แนวทางการรับประทานอาหาร เมื่อมีอาการท้องเสีย
อาการท้องเสีย เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ได้ เพราะฉะนั้น ในการเลือกรับประทานอาหาร เราจึงควรเอาใส่ใจให้มากเป็นพิเศษ และที่สำคัญเราควรจะเลือกรับประทานอาหารที่มีความสะอาด ปลอดภัย เพื่อให้เราได้รับอาหารที่มีความสะอาด เพื่อป้องกันการเกิดอาการท้องเสีย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่หมักดอง หรืออาหารที่มีการแปรรูปที่แปลกๆ ก็อาจจะทำให้เราเกิดอาการท้องเสียได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้อาการท้องเสียมักจะเป็นอาการที่ไม่ร้ายแรง แต่อาจสร้างความทรมานให้แก่ผู้ป่วยและเป็นเรื้อรังจนก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาในภายหลัง ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการร้ายแรงตามมาได้ แต่อาการท้องเสียนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการรับประทานอาหาร ในบางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม นอกจากนี้ การรับประทานสารทดแทนความหวานในปริมาณมากก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน และวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาแนะนำอาหารที่แก้อาการท้องเสีย เพื่อเป็นแนวทางบรเทาอาการ สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสียบ่อยๆ
สำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย ก็อาจจะมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย เพราะเวลาที่เราอุจจาระจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรที่จะรับประทานเกลือแร่เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำ การดื่มน้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ อาการอ่อนเพลียต่างๆ แต่ห้ามผู้ป่วยดื่มเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายทดแทนเด็ดขาดเพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ควรรับประทานอาหารที่ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย ยกตัวอย่างเช่น อาหารรสชาติอ่อนๆ จืดๆ ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม น้ำซุป อาหารไขมันต่ำ เช่น ไก่ไม่มีหนัง เนื้อปลา กุ้งสับต้มสุก เมื่ออาการท้องเสียเริ่มดีขึ้น จึงเริ่มรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ แต่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้รสเปรี้ยว เพื่อเลี่ยงอาหารเสาะท้อง ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ แต่ยังคงงดทานอาหารรสจัดไปก่อนอย่างน้อย 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ การรับประทานผลไม้ที่ช่วยแก้อาการท้องเสียก็สามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น กล้วยน้ำว้าห่ามที่ผลยังเป็นสีเขียวออกเหลืองนิดๆ สามารถนำกล้วยมาแก้ท้องเสียได้เช่นกัน โดยรับประทานกล้วยห่ามครึ่ง 1 ผล หรือนำกล้วยดิบที่เปลือกยังเขียวจัดมาฝานเป็นแว่นๆ แล้วตากให้แห้ง จากนั้นนำกล้วยดิบที่ตากจนแห้งแล้วมาบดเป็นผง ชงกับน้ำต้มสุกดื่มวันละ 4 ครั้งก่อนอาหาร และก่อนนอน เพียงเท่านี้ก็จะช่วยบรรเทาอาการท้องเสียได้ ทั้งนี้ การเลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวังก็ต้องคำนึงให้มากเป็นพิเศษ เช่น รับประทานของร้อน อาหารที่สะอาด สดใหม่ หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์ประเภทนม เป็นต้น
และไม่ควรวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ ควรเก็บเข้าตู้เย็น เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ควรทำความสะอาดบริเวณที่มีการเตรียมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการล้างมือให้สะอาด ขณะเตรียมอาหาร เลือกดื่มน้ำที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ หรือจับสิ่งสกปรกอื่น ๆ เพื่อป้องกันแพร่กระจายของเชื้อโรค สำหรับวิธีการหลีกเลี่ยงอาการท้องเสีย เราควรลดการรับประทานอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด เปรี้ยวจัด เพื่อลดอาการเสาะท้อง ลดการรับประทานอาหารหมักดอง เพราะมีความเสี่ยงต่อการพบเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากกระบวนการหมักดองที่ไม่มีประสิทธิภาพ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่สะอาด และปรุงให้สุก 100% ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ไม่รับประทานอาหารที่ปรุงสุกข้ามวัน และเก็บรักษาในอุณหภูมิที่ไม่เย็นมากพอ เพราะอาจก่อให้เกิดเชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ท้องเสียได้ อย่างไรก็ตาม ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราอยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และที่สำคัญควรรับประทานอาหารที่มีความสะอาด ปลอดภัย เพื่อให้หลีกเลี่ยงอาการท้องเสียได้ นอกจากนี้ ควรหมั่นออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้