วิธีการบริหารยาทางสายให้อาหาร
การให้อาหารทางสายยาง เป็นการรักษาผู้ป่วยในทางการแพทย์อีกรูปแบบหนึ่ง เป็น อาหารสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยขาดสารอาหาร และรักษาสมดุลในเรื่องของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของร่างกายผู้ป่วย ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน แม้ว่าจะไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ซึ่งในบางกรณีผู้ป่วยจะต้องรับยา เพื่อเป็นการรักษาโรคที่เป็นอยู่ด้วย จึงต้องมีความจำเป็นที่ต้องให้ยาผ่านทางสายยางให้อาหารด้วย แต่การให้ยาผ่านทางสายยางให้อาหารก็ต้องคำนึงในเรื่องของความสะอาดด้วย เพราะเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อได้ การให้ยาทางสายยางให้อาหาร จะต้องได้รับอนุญาตจากแพทย์เสียก่อน และจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
วิธีการบริหารยาทางสายยางให้อาหารจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ห้ามผสมยารวมกับอาหารปั่นผสม หากเกิดการติดขัดในสายยางให้อาหารต้องหยุดการให้ทันที ผู้ดูแลจะต้องหยุดการให้อาหารขณะให้ยา ต้องเตรียมยาตามความเหมาะสม ควรบดยาให้เป็นผงละเอียดและกระจายผงยาในน้ำก่อนใส่ในสายยางให้อาหาร นอกจากนี้ควร Flush ด้วยน้ำอย่างน้อย 30 ml ก่อนและหลังการให้ยา ในกรณียาที่ต้องให้ตอนท้องว่างให้หยุดการให้อาหาร 30 นาทีก่อนและหลังการให้ยา ต้อง Clamp NG tube อย่างน้อย 30 นาที หลงจากให้ยาเพื่อเพิ่มการดูดซึม เห็นไหมว่า การบริหารยาผ่านทางสายยางให้อาหารไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ดูแล หรือผู้ที่ให้อาหารจะต้องมีความรู้พื้นฐานในเรื่องของการให้อาหารผู้ป่วยทางสายยางเสียก่อน
นอกจากการให้ยาผ่านทางสายยางให้อาหารแล้ว อาหารที่ผู้ป่วยได้รับก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ จะต้องมีความสะอาด ปลอดภัย และได้มาตรฐานรองรับจากโรงพยาบาล เพราะอาหารปั่นผสม ที่จะต้องนำไปให้ผู้ป่วย จะต้องผ่านการออกแบบสูตรและการควบคุมการผลิตจากนักโภชนาการและแพทย์เสียก่อน เพราะผู้ป่วยแต่ละคนมีโรคประจำตัวและมีการให้ยาในชนิดที่แตกต่างกัน จะต้องให้แพทย์เป็นผู้ออกคำสั่งในการผลิตอาหาร เพื่อให้ถูกกับโรคและร่างกายของผู้ป่วยด้วย โดยทางอาหารปั่นผสม SN เรามีนักโภชนาการเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการผลิต และมีแพทย์เป็นที่ปรึกษาในเรื่องของการรับอาหารของผู้ป่วย จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของอาหารว่าจะได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย รวมไปถึงความสะอาดที่ได้ผ่านการผลิตจากห้องปลอดเชื้อของโรงพยาบาลนั่นเอง