อาหารที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะ ไม่ควรรับประทาน
โรคกระเพาะอาหาร คือโรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดและมีอาการจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือไม่ก็อาจจะเป็นตอนช่วงเวลาท้องว่าง เช่น เวลาหิวข้าวตอนช่วงบ่ายหรือก่อนนอนตอนดึกๆ ซึ่งอาการปวดท้องโรคกระเพาะนี้ ส่วนใหญ่มักเกิดกับคนวัยทำงานและคนที่รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา โดยมีสาเหตุมาจากภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารมากซึ่งกรดที่ว่านี้ กลับมาสร้างความระคายเคืองให้กับกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดแผลที่ผนังของกระเพาะอาหาร แต่สิ่งที่จะทำให้อาการปวดท้องดีขึ้นก็คือ การรับประทานข้าว ดื่มนม ดื่มน้ำหรือรับประทานยาลดกรด ยาโรคกระเพาะ ซึ่งผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะนั้น จะต้องมีการคำนึงในเรื่องของการรับประทานอาหารให้มากเป็นพิเศษ เพราะอาหารบางชนิดอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและทำให้อาการป่วยแย่ลงได้ จนเกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด แสบร้อนกลางอกหรืออาหารไม่ย่อยตามมาได้ ในขณะเดียวกันการรับประทานอาหารที่เหมาะสมต่อสุขภาพก็มีส่วนช่วยในการควบคุมอาการของการเกิดโรคกระเพาะและทำให้อาการป่วยลดลงได้อีกด้วย แต่สำหรับวันนี้ ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาพูดถึงอาหารที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะ ไม่ควรรับประทาน เพราะจะส่งผลให้เกิดอาการปวดมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยควรรับการรักษาการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและลดอาหารที่จะทำให้เกิดการกระตุ้นให้มีอาการกำเริบได้ รวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารไปด้วย เพราะโรคกระเพาะอาหารหรือแผลในกระเพาะอาหารนั้นถือเป็นเรื่องที่ทำให้เราใช้ชีวิตประจำวันได้ลำบากมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเรา รวมไปถึงส่งผลต่อการรับประทานอาหารด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารไม่ควรรับประทาน ได้แก่ อาหารทอด อาหารที่ทำจากมะเขือเทศ เช่น ซอสมะเขือเทศหรือน้ำมะเขือเทศ นมสด พริกและพริกไทย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบพริกหรือพริกไทยสด พริกป่น พริกไทยป่นหรือซอสพริก เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน รวมไปถึง ของหวานอย่างช็อกโกแลต นมช็อกโกแลตและโกโก้ร้อน และที่สำคัญนั่นก็คือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีคาเฟอีน เช่น ชาหรือกาแฟ รวมไปถึงเครื่องดื่มอัดแก๊สอย่างน้ำอัดลมและโซดาและน้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำส้ม เพราะร่างกายของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหาร มีการตอบสนองต่ออาหารแต่ละชนิดแตกต่างกันแต่ผู้ป่วยในแต่ละราย ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการของตนเองขณะที่รับประทานอาหารแต่ละชนิดและควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการปวดแย่ลง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาหารที่มีรสเผ็ด เปรี้ยว หรือมีฤทธิ์เป็นกรดและอาหารที่มีไขมันสูงนั่นเอง นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหารแล้ว ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลาและไม่ควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมงและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารครั้งละมากๆ โดยให้เปลี่ยนมารับประทานอาหารทีละน้อยๆแต่ให้รับประทานบ่อยขึ้น เพื่อเป็นการลดภาระของกระเพาะอาหารเพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักจนเกินไป นอกจากนี้ สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร เราก็สามารถระมัดระวังได้ควรลดพฤติกรรมที่เสี่ยงของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารรสจัดเป็นประจำ รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ รับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะหรือมีความเครียด วิตกกังวล ส่งผลต่อการหลั่งกรดและน้ำย่อยมากขึ้น รวมไปถึงการดื่มเครื่องดื่มบางประเภทเช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ รวมไปถึง การสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดหดรัดตัวทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะอาหารน้อยลง จนทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้า นอกจากนี้การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวดแอสไพริน หรือยาลดการอักเสบเป็นประจำก็ ส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน