อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

การรับประทานอาหารถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากของการดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งหากเราเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะส่งผลให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้ โดยปกติแล้วคนเราต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยในแต่ละหมู่นั้นควรรับประทานกันอย่างหลากหลายและควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากจนเกินไป เพราะการที่เรามีน้ำหนักมากจนเกินไปนั้น เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมามากมาย เพราะน้ำหนักตัวเป็นเครื่องบ่งบอกอย่างง่ายถึงภาวะของสุขภาพของเรา ในผู้ใหญ่ที่รับประทานอาหารได้เหมาะสมจะมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม มีรูปร่างที่ไม่อ้วน ไม่ผอมจนเกินไปและมีน้ำหนักที่คงที่ หากหมั่นสังเกตและพบว่าเรามีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากน้ำหนักปกติแสดงให้เห็นว่าเราเริ่มรับประทานอาหารมากจนเกินไป เพราะฉะนั้นควรที่จะหันมาควบคุมปริมาณการรับประทานอาหารให้น้อยลง แต่ถ้าหากพบว่ามีน้ำหนักตัวที่ลดลงเรื่อย ๆ ก็ควรที่จะสังเกตุอาการว่ามีอาการอ่อนเพลีย ง่วงซึม หรืออาการที่แตกต่างไปจากปกติหรือไม่ ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ เพราะอาการเหล่านี้อาจจะบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพตามมาได้ สำหรับวันนี้ SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ จะมาพูดถึงวิธีการรับประทานอาหารที่ถูกต้องและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งผู้ที่มีความดันโลหิตสูงนั้นถือว่าเป็นอันตรายมาก เพราะจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคไตวายระยะสุดท้าย แต่โรคความดันโลหิตสูง เราสามารถรักษาได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมไปถึงวิธีการรับประทานอาหาร ซึ่งการรับประทานอาหารถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

 

สำหรับภาวะความดันโลหิตสูงนั้น ต้องบอกก่อนว่าเป็นภัยเงียบที่เราไม่ควรมองข้าม โรคความดันโลหิตสูงเป็นภาวะความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมาได้ จนถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว สำหรับโรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแสดงอาการผิดปกติยกเว้น ในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรง ก็อาจจะมีอาการแสดงเช่น ปวดศีรษะ หายใจสั้น เลือดกำเดาไหล ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงหรือในบางรายอาจจะมีการพบภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงด้วย เพราะฉะนั้นจะต้องหมั่นตรวจสุขภาพและวัดค่าความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคความดันโลหิตสูงนั้นถือเป็นภัยเงียบที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างไม่ทันระวังตัวทีเดียว สำหรับสาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง อาจเกิดได้จากหลายภาวะเช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคไต ปัญญาต่อมไทรอยด์ หลอดเลือดแดงผิดปกติ ซึ่งโรคความดันโลหิตสูง หากปล่อยเป็นระยะเวลานานและดูแลรักษาสุขภาพอย่างไม่ถูกวิธี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้โดยมักจะพบโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดแดง โดยหลอดเลือดสมองโป่งพอง โรคไตเรื้อรัง หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงทางสมองด้านความจำได้รวมไปถึงอาจจะมีปัญหาในเรื่องของสายตาและโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ก่อให้เกิดความเสียหายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่โรคความดันโลหิตสูงนั้น สามารถควบคุมได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหาร รวมถึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่และควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

แต่ในวิธีการที่จะป้องกันโรคความดันโลหิตสูงที่ง่ายที่สุดก็คือ ควรปรับเปลี่ยนเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่แม้แต่เรื่องของความดันโลหิตสูง แต่รวมไปถึงจะส่งผลให้ร่างกายของเรามีสุขภาพที่ดี ไม่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ สำหรับวันนี้ SN Food อาหารเพื่อสุขภาพเราจะมาพูดถึงอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความดันโลหิตสูงนั่นเองอย่างแรกเลยคือ อาหารที่มีรสเค็มหวานจัดหรือมีปริมาณโซเดียมและไขมันที่ไม่ดีสูง ยกตัวอย่างเช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสปรุงรสต่าง ๆ เต้าเจี้ยว ผักดองหรืออาหารดองต่าง ๆ รวมไปถึงอาหารแช่แข็งเนื่องจากมีปริมาณโซเดียมและมีรสเค็มสูง น้ำอัดลม ลูกอม เยลลี่ มันหมู ไก่ติดหนัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชาและขนมหวานต่าง ๆ ซึ่งอาหารที่กล่าวมาข้างต้นนั้น บางอย่างอาจจะรับประทานได้บ้าง แต่ต้องมีการจำกัดในเรื่องของปริมาณ เพราะไม่ควรรับประทานเยอะหรือรับประทานเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ควรออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ความสะอาดของอาหารก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยลดอันตรายจากสิ่งเปื้อนต่าง ๆภายในอาหาร ซึ่งอาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อโรค พยาธิ สารพิษ สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เพราะฉะนั้นควรเลือกซื้ออาหารจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ มีการผลิตที่ถูกต้อง ถูกสุขลักษณะ มีการเก็บรักษาที่เหมาะสม หากเป็นอาหารสำเร็จรูปควรบรรจุในภาชนะที่เหมาะสมสะอาด มีฉลากที่ถูกต้อง ชัดเจน บอกวันหมดอายุ ส่วนประกอบ ชื่ออาหาร สถานที่ผลิตอย่างชัดเจน นอกจากนี้เราควรมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหารด้วย เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหารหรือการใช้ช้อนกลาง หยิบจับอาหารมากกว่าการใช้มือ นี่ก็จะเป็นวิธีการป้องกันการเกิดอันตรายจากการรับประทานอาหาร หากเราทำเป็นนิสัยก็จะทำให้เราได้รับอาหารที่สะอาดปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว