อาการเบื่ออาหาร ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ของผู้ป่วยที่ต้องให้ อาหารทางสายยาง !
การให้อาหารทางสายยาง เป็นการรักษาทางการแพทย์ในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยอยู่ในช่วงที่ไม่รู้สึกตัว ซึ่งการให้อาหารปั่นผสม โดยการให้ทางสายยางนั้น ผู้ดูแลจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง จะต้องมีความรู้ในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง เพราะหากให้อาหารทางสายยางโดยที่ไม่ระมัดระวัง ก็จะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการการเบื่ออาหาร จะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหาร รวมไปถึงการแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาการเหล่านี้ ผู้ดูแลจะต้องคอยสังเกตอาการและรีบทำการแก้ไขโดยด่วน เพราะอาการดังกล่าวเกิดจากผลข้างเคียงจากการให้อาหารทางสายยางและอาหารปั่นผสมที่ได้ทำเพื่อให้กับผู้ป่วย สำหรับอาหารปั่นผสม เป็นอาหารทางการแพทย์ที่ใช้ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ อาหารปั่นผสมจะต้องออกแบบโดยนักโภชนาการ เพราะวัตถุดิบที่ต้อวนำมาประกอบอาหารจะต้องมีความสะอาด ไร้สารปนเปื้อน รวมไปถึงสัดส่วนและปริมาณของอาหารที่จะต้องมีความเหมาะสมกับผู้ป่วย
หากผู้ป่วยได้รับสารอาหารหรืออาหารที่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ ผู้ป่วยเกิดอาการแน่นท้อง หรือทำให้เกิดอาการอาเจียนได้ ซึ่งบางครั้งจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อน มีอาการปวดหัว ปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งผู้ดูแลจะต้องคอยสังเกตอาการและทำตามคำแนะนำของแพทย์และนักโภชนาการในเรื่องของชนิดของอาหารและปริมาณ สัดส่วนของอาหารปั่นผสม ที่จะต้องให้ผู้ป่วย โดยนักโภชนาการจะทำการคำนวณปริมาณของอาหารที่จะให้กับผู้ป่วย หากผู้ป่วยได้รับอาหารในปริมาณที่มากหรือน้อยเกินไป ก็จะส่งผลต่อร่างกายผู้ป่วย หากผู้ป่วยได้รับอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจจะทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ ซึ่งอาการป่วยอาจทำให้ความอยากอาหารลดลง จนนำไปสู่ความผิดปกติของร่างกาย เช่น อาเจียน ท้องเสีย นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยางร่วมกับยาที่รักษาอาการป่วย การใช้ยาบางชนิด ก็อาจจะมีผลข้างเคียงเช่นกัน ดังนั้นแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ให้แคลอรี่จำนวนมากแก่ร่างกาย ซึ่งหากมีอาการรุนแรงแพทย์อาจให้ผู้ป่วยเข้าพบนักโภชนาการด้วย เพื่อวางแผนการรับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
สำหรับอาการเบื่ออาหารเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ แม้แต่ในคนปกติก็สามารถเกิดภาวะเบื่ออาหารได้เช่นกัน ซึ่งเมื่อคนเรามีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะการเบื่ออาหารหรือความอยากอาหารจะลดลง มีสาเหตุมากจากร่างกายาี่เปลี่ยนไป ประสาทสัมผัสจะไม่ดีเท่าที่ควร และนั่นก็หมายความรวมถึงประสาทสัมผัสด้านการรับรสและการดมกลิ่นด้วย มีผู้สูงอายุหลายคนพบว่าอาหารมีรสชาติที่ไม่ดี ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกอิ่มหลังจากทานไปเพียงแค่เล็กน้อย นอกจากนี้เมื่อคุณเข้าสู่วัยสูงอายุ คุณมีแนวโน้มที่จะทานยา ป่วยบ่อย มีปัญหากับฟัน หรือรู้สึกเศร้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลต่อความอยากอาหาร ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเกิดภาวะขาดสารอาหาร ทั้งนี้ผู้ดูแลควรที่ปรับเปลี่ยนของรสชาตของอาหาร หรือทำให้อาหารมีความน่ารับประทานมากขึ้น เพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหาร รวมไปถึงผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ควรแบ่งสัดส่วนอาหารให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารที่บ่อยขึ้น ก็จะช่วยได้