การให้อาหารทางสายยาง ใส่สายยางอยู่ในร่างกายนานๆจะเกิดข้อเสียอะไรหรือไม่

การให้อาหารทางสายยางในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ แน่นอนว่าจะต้องมีความจำเป็นในเรื่องของการรักษาความสะอาด รวมไปถึงอาการบาดเจ็บของผู้ป่วยก็เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ดูแลจะต้องคำนึงถึง การให้อาหารทางสายยาง ผู้ป่วยจะต้องติดสายยางให้อาหารโดยสายยางให้อาหารนั้นจะถูกสอดผ่านเข้าร่างกาย ไม่ว่าเป็นตำแหน่งจมูกหรือบริเวณหน้าท้อง ใส่สายยางให้อาหารอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย หากอยู่ไปนานๆจะเกิดข้อเสียต่อร่างกายผู้ป่วยได้ หากสายยางลื่น และเกิดหลุดออกจากตำแหน่งของ-กระเพาะอาหาร ทำให้ผู้ดูแลจะต้องใส่ใหม่หรือ การให้อาหารทางจมูก อาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดไซนัสอักเสบได้ เนื่องจากให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุจมูกข้างนั้นๆ นอกจากนี้สายยางอาจทำให้เกิดคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบได้อีกด้วย จึงต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก

ทั้งนี้ สายยางให้อาหารอาจไปทำให้เกิดการระคายเคืองที่รูเปิดของท่อปรับความดันของหูชั้นกลาง ซึ่งอยู่ด้านหลังของโพรงจมูก และก่อให้เกิดหูอื้อหรือก่อให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกว่ากลืนน้ำลายได้ไม่ปกติ เนื่องจากสายยางนั้นค้ำอยู่ในหลอดอาหาร, อาหารบางส่วนอาจย้อนจากกระเพาะอาหารขึ้นมาในคอหอยได้ เห็นมั้ยว่า การที่สายยางให้อาหารเข้าไปอยู่ในร่างกายของผู้ป่วยนานๆ ก็ส่งผลเสียต่อระบบร่างกายได้หลายอย่าง ดังนั้นผู้ดูแลจะต้องมีความรู้เรื่องของการให้อาหารผู้ป่วยทางสายยางมากพอสมควร เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่จะส่งผลเสียต่อผู้ป่วย

นอกจากสายยางให้อาหารแล้ว พลาสเตอร์ที่ติดเพื่อยึดให้สายยางอยู่กัลที่ ก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ผู้ดูแลจะต้องเปลี่ยนพลาสเตอร์ทุกวัน เพื่อเป็นการสังเกตรอยกดทับระหว่างสายยางกับตำแหน่งที่ให้อาหาร หากมีความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งของสายยาง หากมีการให้อาหารบริเวณหน้าท้อง ที่ส่งตรงไปยังกระเพาะอาหาร ควรที่จะทำความสะอาดแผลบริเวณหน้าท้องทุกวัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ผู้ดูแลควรสังเกตอาการผิดปกติอย่างใกล้ชิดด้วย

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว