อาหารช่วยบำรุงไต
ไต เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย โดยทำหน้าที่คัดกรองสารอาหารต่างๆ ภายในเลือด เพื่อให้ร่างกายสามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนั้นยังช่วยในการขับน้ำส่วนเกินหรือของเสียจากเลือดออกมาในรูปของปัสสาวะ แต่ถ้าไตเกิดความบกพร่องหรือเสียหาย ก็จะมีอาการเจ็บป่วยตามมาจนไม่สามารถฟอกเลือดหรือขับของเสียออกจากเลือดได้ ทำให้เกิดอาการป่วย ได้แก่
- ไตวาย
- ไตอักเสบ
- กรวยไตอักเสบ
- นิ่วในไต
ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวแต่เนิน ๆ และรีบทำการรักษาก็จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ย่อมมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคไตเรื้อรังได้
อาการที่สังเกตได้ คือ ถ้าเป็นโรคไตอักเสบจะมีปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ส่วนโรคไตระยะสุดท้ายจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปัสสาวะน้อยหรือบางคนไม่มีน้ำปัสสาวะเลย ตัวจะบวม หายใจไม่ค่อยออก ร่างกายอ่อนแอ
สาเหตุ ของโรคไตวายแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังนั้นเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อยเกิดจากการสูญเสียเลือดหรือน้ำในร่างกายมากเกินไป ส่งผลให้ไตเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอย่างเฉียบพลัน สำหรับคนที่มีความดันโลหิตสูงถ้าหากว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาก็สามารถเป็นโรคไตได้ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานส่วนใหญ่ จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ส่วนคนที่มีการติดเชื้อการติดเชื้อจากไวรัส หรือแบคทีเรียบางชนิด เมื่อเข้าสู่ร่างกายไปยังกระแสเลือด ทำให้ไตถูกทำลายได้ และ ผลจากการใช้ยาบางชนิดซึ่งมีผลข้างเคียง อาทิ ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) หรือ ยานาพรอกเซน (Naproxen) หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป โดยไม่อยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ อาจนำมาสู่ภาวะไตเสื่อมทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะได้
การรักษาไตวาย แต่ละชนิดก็มีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ในปัจจุบันมี 2 วิธีได้แก่
1.การฟอกไต (Dialysis) โดยใช้เครื่องฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) และฟอกไตด้วยทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) เป็นการฟอกไตโดยใช้เนื้อเยื่อที่บริเวณช่องท้อง
2. การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant) แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยวิธีการฟอกไตแล้ว แต่อาการของไตวายเรื้อรังก็ยังไม่หายไป ซึ่งต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดปลูกถ่ายไตเท่านั้น แต่ก็มีความยากลำบากมาก เพราะต้องรอการที่จะได้รับการบริจาคไตจากผู้อื่นและถ้าได้แล้วก็ยังจะต้องดูว่าสามารถเข้ากับร่างกายผู้ป่วยได้หรือไม่
ผู้ป่วยโรคไต ควรได้รับการดูแลและเอาใจใส่ในเรื่องการรับประทานอาหารอย่างถูกวิธีเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ จำเป็นจะต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถูกหลักโภชนาการ ดังนั้นการเลือกทานอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการชะลอไม่ให้เนื้อไตถูกทำลายมากขึ้นกับผู้ป่วยโรคไต
ผู้ป่วยไตเรื้อรังควรเลือกรับประทานอาหาร ได้แก่
- อาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันและหนัง (ควรเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีการปรุงรส)
- ควรรับประทานไข่ขาววันละ 2 ฟอง
- ระวังฟอสฟอรัสในเลือดสูงให้เลี่ยงการทานข้าวกล้อง ธัญพืชไม่ขัดสี (ทานแป้งปลอดโปรตีนแทน เช่น เส้นเซี่ยงไฮ้ ข้าวหอมมะลิสีขาว เส้นหมี่ เส้นใหญ่ ขนมปังขาว)
- รับประทานแป้งที่ไม่มีโปรตีนให้บ่อยขึ้น รับประทานอาหารรสอ่อน ใช้น้ำมันถั่วเหลือง หรือน้ำมันมะกอกในการประกอบอาหาร
- อาหารที่ผู้ป่วยไตเรื้อรังไม่ควรเลือกรับประทานอาหาร ที่มีโซเดียมสูง เช่น ผงชูรส ผงปรุงรส ซุปก้อน ผงฟู่
- หลีกเลี่ยงอาหารฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ถั่ว กาแฟ งา เป็นต้น
- เลี่ยงการทานอาหารแปรรูปที่มีโซเดียมสูงในการเก็บถนอมอาหาร เช่น ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม หมูหยอง ผักดอง หัวไชโป๊ ไส้กรอก หมูยอ ปลากระป๋อง
ถ้าผู้ใดมีปัญหาจากโรคไต ไม่ทราบจะเลือกรับประทานอาหารอย่างไรให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน โปรดไว้วางใจ SNFOOD ซึ่งสามารถดูแลผู้ป่วยที่มารับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต และมีวีการจัดโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ปลอดภัย อย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ที่มารักษาโรคไตเรื้อรังให้สุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น