รับประทานอาหารอย่างไรให้ไกลโรคกระเพาะ
ในการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน จะประกอบไปด้วยอาหาร 3 มื้อหลัก มนุษย์ต้องการอาหารเพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย ใช้ในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆในร่างกาย แต่ปัจจุบันก็มีอาหารอยู่หลักหลายประเภท ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์แต่หากรับประทานในปริมาณที่ไม่พอดีอาจจะเกิดโทษได้ ซึ่งสิ่งที่จะตามมาเมื่อเรารับประทานอาหารไม่เหมาะสมหรืออยู่ในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม คือโรคกระเพาะ เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุภายในกระเพาะอาหารที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารประจำวัน สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันในระยะเวลารวดเร็วในบางวัน หรือเป็นในระยะสั้น ๆ และหายภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการบ่อยครั้งหากอาหารมากขึ้นตามลำดับ เป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดแผล และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้นั่นเอง อาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความแตกต่างกันออกไป หรือในบางรายอาจไม่พบอาการชัดเจน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง รู้สึกไม่สบายช่องท้องส่วนบน มีอาการท้องเฟ้อ อิ่มง่าย จุกหน้าอก แน่นท้อง เรอบ่อย อาหารไม่ย่อย หรือรู้สึกคลื่นไส้หลังการรับประทานอาหาร ไม่มีความอยากอาหาร ทางนี้โรคกระเพาะถือว่าเป็นโรคที่มีอาการไม่ร้ายแรงมาก ทางนี้โรคกระเพาะถือว่าเป็นโรคที่มีอาการไม่ร้ายแรงมาก แต่หากเป็นนานมากเกินมากกว่าสัปดาห์หรือหนึ่งเดือน ยิ่งในผู้ป่วยที่รับประทานยา ละลายลิ่มเลือด ที่มีความเสี่ยงต่อการเลือดออกง่ายในอวัยวะในร่างกายโดยเฉพาะในกระเพาะอาหาร ในผู้ป่วยรายที่เป็นโรคกระเพาะอาหารเรื้อรังมักจะมีแผลในกระเพาะอาหารก็จะมีความเสี่ยงในการเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ง่ายมากขึ้น วันนี้ทางอาหารปั่นผสม SNFood จะมาแนะนำอาหารที่ดีต่อระบบกระเพาะอาหารของเราว่าเป็นอย่างไร
อาหารแต่ละชนิดที่รับประทานเข้าไปนั้นมีผลอย่างมากต่อกระเพาะอาหาร ยิ่งในรายผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารยิ่งมีผลอย่างมาก ยิ่งในรายผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารยิ่งมีผลอย่างมากเช่นกัน ควรรับประทานอาหารที่มีผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารทั้งยังส่งผล บรรเทาอาการป่วยของโรคกระเพาะ ดังนี้ อาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร เช่น พืชตระกูลถั่ว แครอท ทั้งยังมีอาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ หรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง อย่างผักชนิดต่างๆ และยังมีอาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น อกไก่ เนื้อปลา และอาหารที่ปรุงโดยเลือกใช้น้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล เครื่องดื่มที่ไม่อัดแก๊ส และไม่มีคาเฟอีน อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์และยีสต์ในกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น
- กะหล่ำดอง
- กิมจิ
- ชาหมัก
- โยเกิร์ต
เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า โพรไบโอติกส์อาจช่วยป้องกันโรคติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคกระเพาะและการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
การดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลโรคกระเพาะอาหาร ดูแลไม่ยากมากนัก เพียงจำเป็นต้องเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมต่อระบบย่อยอาหาร เพียงจำเป็นต้องเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมต่อระบบย่อยอาหาร เริ่มต้นจากการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยในการรับประทานอาหารเป็นหลักสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร และเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นต่อระบบกระเพาะอาหารให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของกระเพาะอาหารด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ภาวะเครียด รวมไปถึงไม่ควรซื้อยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร
เนื่องจากทางอาหารปั่นผสม SNFood เล็งเห็นความสำคัญต่อการรับประทานอาหาร เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถดีขึ้นจากอาการโรคกระเพาะอาหารได้และสามารถห่างไกลจากโรคกระเพาะสำหรับผู้ที่สุขภาพดี