หลายคนสงสัย อาหารทางสายยาง ควรแบ่งให้ผู้ป่วยวันละกี่มื้อ ?
อาหารทางสายยาง ถือเป็นอาหารเพื่อการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง เพื่อนำไปให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาในเรื่องของการกลืนอาหาร การให้อาหารปั่นผสมสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความชอบและความสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับท้องถิ่นหรือความสะดวกของผู้ประกอบอาหาร รวมไปถึงความเหมาะสมแก่โรคของผู้ป่วย เช่น หากผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรประกอบอาหารให้มีส่วนผสมของน้ำตาลน้อยที่สุด เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ อาหารปั่นผสมเป็นอาหารที่ต้องให้ผู้ป่วยทางสายยางให้อาหาร โดยจะต้องมีการให้อาหารแก่ผู้ป่วยและต้องมีผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญ ในเรื่องของการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย หลายคนสงสัยว่าการให้อาหารแก่ผู้ป่วยนั้น จะต้องให้มากน้อยแค่ไหนในแต่ละวัน หรือต้องให้บ่อยแค่ไหน ผู้ป่วยควรได้รับอาหารกี่มื้อเพื่อให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งนั้นจะต้องเป็นแพทย์และนักโภชนาการเป็นผู้กำหนดว่า ผู้ป่วยสมควรได้รับสารอาหารต่อวันในปริมาณเท่าใด และควรที่จะให้อาหารแก่ผู้ป่วยกี่มื้อต่อวัน โดยแพทย์โภชนาการจะเป็นผู้คำนวณสูตรอาหารทั้งหมด และคำนวณปริมาณอาหารในแต่ละวัน เพื่อให้เหมาะสมแก่โรคและร่างกายของผู้ป่วย จะต้องบอกก่อนว่าอาหารปั่นผสมโดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยสารอาหารหลักที่ครบ 5 หมู่ จะต้องคำนึงถึงประโยชน์ด้านโภชนาการเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด รวมไปถึงจะต้องคำนวณถึงปริมาณที่เหมาะสม หากผู้ป่วยได้รับสารอาหารหรืออาหารที่มากจนเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้
สำหรับวันนี้อาหารปั่นผสม SN จะมาพูดถึงเรื่องของการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยว่าควรให้อาหารแก่ผู้ป่วยวันละกี่มื้อ สำหรับการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จะต้องคำนึงถึงปริมาณของสารอาหารเป็นหลักเพราะผู้ป่วยจะต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยบรรเทาอาการป่วยด้วยปริมาณและคุณค่าของอาหารมีผลต่อร่างกายผู้ป่วย รวมไปถึงมีผลต่อระบบย่อยอาหารและการดูดซึมอาหาร เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจะต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายการให้อาหารแก่ผู้ป่วยก็มีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรับประทานอาหารในหลายปัจจัยที่มีผลต่อภาวะการและพฤติกรรมของผู้ป่วย ปริมาณและอาหารที่จะให้ผู้ป่วยในแต่ละวันนั้น จะขึ้นอยู่กับอายุและโรคภัยไข้เจ็บของผู้ป่วยด้วย โดยอาจจะแบ่งอาหารเป็น 4 มื้อในแต่ละวัน โดยปกติแล้วคนทั่วไปจะรับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาสภาพร่างกายที่ต้องให้อาหารทางสายยาง อาจแบ่งได้เป็น4 มื้อเนื่องจากการให้อาหารในแต่ละครั้งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง แน่นท้องอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่นได้ เนื่องจากได้รับสารอาหารที่มากเกินไปและมีระบบย่อยอาหารที่ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ผู้ป่วยบางรายจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติในการย่อยอาหาร ดังนั้นเพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยได้ย่อยอาหารได้อย่างเต็มที่ก่อนที่จะได้รับอาหารในมื้อต่อไปเป็นการรักษาสมดุลและรักษาระบบการย่อยอาหารของผู้ป่วยไปในตัว
สำหรับอาหารทางสายยาง ผู้ป่วยควรได้รับอาหารที่สามารถย่อยได้ง่ายและผู้ดูแลจะต้องปรุงอาหารด้วยที่สามารถย่อยง่ายและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายของผู้ป่วยเช่น อาหารที่ประกอบไปด้วยผักใบเขียว ซึ่งมีเส้นใยอาหาร ทั้งยังช่วยรักษาสมดุลและดีต่อระบบย่อยอาหาร สำหรับอาหารปั่นผสมที่ดี สำหรับผู้ป่วยจะต้องความสะอาดปลอดภัยแก่ผู้ป่วย โดยอาหารปั่นผสม SN เรามีขั้นตอนการผลิตที่มีความสะอาดและคำนึงถึงความปลอดภัยผลิตในห้องปลอดเชื้อของโรงพยาบาล เพื่อรักษาความสะอาดของอาหารและคุณภาพของอาหาร ก่อนอาหารจะเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยได้อย่างปลอดภัย และมีคุณค่าทางอาหารอย่างครบถ้วน นอกจากนี้อาหารปั่นผสม SN มีกรรมวิธีการที่สามารถเก็บรักษาอาหารได้นานแตกต่างจากของยี่ห้ออื่น โดยปกติแล้วอาหารปั่นผสมจะสามารถเก็บรักษาได้ ไม่นานเพราะหากผลิตออกมาแล้วต้องใช้ให้หมดทันที แต่อาหารปั่นผสม SN สามารถเก็บรักษาได้ถึง 24 ชั่วโมงและนี่คือจุดเด่นของอาหารปั่นผสม SN ซึ่งเป็นการการันตีว่าอาหารที่ทางเราผลิตออกมามีมาตรฐานและคุณภาพตามหลักโภชนาการและยังคำนึงในเรื่องของความสะอาดเป็นหลัก อย่างไรก็ตามอาหารปั่นผสม SN สามารถหาซื้อได้ที่โรงพยาบาลโดยจะจัดจำหน่ายที่โรงพยาบาลธนบุรี 2 และที่โรงพยาบาลกรุงเทพ-พัทยา สามารถมารับที่ศูนย์การผลิตได้โดยตรง