อาหารป้องกัน “โรคหัวใจขาดเลือด”

ในปัจจุบันนี้จะพบว่าคนไทยและคนต่างประเทศเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นต้น  (ซึ่งเทียบกับโรคชนิดอื่น)  และ แนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเราอยากรู้ว่าเรากำลังตกอยู่ในโรคหัวใจหรือไม่ ให้สังเกตอาการเบื้องต้นที่สามารถจะสังเกตได้ด้วยตนเองคือ ถ้าเรา รู้สึกแน่นเจ็บและรู้สึกอึดอัดที่หน้าอกหรือลิ้นปี่  หายใจถี่  วิงเวียนศีรษ คลื่นไส้  หายใจมีเสียง   มีอาการเหนื่อยมากกว่าปกติหรือไม่  ซึ่งเป็นสาเหตุการบ่งบอกเบื้องต้นควรต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด  เกิดจากการอุดตันของไขมันที่สะสมอยู่ในหลอดเลือดทำให้ไม่สามารถไหลเวียนผ่านไปยังหลอดเลือดแดงได้ เมื่อเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่พอทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้   และโรคนี้ยังมีความเสี่ยงต่อผู้มีอายุมากที่มีความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง  ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และผู้ป่วยที่เป็นโรคอ้วนมีน้ำหนักมากเกินไป หรือผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ

โรคหัวใจสามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  เพราะว่าอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ถ้าเราเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกสุขลักษณะ และมีสารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่พอเหมาะ สามารถที่จะป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้  ประทานอาหารบำรุงหัวใจและทำให้หัวใจแข็งแรงซึ่ง ประกอบด้วย

 

1.ถั่วประเภทเปลือกแข็ง

  • ถั่วลิสง ควรรับประทานถั่ว วันละ 1 กำมือ ร่วมกับกินผักผลไม้และปลา จะช่วยลดความเสี่ยงต่ออันตรายของโรคหัวใจ กินติดต่อกัน 1 ปี โรคหัวใจหายขาดได้
  • ถั่ววอลล์นัท ช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบ
  • ถั่วปากอ้า  ยังช่วยให้ระบบประสาทและหัวใจทำงานได้ดี
  • เม็ดมะม่วงหิมพานต์  ช่วยชะลอความแก่
  • ถั่วเหลือง โรตหัวใจขาดเลือด

 

2) สมุนไพร มีหลายชนิดซึ่งหาง่ายมากในบ้านของเรา ซึ่งขอยกตัวอย่าง ได้แก่

  • กระเทียม ควรรับประทานกระเทียมเป็นประจำ วันละ 5 กลีบช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  • หอมหัวใหญ่ หอมแดง และต้นหอมช่วยในเรื่องบำรุงเลือดและหัวใจ
  • พริกจะช่วยทำให้หลอดเลือดขยาย ช่วยละลายลิ่มเลือด ลดการหดตัวของเส้นเลือด
  • ดอกคำฝอย นำมาต้มน้ำดื่มช่วยป้องกันโรคหัวใจและรักษาหลอดเลือด
  • และยังมีสมุนไพรนานาชนิดอีกมากที่ทำให้ลดอาการอักเสบชองหลอดเลือดได้อีก

 

3) ปลา ปลาทะเลและปลาน้ำจืดไทยปลาที่ให้ประโยชน์มากที่สุด คือ

  • ปลาสวาย มีโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ช่วยลดการแข็งตัวของหลอดเลือดได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะปลาไทย ไม่ว่าจะเป็นปลากะพง ปลาทู ปลาดุก ปลานิล ปลาสวาย  เป็นต้น
  • ปลาที่มีคุณประโยชน์ที่สุดอยู่ที่การต้ม หรือนึ่ง ที่จะทำให้ได้คุณค่าทางอาหารอย่างครบถ้วนที่สุด แต่ควรหลีกเลี่ยงการทอดให้มากที่สุด  ขอแนะนำควรมีการบริโภคอย่างน้อย 2 มื้อต่อสัปดาห์ แต่หากบริโภคได้ทุกวันก็ยิ่งดี

 

4) น้ำมันมะกอก

  • ช่วยในเรื่องการลดระดับของคอเลสเตอรอล และยังช่วยให้ไขมันในเลือดลดลง แล้วยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและทำให้หัวใจได้ทำงานอย่างแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

 

5) ข้าวโอ๊ต

  • ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีเส้นใยอาหารสูง ที่มีประโยชน์มากต่อสุขภาพ และเป็นสุดยอดอาหารพลังงานสูง
  • อีกทั้งยังช่วยในเรื่อง ลดคอเลสเตอรอล  ลดความเสี่ยงที่จะมีความดันโลหิตสูง  และยังป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง

 

จะเห็นได้ว่าอาหารเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรคโรคหัวใจขาดเลือดได้  สำหรับผู้ที่ป่วยควรที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่ในการบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม  แต่ก็ยังมีอาหารบางชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงอัน ได้แก่

 

  1. ควรหลีกเลี่ยงอาหารทำให้ไขมันซึ่งเป็นผลเสียต่อโรคหัวใจวาย อาหารมันยังจะทำให้ไขมันในเลือดสูงขึ้นและจะทำให้หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ ขาหมู หมูสามชั้น หนังไก่ทอด เครื่องในสัตว์ เป็นต้น
  2. ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม เมื่อปรุงอาหารควรใช้เกลือแทน หรือ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก แฮม

 

นอกจากคำนึงถึงความสำคัญของอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแล้วก็ควรที่จะใส่ใจในเรื่องการออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ  และยังต้องดูแลสุภาพจิตคือ ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด เพื่อให้ผู้ป่วยได้มั่นใจในการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักโภชนาการเราขอแนะนำ SNFOOD เป็นผู้ดูแลในเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจให้ปลอดภัยและกลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว