อาหารสมุนไพร ช่วยลดความดันโลหิตสูง

ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไร  แต่ความดันโลหิตสูงมักจะมีความสัมพันธ์กับในเรื่องการกินอาหารเค็ม (มีโซเดียมสูง) ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน กรรมพันธุ์  อายุมาก  การสูบบุหรี่  การดื่มเหล้า  และการขาดการออกกำลังกาย

บทความเรื่อง “สมุนไพรช่วยลดความดันโลหิตสูงได้”  ทางSN food อาหารเพื่อสุขภาพ ขอแนะนำให้กินผักและสมุนไพรใกล้ตัว ที่สามารถช่วยลดความดันโลหิตสูง และยังเหมาะสำหรับการนำมาปรุงอาหารในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย  ได้แก่

  1. กระเทียม เป็นส่วนประกอบสำคัญประจำของครอบครัวไทยมาช้านาน ปัจจุบันมีการนำเอากระเทียมมาทำเป็นยา ด้วยการนำไปสกัดเป็นแคปซูลจำหน่ายเป็นอาหารเสริมไปแล้ว

กระเทียม มีคุณค่าทางโภชนาการมาก ได้แก่ โปรตีนคาร์โบไฮเดรต แคลเซียมฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินซี วิตามินบี 1 และบี 2 ไนอะซิน  เบต้าแคโรทีน   เจอเรเนียม อัลลิซิน

  1. กระเจี๊ยบแดง กลีบเลี้ยงดอกมีสารสีแดงชื่อแอนโทไซยานินช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและการทำงานของหลอดเลือดแดงมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้  โดยนำมาต้มเป็นชาสมุนไพรดื่มวันละ 2-3 แก้ว ข้อควรระวังห้ามใช้ กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเพราะกระเจี๊ยบมีโพแทสเซียมสูง

3.มะรุม  ให้นำ ใบอ่อนและฝักอ่อนของมะรุมมาปรุงอาหาร ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยต้านการอักเสบลดไขมัน ลดน้ำตาลในเลือด พบสาระสำคัญในมะรุมที่ออกออกฤทธิ์ลดความดันโลหิต   เช่นNiazinin A , Niazinin B,Niazimicin และ  Niaziminin A  and  B

ข้อควรระวัง   ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ผู้ป่วยตับอักเสบ  ผู้ป่วยที่มีความมีค่าตับผิดปกติ  และผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิด

4.ตะไคร้  โดยการนำตะไคร้ ไปใช้ชงชา สมุนไพรดื่มวันละ 2-3 แก้ว  หรือจะนำน้ำมันหอมระเหยมาใช้เป็นกลิ่นบำบัด เช่น หยดลงไปในเตาน้ำมันหอมระเหย  เพื่อปรับอากาศในห้องให้มีรู้สึกผ่อนคลายลดความเครียด  ซึ่งจะช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงทางอ้อมได้

  1. ใบมะกรูด ด้วยวิธีการนำเอา ใบแก่ไปต้มเป็นชาสมุนไพรดื่มวันละ 2-3 แก้ว หรือนำมาปรุงอาหารใส่ในต้มยำ จะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้
  2. ใบบัวบก ใช้ใบสดคั้นน้ำดื่มกินวันละ 1-2 แก้ว หรือนำใบสดไปกินเป็นผักสดคู่กับน้ำพริกทางอ้อม ช่วยในการลดความดันโลหิตสูงได้
  3. ขึ้นฉ่าย แนะนำให้ไปใช้เป็นปรุงอาหาร เช่นใส่แกงจืด โดยใช้วันละไม่เกิน 4 ต้น ขึ้นฉ่ายมีฤทธิ์เย็น ลดบวมลดความดันโลหิตได้

ระดับความดันโลหิตสูงที่เป็นอันตรายก็คือ 160/110 มิลลิเมตรปรอทต้องปรึกษาแพทย์ด่วนสำหรับผู้สูงอายุ  หากมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปและเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อนควรมีระดับความดันโลหิตสูงอยู่ที่ไม่เกิน 135/8 5 มิลลิเมตรปรอท  ส่วนกรณีผู้ที่มีอายุเกิน 80 ปี อาจผ่อนผันให้ตั้งเป้าหมายที่ระดับต่ำกว่า 140 / 85 มิลลิเมตรปรอท  ได้

สถาบันการแพทย์เมโยคลินิกในสถาบันการแพทย์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าการทำงานบ้านเช่นการทำสวนตัดหญ้าแม้แต่การถูบ้านกวาดบ้านรวมไปถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวันอื่นๆเช่นการเดินขึ้นบันได เดินระหว่างตึกไปที่จอดรถและกิจกรรมนันทนาการเช่นเต้นรำเป็นกิจกรรมทางกายที่จะช่วยให้ได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำเสริมการออกกำลังกายเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในกรณีที่ไม่สามารถออกกำลังกายหลักได้ต่อเนื่องให้ครบอย่างน้อยครั้งละ 30 นาทีแนะนำให้แบ่งเป็น 3 ครั้งครั้งละ 10 นาทีก็ได้ประโยชน์ใกล้เคียงกันหากจำเป็นต้องนั่งทำงานนานๆพยายามลุกขึ้นมาดื่มน้ำหรือเปลี่ยนอริยบทอย่างน้อย 10 นาทีต่อ 1 ชั่วโมง เพื่อลดเวลาการนั่งต่อเนื่อง

ส่วนการออกกำลังกายที่สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทยแนะนำนั้นแตกต่างออกไปเล็กน้อยคือการออกกำลังกายแบบแอโรบิก  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน

แพทย์หญิงพรรณพิมล  วิปุลากร  อธิบดีกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่ามีงานวิจัยพบว่าเมื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้ฝึกทำสมาธิโดยการหายใจสั้น ๆ และลึก ๆ วันละประมาณ 15 นาทีติดต่อกันเป็นเวลา 2  เดือนจะช่วยให้ค่าความดันโลหิตลดลงมากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ได้เข้ารับการฝึกสมาธิ

โรคความดันโลหิตสูงสามารถจะเกิดได้ตั้งแต่อายุน้อยและมีปัจจัยทำลายสุขภาพเป็นตัวเร่งของการเกิดโรคต่างๆ  ดังนั้น SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ ขอเอาใจช่วยให้ทุกคนดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว