อาหารแก้อาการนอนไม่หลับ

ทุกเพศทุกวัย  โดยเฉพาะผู้สูงอายุและหญิงวัยหมดประจำเดือน  ในกรณีการนอนไม่หลับถ้าเป็นบางครั้งหรือเกิดชั่วคราว ยังไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นเรื้อรังควรต้องรีบ แก้ไข ถ้าไม่รับแก้ไขอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

การนอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ความรู้สึกสดชื่นเป็นสุขเมื่อตื่นนอน  ช่วยให้สมองทำงานไวขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง  ผิวพรรณดี  และลดความเสี่ยงโรคอ้วนโรค  ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

ไม่ว่าการนอนไม่หลับจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตาม อาหารมีส่วนช่วยต่อการนอนหลับได้ดังนี้ (จากหนังสืออาหารบำบัดโรคโดยอาจารย์ศัลยา  คงสมบูรณ์เวช) กล่าวไว้ว่า

ผู้ที่มีนิสัยการบริโภคผิดๆ  จะมีผลทำให้ร่างกายขาดสารอาหารหลาย ๆ ชนิดจะส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียและมีปัญหารบกวนการนอนหลับจนทำให้โรคนอนไม่หลับได้  ในทางตรงกันข้าม  การกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้แก่  วิตามิน  แร่ธาตุ  และสารอาหารครบถ้วน  รวมทั้งงดเครื่องดื่มกาแฟอีน แอลกอฮอล์ และอาหารที่ปราศจากการปรุงแต่ง( Food additives)จะช่วยส่งเสริมสุขภาพและช่วยให้นอนหลับได้ดีที่สุด  สารอาหารที่เกี่ยวข้องและ ช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ ได้แก่  วิตามินบี  ( 6และ 12)แคลเซียม  แมกนีเซียม และทริปโตเฟน

วิตามินบี  การขาดวิตามินในกลุ่ม บี เช่นขาดในอะซินและ วิตามินบี 6 อาจจะทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้  หากสาเหตุการนอนไม่หลับเนื่องจากการขาดวิตามินดังกล่าวการเสริมวิตามินเหล่านี้จะช่วยแก้ไขได้

วิตามินบี 6 มีความสำคัญในการสร้างเซโรโทนินในสมอง สารตัวนี้ช่วยควบคุมอารมณ์และการนอนหลับ  ผู้ที่ได้รับวิตามินบี 6 อาหารไม่เพียงพออาจมีการอาการนอนไม่หลับ  ซึมเศร้า  หงุดหงิด

วิตามินบี 12 การเสริมวิตามินตัวนี้ช่วยให้อาการนอนไม่หลับเรื้อรังดีขึ้น  แต่เมื่อหยุดเสริมอาการจะกลับมาอีก  แต่การเสริมวิตามิน B12 เพื่อแก้ไขอาการนอนไม่หลับต้องเสริมในปริมาณสูง  ดังนั้นจึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

นอกจากนี้มีหลักฐานการวิจัยว่า  การกินอาหารที่มีวิตามินบี 1 และกรดโฟลิกช่วยให้นอนหลับดีขึ้นในบางคนเท่านั้น

 

แร่ธาตุ  บางชนิดมีผลทางอ้อมต่อการนอนหลับ  เช่น  แคลเซียมและแมกนีเซียม  แร่ธาตุทั้งสองจะทำงานร่วมกัน  ช่วยในการทำงานของระบบประสาท  ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ  การขาดแร่ธาตุหนึ่ง ใน สอง ตัวนี้จะทำให้เกิดตะคริวและรบกวนการทำงานของเส้นประสาท  มีผลทำให้นอนไม่หลับ  อาหารที่มีแคลเซียมและแมกนีเซียมสูงจะช่วยให้อาการดีขึ้นในกรณีระดับสารเหล่านั้นในร่างกายลดลง

นอกจากแร่ธาตุทั้งสองชนิดที่กล่าวมาแล้ว  สารอาหารทองแดงและธาตุเหล็กก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ  ถ้าขาดทองแดงจะทำให้หลับช้า  แต่หลับได้นานขึ้น  และมีความรู้สึกเหมือนนอนไม่อิ่ม  ส่วนการขาดธาตุเหล็กจะทำให้นอนเร็วขึ้น  นอนนานขึ้น  แต่ตื่นกลางดึกบ่อยขึ้น

ผลการวิจัยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่นเส้นก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ  ข้าว  ขนมปัง ซีเรียล จะช่วยให้สมองผลิตเซโรโทนินมากขึ้น  ฉะนั้นก่อนนอนครึ่งชั่วโมงอาจจะลองกินคาร์โบไฮเดรตเล็กน้อยเป็นอาหารว่างเบาๆเพื่อช่วยให้หลับง่าย

มีผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ถ้านอนไม่หลับ  ให้ดื่มนมอุ่นๆ หนึ่งแก้วก่อนนอน  จะช่วยให้หลับง่าย เพราะดีกว่าการใช้ยานอนหลับ

เทคนิคในการกินอาหารก็ช่วยให้หลับได้ง่าย  เช่นไม่กินอิ่มเกินไปในมื้อค่ำ  เพราะจะทำให้ระบบย่อยทำงานหนักแล้วทำให้นอนไม่หลับควรกินหนักในมื้อเช้า  ปานกลางในมื้อเที่ยง  แต่เบาในมื้อเย็น  ถ้าหิวก่อนนอนอาจจะทำให้นอนไม่หลับควรเลือกอาหารเบา ๆ เช่น นมจืดพร่องมันเนย หรือขาดไขมัน  นมถั่วเหลือง  ขนมปัง หรือโยเกิร์ต

ออกกำลังกาย  ผลการวิจัยของมหาลัยสแตนฟอร์ด  ประเทศสหรัฐอเมริกา  แนะนำว่า  การออกกำลังกายขนาดปานกลางสม่ำเสมอจะช่วยให้หลับง่ายขึ้นและนานขึ้นและร่างกายตื่นตัวขึ้นในระหว่างการทำงาน แต่ไม่ควรออกกําลังกายก่อนนอน  เพราะจะทำให้ระบบประสาทตื่นตัวและนอนไม่หลับ

ดังนั้นก่อนนอนไม่หลับชั่วคราวอาจแก้ไขด้วยการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง โปรตีนต่ำ จะทำให้ระดับทริปโตเฟนในสมองสูงขึ้น  ขณะเดียวกันให้เพิ่มอาหารวิตามินบี  แคลเซียม  แมกนีเซียมทองแดง และธาตุเหล็ก ซึ่งการบริโภคอาหารหลัก 5 หมู่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม  จะช่วยให้รับสารอาหารดังกล่าวเพียงพอ

 

กรณีที่มีอาการนอนหลับเรื้อรังควรหาสาเหตุที่แท้จริง  เพื่อจะได้แก้ไขจากต้นเหตุ สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือโภชนาการที่ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดความเครียดฝึกการนอนเป็นเวลา เลี่ยงการนอนเวลากลางวัน  เลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์กาแฟอีน  และยาที่มีฤทธิ์เป็นสารกระตุ้น  ก็จะช่วยขจัดการนอนไม่หลับได้  แต่ถ้าอาการนอนไม่หลับเกิดเรื้อรังและหาสาเหตุไม่พบก็จำเป็นจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้ถูกทาง  ด้วยความปรารถนาดีจาก  SN Food อาหารเพื่อสุภาพ

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว