อาหารที่ผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยง
อาหารการกินถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับผู้ป่วย เพราะเมื่อร่างกายได้รับความเจ็บป่วย ก็จะทำให้ระบบต่างๆทำงานผิดปกติ หรือบางรายอาจจะรุนแรงจนเป็นโรคประจำตัวและต้องรับประทานยาตลอดชีวิต ซึ่งการที่เราต้องรับประทานยาตลอดชีวิตนั้น ถือว่ามีผลข้างเคียงมากมาย เพราะยาบางชนิดมีผลกระทบต่อร่างกาย รวมไปถึงการรับประทานยาจะส่งผลกระทบต่อไต ทำให้ไตทำงานหนักกว่าปกติ ดังนั้นสาเหตุของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บก็มักจะมาจากการรับประทานอาหาร หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เราควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะจะส่งผลให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ มีภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้เราไม่ป่วยง่าย นอกจากนี้อาหารบางชนิดที่เรารับประทานเข้าไป ก็อาจจะส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการเจ็บป่วยได้ เพราะฉะนั้น หากเราเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมในเรื่องของปริมาณและโรคประจำตัวของเรา ก็อาจจะช่วยบรรเทาอาการลงได้ สำหรับวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ จะมาแนะนำอาหารที่ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไตควรหลีกเลี่ยง เพราะจะทำให้เกิดอันตรายและส่งผลเสียต่อไตได้
สำหรับผู้ป่วยโรคไต การรับประทานอาหาร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก จะต้องดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของการเลือกรับประทานอาหารให้มากยิ่งขึ้น เพราะผู้ป่วยโรคไตบางรายจะต้องทำการฟอกไต ในเรื่องของอาหารก็จะสามารถช่วยลดอาการผลข้างเคียงได้ เพราะการฟอกไต จะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยสูญเสียโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะโรคขาดสารอาหาร ดังนั้นผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเหมาะสมกับสภาพร่างกายด้วย หากร่างกายสูญเสียสิ่งใดไป ก็ควรจะรับประทานอาหารเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารทดแทน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรควบคุมอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ปริมาณโปรตีนที่แนะนำคือ 0.6-0.8 กรัม ต่อน้ำหนักตัวที่เหมาะสม 1 กิโลกรัม หรือขึ้นอยู่กับระยะของโรค และควรเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพสูงประเภท เนื้อปลา โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เนื่องจากมีไขมันต่ำและยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ไข่ขาว เนื้อหมู เนื้อไก่ ที่ไม่ติดหนังหรือมัน นมไขมันต่ำ เป็นต้น แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูป เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง นอกจากนี้อาหารที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้ คืออาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ คือผักผลไม้ที่มีสีซีดๆ เช่น ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนูขาว ฟักเขียว ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา และสามารถรับประทานสลับระหว่างอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง-ต่ำ เพื่อรักษาสมดุลของโพแทสเซียมในร่างกายได้เช่นเดียวกัน
อย่างที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นว่า ผู้ป่วยโรคไตควรระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหารให้มาก นอกจาก โปรตีนและเกลือแร่ต่างๆที่ผู้ป่วยควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว ผู้ป่วยควรเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทั้งหลายเช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ และจำกัดไขมันอิ่มตัวทั้งจากพืชและสัตว์ จำพวก กะทิ น้ำมันปาล์ม มันหมู มันไก่ รวมถึงไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียม เนยขาว ที่เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ประกอบเบเกอรี่ต่าง ๆ ควรใช้น้ำมันแบบไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา ในการประกอบอาหาร รวมไปถึงอาหารที่มีโซเดียม ฟอสฟอรัส ก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะเนื่องจากจะส่งผลเสียต่อการทำงานของไตได้ ดังนั้น SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราอยากสนับสนุนให้คนไทย หันมาดูแลรักษาสุขภาพของเราให้ดี เพราะถ้าหากเราไม่ดูแลตัวเอง อาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมา โดยขั้นแรกของการดูแลตัวเอง เราเริ่มต้นได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรค ทำให้สามารถใช้ชีวิตประวันได้อย่างเต็มทีและมีความสุข