รับประทานข้าวบาร์เลย์ ลดระดับน้ำตาลในเลือด

ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยทั่วไปแล้วระดับน้ำตาลจะอยู่ที่ประมาณ 70-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่ถ้าหากระดับน้ำตาลที่ได้สูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป ก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งโรคเบาหวานคือผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและไม่ได้รับการรักษาอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้และอาจจะส่งผลต่อเส้นประสาท หลอดเลือด หรืออวัยวะต่างๆอาจถูกทำลายจนทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมาได้ โรคเบาหวานในประเทศไทยนั้น ถือว่ามีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน โดยมีสาเหตุมาจากการเลือกรับประทานอาหาร พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และอาการที่เราจะสังเกตได้คือ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะในเวลากลางคืน มองเห็นไม่ชัด กระหายน้ำมาก ปวดศีรษะ เหนื่อยง่าย นี่คืออาการเริ่มต้นสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง โดยมีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานเป็นหลัก เพราะผู้ป่วยเบาหวานมีน้ำตาลขึ้นได้ง่ายเพราะร่างกายมีฮอร์โมนอินซูลินที่ไม่เพียงพอ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติจากคนทั่วไป นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยหวานเกิดภาวะนี้ได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น ได้รับฮอร์โมนอินซูลิน หรือรับประทานยาเบาหวานไม่เพียงพอ ไม่ควบคุมอาหารหรือมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตและไม่ออกกำลังกาย

 

สำหรับวันนี้เราจะมาแนะนำและพูดถึงข้าวบาร์เลย์ ซึ่งเป็นธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอล และที่สำคัญช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือป่วยเป็นโรคเบาหวาน ทั้งยัง ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบขับถ่าย ช่วยลดน้ำหนักและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ด้วย ทาง SN Foodอาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาพูดถึงข้าวบาร์เลย์ที่มีสำคัญมากมาย เพื่อให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้รับประทานเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันของการเกิดโรคต่างๆ ต้องบอกเลยว่าข้าวบาร์เลย์นั้นอุดมไปด้วยสารโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เส้นใยอาหาร โปรตีน คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนจำเป็น วิตามินบี ธาตุเหล็ก สังกะสี เป็นต้น นอกจากนี้ข้าวบาร์เลย์ ยังเป็นแหล่งของน้ำตาลมอลโทส ซึ่งเป็นสารให้ความหวานตามธรรมชาติ จึงมีการนำข้าวบาร์เลย์ไปใช้บริโภคในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ซีเรียล แป้งจากข้าวบาร์เลย์ น้ำข้าวบาร์เลย์ เบียร์ เป็นต้น ข้าวบาร์เลย์ มีส่วนช่วยในการลดไขมันคลอเรสเตอรอล เพราะอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารหลากหลายชนิด ที่คาดว่าอาจจะช่วยควบคุมอัตราการย่อยและการดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและไขมันได้ ทำให้รับประทานข้าวบาร์เลย์ อาจจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อย่างดี ทั้งนี้ข้าวบาร์เลย์ ยังมีสรรพคุณในการลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่มีความเสี่ยงการรับประทานข้าวบาร์เลย์ ถือว่าเป็นประโยชน์มากเพราะในข้าวบาร์เลย์ มีเส้นใยอาหารสูง โดยเฉพาะเส้นใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำได้ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี

 

อย่างไรก็ตาม ข้าวบาร์เลย์ ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมาก เพราะเป็นธัญพืชที่มีแคลอรี่สูงแต่มีไขมันต่ำ ย่อยช้า ทำให้รู้สึกอิ่มท้องนาน หากรับประทานข้าวบาร์เลย์ร่วมกับอาหารเพื่อสุขภาพอื่นๆแล้ว รวมไปถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็อาจจะช่วยลดน้ำหนักได้ นอกจากนี้ข้าวบาร์เลย์ยังดีต่อระบบขับถ่าย ช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้ ซึ่งช่วยบรรเทาอาการท้องผูก รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดริดสีดวงทวารและโลกถุงผนังลำไส้ใหญ่ด้วย สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ เนื่องจากเส้นใยอาหารในข้าวบาร์เลย์มีส่วนกระตุ้นการขับถ่าย จึงอาจจะช่วยกำจัดสารพิษที่ตกค้างจากการย่อยอาหารออกจากร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราก็อยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะการรับประทานข้าวบาร์เลย์ ก็ต้องมีการกำหนดปริมาณในการรับประทานเช่นเดียวกัน เพราะข้าวบาร์เลย์เป็นธัญพืชที่ประกอบด้วยกลูเตน จึงไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเซลิแอคหรือโรคแพ้กลูเตนเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการกำเริบ รวมไปถึงผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ก็ควรจะมากระวังในการรับประทานข้าวบาร์เลย์ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ควรจะระมัดระวังในการรับประทานข้าวบาร์เลย์ เนื่องจากข้าวบาร์เลย์ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงมากเกินไป ดังนั้นผู้ป่วย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานข้าวบาร์เลย์ เพราะอาจต้องปรับปริมาณยาและลดระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เห็นไหมว่าอาหารไม่ว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแค่ไหน แต่หากรับประทานอย่างถูกวิธี ในปริมาณที่เหมาะสม ก็อาจจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีได้ แต่หากรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปก็อาจจะเกิดโทษต่อร่างกายได้เช่นเดียวกัน

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว