แนวทางการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

การรับประทานอาหาร ถือเป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ เพราะการรับประทานอาหารในแต่ละวันของเรานั้น ส่งผลต่อร่างกายของเราโดยตรง ถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะต้องการสารอาหารเพื่อให้ร่างกายสามารถขับเคลื่อนไปได้ แต่ร่างกายของเราก็ต้องการสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งอาหารที่เรารับประทานเข้าไปบางอย่าง อาจจะให้สารอาหารที่มากจนเกินไปหรืออาจจะไม่เพียงพอ จึงทำให้ร่างกายของเราเกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาได้ เพราะฉะนั้น เราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นพื้นฐานที่ดีของการมีสุขภาพดี ดังนั้น แนวทางการรับประทานอาหาร จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราต้องเอาใจใส่ให้มากเป็นพิเศษ

 

ซึ่งในวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ จะมาแนะนำแนวทางการรับประทานอาหารของผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ “โรคหัวใจและหลอดเลือด” เนื่องจากอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้น ส่งผลโดยตรงกับระดับไขมันในเลือดและระดับความดันโลหิต  ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเกิด

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว

แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแล้ว แต่หากผู้ป่วยไม่ควบคุมอาหาร โรคดังกล่าวสามารถกลับมามีอาการกำเริบได้

 

สำหรับแนวทางการเลือกรับประทานที่ถูกวิธีของกลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจ คือเราต้องเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยควรที่จะหลีกเลี่ยงอาหารทำให้ไขมันสูง เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและ ไขมันน้อย เช่น ปลา ไข่  เต้าหู้  ไก่ไม่ติดหนัง หรือ หมูเนื้อแดง โดยผู้ป่วยสามารถทานไข่แดงได้ไม่เกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ อาหารทะเลที่สามารถรับประทานได้ คือ เนื้อกุ้ง เนื้อปู ไม่ควรทานปลาหมึกและหอยบ่อย หลีกเลี่ยง ขาหมู หมูสามชั้น หนังไก่ทอด เครื่องในสัตว์ และควรที่ลดการรับประทานกะทิ อาจเลือกใช้กะทิธัญพืชทดแทนหรือใช้หลักการรับประทานเนื้อ ที่สำคัญลดการรับประทาน เบเกอรี่ คุกกี้ โดนัท พาย พิซซ่า เบอร์เกอร์ ไอศกรีม เนื่องจากมีไขมันทรานส์ ทำให้ไขมัน LDL มากขึ้น และไขมันดี HDL ลดลง แต่ถ้าหากอยากรับประทานของว่างอาจเลือกรับประทานผลไม้ หรือ ถั่วเปลือกแข็ง 1 กำมือ ทดแทน จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่า สำหรับวิธีการประกอบอาหารควรเลือกวิธีการต้ม ปิ้ง ย่าง นึ่ง ให้มากกว่าผัดและทอด หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำหวาน น้ำผลไม้ เนื่องจากสามารถทำให้ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์มากขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารแช่แข็ง เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูแผ่น หมูหยอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กผง ซุปผง ผักผลไม้ดอง ไข่เค็ม หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำซุป เพราะส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของผงชูรสและเครื่องปรุง หรือควรจะลดการปรุงอาหาร เช่นเติมเกลือในอาหารไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน เติมน้ำปลา ซีอิ้ว ซอสถั่วเหลือง น้ำมันหอย ไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน ซอสพริก  ซอสมะเขือเทศ  ไม่เกิน 1 ช้อนโต๊ะ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรที่จะเน้นรับประทานอาหารที่มีเส้นใย เลือกรับประทานข้าว ขนมปัง ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เพิ่มการทานผักและผลไม้ เพราะเส้นใยจากอาหารจะช่วยลดการดูดซึมไขมัน  ทำให้ลดการสะสมหรือการอุดตันของไขมันในเส้นเลือดได้นั่นเอง

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ดีที่สุดก็คือการดูแลรักษาระบบหัวใจและหลอดเลือดให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะจะช่วยให้ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ

 

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยห่างไกลความเสี่ยงของโรคที่เกี่ยวระบบหัวใจได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะคอเลสเตอรอลสูง โดยอาหารที่ควรรับประทานได้แก่ อาหารที่มีไขมันดี ผัก ผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันที่ไม่ดี อาหารที่มีรสเค็มจัด หรืออาหารแปรรูปต่างๆ เป็นต้น และที่สำคัญที่ป่วยควรเลิกสูบบุหรี่ ทั้งระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งปอด จะทำงานได้ดีขึ้น การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ นอกจากการรับประทานอาหารที่ดีแล้ว การควบคุมความเครียดและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสม ก็ช่วยลดความดันโลหิตอันเป็นสาเหตุใหญ่ของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ควบคุมน้ำหนัก ยิ่งมีน้ำหนักมาก ก็ยิ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ เพราะเมื่อร่างกายมีไขมันสะสมเยอะก็จะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ อยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้เราได้มีสุขภาพที่แข็งแรง และห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บได้

 

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว