค่าสารอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่ ทุกๆ วัน โดยรับประทานอาหารแต่ละหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทำให้สุขภาพร่างกายเกิดภาวะอ้วน หรือมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์ และควรจัดการอาหารประเภทที่ให้ไขมัน แป้ง น้ำตาล และอาหารรสชาติเค็มทิ้งไป โดยเพิ่มปริมาณของผักและผลไม้ชนิดที่ไม่หวานมากแทน
อาหารที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยง เพราะถ้าหากรับประทานอาหารที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดอันตรายและปัญหาสุขภาพอื่น ๆตามมาได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด ที่จะสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงได้ เช่น อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำเข้าไปมากและเกิดภาวะความดันโลหิตสูงชั่วคราว อาหารที่มีโพแทสเซียมน้อยเกินไป ทำให้ไม่สามารถรักษาระดับของโซเดียมในเซลล์ได้ ทำให้เกิดภาวะโซเดียมเกินในเลือด วิตามินดี การรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีน้อยไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง และการดื่มแอลกอฮอล์ จะส่งผลให้ร่างกาย หากดื่มในปริมาณที่มากกว่า 170 มิลลิลิตรสำหรับผู้ชาย และ 85 มิลลิลิตรสำหรับผู้หญิง จะทำให้เกิดอาหารความดันโลหิตสูงได้ อย่างไรก็ตาม การเกิดความดันโลหิตสูงยังสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ควรจะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรให้ร่างกายมีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ รวมทั้งการหมั่นทำให้จิตใจสงบและมีสติยิ่งขึ้น ก็จะทำให้ป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงได้ ทั้งนี้หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี เพราะการตรวจหาโรคความดันโลหิตสูงนั้น สามารถตรวจได้ตั้งแต่อายุ 18-20 ปี เมื่อมีโอกาสเสี่ยงกับโรคดังกล่าวจะได้สามารถรับมือได้ทัน โดยการขอคำแนะนำจากแพทย์