หลักการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคไต

การรับประทานอาหาร ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของคนเรา ในปัจจุบันมีกลุ่มคนรักสุขภาพที่มักนิยมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพหรืออาหารคลีน เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเอง ต้องบอกเลยว่าการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ถือเป็นเทรนด์ยอดฮิตอย่างหนึ่งที่ถือว่า มีข้อดีส่งผลดีต่อร่างกาย ทั้งยังเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ เนื่องจากประเทศไทยของเรานั้น มีผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากมายไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง ซึ่งมีผลมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตของคนเรา ถ้าหากไม่ดูแลสุขภาพหรือไม่เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แน่นอนว่าจะทำให้เราตกอยู่ในความเสี่ยงของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ เพราะฉะนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราควรเอาใจใส่ให้มากเป็นพิเศษ

 

สำหรับวันนี้ทาง SNFood อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาพูดถึงหลักการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เพื่อเป็นแนวทางในการบรรเทาและป้องกันการเกิดโรคไต เพื่อไม่ให้ไตทำงานหนักมากจนเกินไปและที่สำคัญผู้ป่วยโรคไตควรที่จะต้องระมัดระวังในเรื่องของอาหารการกิน เนื่องจากไตที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลแร่ธาตุในเลือดมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้มีของเสียตกค้างในกระแสเลือด ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงควรที่รับประทานอาหารอย่างเหมาะสมเพื่อจะได้ไม่เพิ่มภาระให้กับไตที่ต้องทำงานหนักมากจนเกินไปนั่นเอง

 

สำหรับอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง ก็คืออาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เนื่องจากโพแทสเซียมเป็นเกลือแร่ในเลือดชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ แต่ถ้าหากร่างกายของเรา มีโพแทสเซียมสูงจนเกินไป จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อ่อนเพลียง่าย คลื่นไส้ รวมไปถึงชีพจรเต้นช้าลงหรือจนถึงขั้นหัวใจหยุดเต้นได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตจะต้องจำกัดในเรื่องของโปรตีน แม้ผู้ป่วยโรคไตจะถูกจำกัดในเรื่องของการรับประทานโปรตีนมาก เนื่องจากร่างกายเมื่อเผาผลาญโปรตีนแล้ว จะทำให้เกิดของเสียที่ทำให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ควรที่จะจำกัดอาหารที่มีโปรตีนสูง  ผู้ป่วยจะต้องควบคุมคาร์โบไฮเดรตจากข้าวบางชนิดที่มีโปรตีนอยู่ด้วย รวมไปถึงอาหารที่มีไขมันสูง เพราะไขมันมีส่วนที่ส่งผลต่อการทำงานของไตที่แย่ลง ดังนั้น เราไม่ควรรับประทานไขมันที่ให้พลังงานมากกว่า 30% ของแต่ละวัน และควรหลีกเลี่ยงไขมันจำพวกไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ อาหารที่มีโซเดียมสูง ถือเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก อย่างไรก็ตาม หลักการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคไตนั้น เราสามารถควบคุมได้ เพื่อไม่ให้ไตต้องทำงานหนัก รวมไปถึงการดื่มน้ำในแต่ละวันก็ถือว่าต้องควบคุมเช่นเดียวกันเพราะผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังบางรายจะมีอาการบวมน้ำ เนื่องจากไตขับปัสสาวะได้น้อยลงและมีความดันโลหิตสูง แต่ถ้าหากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการบวมสามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ

สำหรับแนวทางข้อควรปฏิบัติในเรื่องของการรับประทานอาหารสำหรับโรคไต ผู้ป่วยควรเลือกรับประทานโปรตีนจากปลาเป็นหลัก โดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาบะ ปลาโอ เนื่องจากในปลาทะเลน้ำลึกมีโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ดีและไม่ไปทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น ควรใช้แป้งปลอดโปรตีน ซึ่งเป็นแหล่งให้พลังงานที่สำคัญ เช่น วุ้นเส้น หรือรับประทานขนมที่ทำจากแป้งปลอดโปรตีนได้ เพื่อให้ได้รับพลังงานที่เพียงพอ แต่ถ้าหากผู้ป่วยเป็นเบาหวานด้วย ก็ควรใช้น้ำตาลเทียมน้ำตาลจากหญ้าหวานแทน เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆตามมา นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันเป็นส่วนประกอบหรือมีไขมันน้อย โดยการทำอาหารที่มีหลายรสและไม่ต้องใช้น้ำมันเยอะ เช่นแกงส้ม ยำผักกะเฉด หรือถ้าหากต้องรับประทานอาหารทอด ควรใช้น้ำมันรำข้าวเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การปรุงอาหารด้วยตัวเองก็ถือว่าส่งผลดีต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เนื่องจากผู้ป่วยนั้นมีความเสี่ยงที่จะได้รับแร่ธาตุความจำเป็นจากการรับประทานอาหารตามสั่งนอกบ้าน เพราะมีรสชาติเค็มจัด หวานจัด หรือมันจัด ดังนั้น ผู้ป่วยควรประกอบอาหารด้วยตนเองโดยใช้วิธีนึ่ง อบ ต้ม แทนการปรุงรสไม่จัดมากเกินไปและควรเลือกรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ ไม่ควรรับประทานอาหารเป็นมื้อใหญ่ เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักมากจนเกินไป อย่างไรก็ตามทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราอยากให้ทุกคนหันมาใส่ใจในเรื่องของการรับประทานอาหารให้มาก เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆและควรหมั่นออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคทำให้ร่างกายของเราห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บนั่นเอง

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว