หลายคนสงสัย ! สายยางให้อาหาร สามารถนำมาใช้ใหม่ได้หรือไม่ ?

การให้อาหารทางสายยาง ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมาก โดยเฉพาะในเรื่องของความสะอาดของอุปกรณ์ทุกชิ้น เนื่องจากการให้อาหารทางสายยางนั้น เป็นการให้อาหารผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จึงต้องจำเป็นที่จะต้องรับอาหารทางสายยาง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วย รวมไปถึงผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวด้วย ดังนั้นการให้อาหารทางสายยางจะต้องทำโดยผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง รวมไปถึงต้องมีไหวพริบที่ดีในการแก้ไขปัญหาด้วย เพราะหากแก้ไขปัญหาไม่ทันการอาจจะทำให้เกิดผลเสียหรืออันตรายแก่ผู้ป่วยได้ ยิ่งผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายยิ่งต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ สำหรับสายยางให้อาหารนั้น ผู้ดูแลก็จะต้องดูแลเรื่องของความสะอาดด้วยเช่นกัน เพราะถ้าหากสายยางสกปรกอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ รวมไปถึงกรณีที่สายยางให้อาหารอยู่ในร่างกายเป็นเวลานาน ก็อาจจะเกิดข้อเสียได้เช่น สายยางให้อาหารอาจจะลื่นหลุดออกจากตำแหน่งของกระเพาะอาหาร ทำให้ผู้ดูแลจะต้องใส่เข้าไปใหม่ ซึ่งหลายคนมีความสงสัยว่า สายยางให้อาหารนั้นหากหลุดแล้ว สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่

สำหรับสายยางให้อาหารนั้น จะต้องดูแลรักษาความสะอาดค่อนข้างมากเป็นพิเศษ เพราะสายยางเป็นตัวนำอาหารเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย หากมีความสกปรกอาจจะทำให้ผู้ป่วยท้องเสีย หรือเกิดการอาเจียนได้ หรืออาจจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆตามมาได้ สำหรับใครที่สงสัยว่า สายยางให้อาหาร หากเกิดการหลุดออก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้หรือไม่ ตอบเลยว่า ได้ แต่ถ้าสายยางให้อาหารที่หลุดออกและยังเป็นสายยางใหม่อยู่ ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกโดยล้างให้สะอาดก่อน แต่ถ้าสายยางให้อาหารที่ผ่านการใช้งานมานานแล้ว ควรจะเปลี่ยนเป็นสายใหม่ ไม่ควรนำกลับมาใช้ต่อ หลังจากการให้อาหาร ผู้ดุแลควรปิดจุกสายยางให้อาหารให้แน่น เพราะถ้าจุกหลุดอาหารจากกระเพาะอาหารจะไหลออกมาได้ เมื่อให้อาหารเสร็จควรเช็ดคราบอาหารที่ปลายจุกด้วยสำลีแอลกอฮอล์หรือผ้าสะอาด ป้องกันไม่ให้มดขึ้นหรือแมลงมาตอมได้ นอกจากนี้พลาสเตอร์ที่ติดสายยางให้อาหารกับจมูกควรดูแลให้ติดแน่น ระวังสายยางเลื่อนหรือหลุดออก ควรจะมีการขีดความยาวของสายยางว่าอยู่ตำแหน่งเดิมหรือเลื่อนออกมาหรือไม่ ถ้าเลื่อนออกและไม่สามารถใส่ใหม่ได้ อย่างไรก็ตามควรใช้สำลีเช็ดให้สะอาด พร้อมทั้งสำรวจผิวหนังรอบๆ รูจมูกว่ามีบาดแผลหรือไม่ และต้องทำความสะอาดปากและฟันของผู้ป่วยด้วยแม้จะไม่ได้รับประทานอาหารทางปาก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หากผู้ป่วยที่รู้สึกตัว ก็ผู้ป่วยแปรงฟัน บ้วนปากเพื่อความสะอาดของช่องปาก

ทั้งนี้สายยางให้อาหาร ผู้ดูแลควรจะสังเกตและดูสายยางให้อาหารว่าหมดสภาพแล้วหรือไม่ เพราะสายยางให้อาหารนั้น ควรเปลี่ยนสายทุก 6 เดือน หรือเมื่อสายยางเกิดบวม หมดสภาพ รวมไปถึงแผ่นแปะสายยางให้อาหารควรเปลี่ยนอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และเช็ดทำความสะอาดบริเวณที่แปะทุกครั้งที่เปลี่ยน เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเอง จึงต้องได้รับการดุแลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาต่างๆ ยิ่งถ้าเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายผู้ป่วยได้ นอกจากนี้เรื่องของอาหารปั่นผสมที่ให้ผู้ป่วยก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการที่จะให้อาหารทางสายยางนั้น อาหารจะต้องมีความเหลวที่พอดี หากอาหารปั่นผสมมีความหนืดเกินไป อาจจะส่งผลให้สายยางให้อาหารเกิดการอุดตันได้ ซึ่งถ้าเกิดการอุดตันของสายยางให้อาหาร ผู้ดุแลอาจจะลองใช้น้ำอุ่นค่อยๆ ล้างและลองดูดด้วยกระบอกให้อาหาร แต่ถ้าหากสายยางยังอุดตันให้ปรึกษาแพทย์ทันที สำหรับการป้องการการอุดตันของสายยางให้อาหารนั้น ผู้ดุแลสามารถให้น้ำหลังให้อาหาร หรือ นมทุกครั้งอย่างน้อย 20 – 30 ซีซี แต่หากผู้ป่วยมีการจำกัดในเรื่องของปริมาณน้ำ ผู้ดุแลต้องปรึกษาแพทย์ก่อน กรณีที่ให้อาหารแบบหยดช้าๆต่อเนื่องหลายชั่วโมงควรให้น้ำอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง และทุกครั้งที่หยุดเครื่องควบคุมการไหลของอาหาร

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว