ไฟเบอร์หรือใยอาหาร ดีต่อร่างกายอย่างไร

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหาร ยิ่งในกลุ่มคนที่รักสุขภาพแล้ว ยิ่งต้องรู้จัก เพราะไฟเบอร์เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป้นมีส่วนช่วยในเรื่องของระบบขับถ่าย การทำงานของระบบย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี ไฟเบอร์ หรือเส้นใยอาหาร เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในโครงสร้างของพืชผักและผลไม้ในธรรมชาติ เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์ ร่างกายจะไม่สามารถย่อยสลายให้กลายเป็นพลังงานได้ การที่เรารับประทานไฟเบอร์เข้าไปนั้น ถือว่าส่งผลดีต่อร่างกาย เพราะไฟเบอร์จะช่วยลดปริมาณระดับคอเลสเตอรอลในเลือดให้น้อยลงได้ และไฟเบอร์นี้เอง เป็นสารอาหารที่เราสามารถพบได้ในอาหารจำพวกผักและผลไม้ ถึงแม้ว่าไฟเบอร์จะไม่ให้พลังงาน ไม่ถูกย่อยในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังถูกกำจัดออกมาอีกด้วยแล้ว ทว่ากลับเป็นสารอาหารสำคัญชนิดหนึ่งที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก ในแต่ละวันร่างกายจำเป็นต้องได้รับเส้นใยเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย เพราะไฟเบอร์ มีส่วนช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาล มีผลดีต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน และนอกจากนี้ยังช่วยลดระดับไขมันในเลือด ช่วยจับไขมันในอาหาร ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ใยอาหารชนิดละลายน้ำสามารถช่วยลดระดับโททัลและไขมันเลวในเลือดได้ เห็นมั้ยว่า ไฟเบอร์นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายของเรามากแค่ไหน ดังนั้น วันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะพามาแนะนำให้รู้จักสารอาหารที่มีความจำเป็ยต่อร่างกายอย่างไฟเบอร์หรือใยอาหารว่า มีประโยชน์อย่างไร ดีต่อร่างกายอย่างไร และเหตุใดร่างกายของเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารประเภทนี้

 

ถ้าหากพูดถึงอาหารที่ช่วยในการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน คงจะไม่นึกถึงไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารคงไม่ได้ เพราะไฟเบอร์เป็นสารอาหารที่ช่วยให้เรามีระบบขับถ่าย ระบบการย่อยอาหารที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือไฟเบอร์ที่ละลายไม่ได้ในน้ำและไฟเบอร์ที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งเส้นใยอาหารชนิดนี้ไม่ละลายน้ำ จะมีคุณสมบัติในการพองตัวได้คล้ายกับฟองน้ำ แต่ไม่มีความหนืด ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มกากใยอาหารและปริมาณน้ำภายในกระเพาะอาหารของเรา และทำหน้าที่เป็นตัวช่วยทำความสะอาดระบบทางเดินอาหารและทำให้อิ่มเร็วขึ้น แต่เส้นใยชนิดนี้ไม่สามารถย่อยได้ทั้งจากระบบย่อยอาหารของเราเองหรือแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ แต่จะถูกกำจัดออกมาพร้อมกับอุจจาระในภายหลัง และไฟเบอร์ที่ละลายได้ในน้ำ เป็นเส้นใยที่สามารถดูดซับน้ำเอาไว้ แล้วทำให้เกิดความหนืดเพิ่มมากขึ้นคล้ายกับก้อนเจลนุ่มๆ จะสามารถดูดซับเอาน้ำมันและน้ำตาลเอาไว้ได้ด้วย ลักษณะของเส้นใยดังกล่าวแม้ร่างกายจะไม่สามารถย่อยได้โดยตรง แต่ก็จะมีแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ทำหน้าที่ย่อยสลายแทนนั่นเอง นอกจากนี้ ไฟเบอร์ชนิดนี้ยังทำหน้าที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงมีประโยชน์กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดการใช้อินซูลิน และในกลุ่มคนปกติจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้ด้วย นี่ก็คือความต่างของไฟเบอร์ทั้ง 2 ชนิด ที่เห็นได้ชัดเจน และการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง หลายคนคงเคยได้ยินว่า การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือใยอาหารสูงจะช่วยให้เรามีน้ำหนักที่ลดลง ซึ่งดีสำหรับคนที่อยากมีรูปร่างสัดส่วนที่สวยงาม เพราะไฟเบอร์จะทำหน้าที่ช่วยให้ทางเดินอาหารทำงานได้ดีขึ้น อาหารเดินทางเข้าสู่ระบบย่อยได้เร็วเมื่อมีส่วนประกอบของไฟเบอร์ ช่วยลดการดูดซึมในระหว่างเดินทาง ทำให้เราได้รับพลังงานจากอาหารที่ไม่มากเกินไป จึงดีต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก

 

นอกจากนี้ ไฟเบอร์ยังทำหน้าที่เป็นฟองน้ำพองตัวและดูดซึมน้ำเอาไว้ แย่งพื้นที่ภายในระบบทางเดินอาหารให้เรารับประทานอาหารได้น้อยลง แต่อิ่มนานขึ้น ยิ่งหากการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกายด้วยแล้ว ยิ่งจะทำให้การลดน้ำหนักได้ผลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ไฟเบอร์ มีสรรพคุณเป็นยาระบาย ลดอาการท้องผูก สำหรับไฟเบอร์ชนิดที่ไม่ละลายน้ำจะเข้าไปทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวกระตุ้นระบบขับถ่าย ช่วยให้ลำไส้บีบตัวเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น การรับประทานไฟเบอร์อย่างเพียงพอในแต่ละวันจะลดปัญหาท้องผูก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคริดสีดวงทวาร ช่วยล้างสารพิษในลำไส้ กำจัดของเสียที่คั่งค้าง และลดโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปในตัว แต่ในขณะเดียวกัน การรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือใยอาหาร ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกายของเรามากมายเส้นใยอาหารแต่การรับประทานในปริมาณมากจนเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน เพราะใยอาหารอาจจะไปลดการดูดซึมของสารอาหารบางชนิด เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม ทองแดง และสังกะสี ในร่างกายของเราได้ นอกจากนี้ ใยอาหารอาจส่งผลเสียต่อทางเดินอาหารได้ เช่น อาเจียน มีแก๊สในกระเพาะและลำไส้ ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติและปวดท้อง เป็นต้น สำหรับในผู้ที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ใยอาหารที่หยาบอาจจะทำให้เกิดการอุดตันในสายยางให้อาหารได้ ดังนั้น เราควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์หรือใยอาหารอย่างระมัดระวัง และถ้าหากต้องให้อาหารทางสายยางอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของอาหารก่อนเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว