อาหารสำหรับ คุณแม่เตรียมท้อง
จากหนังสืออาหารบำบัดโรคของแพทย์หญิงศัลยา คงสมบูรณ์เวช ได้แนะนำเกี่ยวกับเรื่อง อาหารเตรียมท้อง
คุณแม่อยากท้องนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องความสำคัญของอาหารที่จะรับประทานอย่างมากไม่ว่าจะก่อนท้อง ระหว่างท้อง หรือหลังคลอดนับว่ามีความสำคัญมากช่วงอื่น ๆของชีวิต อาหารทุกคำและน้ำที่ดื่มทุกหยดล้วนมีต่อสุขภาพของอีกชีวิตหนึ่งที่เกิดมา และยังส่งผลต่อสุขภาพในอนาคตของทั้งแม่และลูกได้
เนื่องด้วยการเลือกกินอาหารที่ถูกต้องจะส่งผลทำให้สุขภาพของลูกแข็แรง เกิดมาครบ 32 และพร้อมด้วยสติปัญญาเฉลียวฉลาด อาหารจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผู้หญิงที่กำลังจะเป็นแม่ที่สมหวังได้ อีกส่วนหนึ่งนั้นคือเรื่องการดูแลครรภ์และเรื่องกรรมพันธ์ทั้งแม่และพ่อ ที่จะฝากไว้ให้ลูก
มีผู้หญิงส่วนมากมีปัญหาการตั้งครรภ์ยาก บางคู่ทำกิฟต์แล้วก็ยังไม้ยอมท้อง บางคู่พากันไปตรวจเช็คแล้วก็ไม่พบปัญหาผิดปกติในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ ถ้าเป็นเช่นนี้อาจจะต้องกลับมาพิจารณาเรื่องความเครียดและเรื่องทางโภชนาการดู เพราะถ้าเกี่ยวข้องกับด้านโภชนาการโดยไม่มีปัญหาสภาพอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง การปรับเปลี่ยนอาหารการกินอาจจะช่วยให้ท้องได้
เรามาศึกษาสารอาหารที่ช่วยในการตั้งครรภ์
การมีสุขภาพที่ดีมีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่เตรียมตัว ตั้งครรภ์ควรให้ความสนใจกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนและหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีนไขมัน วิตามิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ การขาดวิตามิน และแร่ธาตุบางชนิดจะทำให้ร่างกายเสียสมดุลของสารอาหารที่ได้รับ ก็อาจทำให้ตั้งครรภ์ยากได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.กรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น พบมากในน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันพืชอื่น ๆ หากกินไม่พอต่อความต้องการของร่างกายก็อาจทำให้ท้องยาก เพียงใช้น้ำมันเหล่านี้บำรุงอาหารวันละ 2 ช้อนโต๊ะก็จะช่วยให้ได้กรดไลโนเลอิกเพียงพอ
2.วิตามินซีการได้รับวิตามินซีจากอาหารเพียงพอจะช่วยส่งเสริม ให้ท้องง่ายขึ้นในทางตรงกันข้าม การเสริมวิตามินซีในปริมาณที่สูงมากเกินไปก็จะลดโอกาสการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน
3.วิตามินเอ ช่วยให้เซลล์เยื่อบุผิวชั้นในและผิวชั้นนอกของร่างกายแข็งแรง รวมทั้งเยื่อบุผนังมดลูกและช่องคลอดแข็งแรง ในทางตรงกันข้ามการเสริมวิตามินเอในระดับสูงๆ อาจทำให้ประจำเดือนขาดหายไปได้
4.วิตามินดีและแคลเซียม วิตามินดีจะช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับสุขภาพและกระดูก การขาดสารอาหารทั้งสองชนิดมีผลทำให้กระดูกเชิงกรานไม่แข็งแรง แม้แต่การตั้งค่าตั้งครรภ์ได้ ก็อาจจะมีโอกาสคลอดก่อนกำหนดและทารกไม่สมบูรณ์แข็งแรง
ในสมัยก่อนเคยมีความเชื่อผิดๆกันว่า ผู้หญิงต้องระวังการเพิ่มน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ อย่าให้เพิ่มมาก ความเชื่อนี้มาจากการขาดวิตามินดีในหญิงตั้งครรภ์ ทำให้กระดูกเชิงกรานไม่แข็งแรง และมีโอกาสเสียชีวิตเมื่อคลอดลูก ซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ ฉะนั้นในสมัยก่อนผู้หญิงท้องจะถูกสั่งให้เพิ่มน้ำหนักตัวน้อยๆ เพื่อลูกจะได้มีรูปร่างเล็กและคลอดง่าย แต่ปัจจุบันที่ทราบกันว่า การได้รับอาหารเพียงพอจะช่วยอุ้งเชิงกรานขยายตัวได้ขนาดปกติและช่วยปลอดภัยต่อการคลอด อีกทั้งแม่และลูกต่างก็มีสุขภาพดี
5.แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบของกระดูก และช่วยในการเสริมสร้างกระดูก
- วิตามินบี 6 และวิตามินอี ช่วยในการรักษาสมดุลของฮอร์โมน ถ้าร่างกายขาดวิตามินทั้งสองชนิดก็อาจจะมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ได้ วิตามินอีช่วยลดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ในสัตว์ แต่ไม่มีผลโดยตรงต่อมนุษย์เราอย่างไรก็ตามวิตามินอีกับมีผลต่อการผลิตและการทำงานของสารคล้ายฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน ซึ่งมีอิทธิพลต่อการทำงานที่ผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
7.วิตามินบี (โดยเฉพาะกรดโฟลิก) มี ความสำคัญอย่างมากต่อคุณภาพของการตั้งครรภ์ เพราะกรดโฟลิกจำเป็นต่อการสร้างระบบประสาทของตัวอ่อนเมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ผู้หญิงบางคนอาจไม่รู้ตัวว่าตั้งท้องจนกระทั่งรอบเดือนเกินกำหนดไปเป็นเดือน การขาดกรดโฟลิกอาจทำให้ทารกในครรภ์พิการทางสมองที่เรียกว่า สไปนาบิฟิดา (spina bifida) ซึ่งเป็นความบกพร่องแต่กำเนิด
นอกจากนี้การขาดวิตามินบี ตัวใดตัวหนึ่ง จะทำให้มีอาการเซื่องซึมเบื่ออาหาร และขาดสมดุลของระบบการทำงานของฮอร์โมน มีตัวอย่างว่า การขาดกรดโฟลิกอาจทำให้เป็นหมันได้ มีการศึกษารายว่าพบว่า หญิงที่ได้กรดโฟลิกจากอาหารไม่พอและไม่สามารถตั้งท้องได้ตามที่ต้องการ เมื่อได้รับการเสริมกรดโฟลิกเป็นเวลาหลายเดือนก็สามารถตั้งท้องได้
8.เกลือแร่ธาตุหลายๆ ชนิดก็มีความสำคัญต่อการตั้งท้องเหมือนกัน เช่นแมงกานิส โพแทสเซียม สังกะสี ในระดับที่เหมาะสมที่สุดจะช่วยให้ตั้งท้องได้ง่ายขึ้น สำหรับคนที่ท้องยาก อาหารที่มีแมงกานีสสูงได้แก่ผักโขม ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล และถั่วต่าง ๆ ส่วนโพแทสเซียมมีมากในผักและผลไม้ อาหารที่มีสังกะสีสูง เช่น หอยนางรม อกไก่จมูกข้าวสาลี ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นหมัน ความผิดปกติแต่กำเนิดในเด็กและป้องกันระบบสืบพันธุ์ผิดปกติหรือเจริญไม่เต็มที่
จาก SN food อาหารเพื่อสุขภาพ มีข้อควรระวังที่มีผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เสริมอาหารที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นในปริมาณสูงด้วยตนเอง นอกจากไม่ได้ช่วยให้ตั้งครรภ์ง่ายขึ้นอย่างอาจจะทำให้ตั้งครรภ์ยากได้ ถ้าต้องการเสริม ควรเสริมในปริมาณที่แพทย์กำหนดเท่านั้นและปรึกษานักกำหนดอาหารและนักโภชนาการเรื่องการกินอาหารให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนและสมดุลเป็นหลัก สำหรับผู้ที่ทานอาหารมังสวิรัติควรวางแผนการบริโภคเพื่อให้ได้สารอาหารและพลังงานที่เพียงพอ มิฉะนั้นจะทำให้ระดับฮอร์โมนเพศหญิงเปลี่ยนแปลงได้ และทำให้ตกไข่ลดลง