สารอาหารที่เหมาะสมกับโรคตับแข็ง

แม้ว่าในปัจจุบันโรคตับแข็งไม่ได้เกิดขึ้นอยู่มากนัก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า  เราจะเป็นไม่ได้ เนื่องจากว่าตับเป็นอวัยวะเพียงชิ้นเดียวในร่างกายที่มีอยู่ช่องกลางอกเยื้องไปทางขวา พบว่าโรคตับแข็งนั้นเกิดขึ้นจาก เนื้อเยื่อตับที่ถูกทำลายจะกลายเป็นพังผืดที่มีลักษณะคล้ายแผลไปแทรกและเบียดเนื้อตับที่ดี ทำให้เลือดไปเลี้ยงตับได้น้อยลง จากปกติมีเลือดไปเลี้ยง จึงส่งผลให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับลดลงหรือไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ร่างกายสร้างตามธรรมชาติ เป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยมีอาการฝ่ามือแดง มีจุดแดงรูปแมงมุม หน้าอกขยายและอัณฑะฝ่อในผู้ชาย มีการคั่งของสารบิลิรูบินหรือสารสีเหลืองซึ่งสร้างจากตับ ทำให้เกิดอาการดีซ่าน โดยสาเหตุเกิดได้ดังนี้

 

  • เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน 5-10 ปีขึ้นไป
  • เกิดจากโรคไวรัสตับอักเสบ B และ C เป็นระยะเวลายาวนาน
  • เกิดจากโรค ต่าง ๆ ของท่อน้ำดี ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้ประมาณ 10% เช่น ท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง ท่อน้ำดีอุดตัน ซึ่งทำให้น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับส่งผลทำลายเนื้อตับจนกลายเป็นตับแข็งได้
  • เกิดจากมีภาวะธาตุเหล็กสูงไปเกาะที่ตับทำให้ตับแข็งได้ ซึ่งอาการระยะแรกมักจะไม่ชัดเจนนัก มีเพียงอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นท้อง และโรคตับแข็งระยะสุดท้าย

 

เมื่อเป็นโรคตับแข็งอยู่หลายปีหรือยังดื่มแอลกอฮอล์จัด ผู้ป่วยจะมีอาการท้องมาน เท้าบวม วันนี้ทางอาหารทางสายยาง SNFood จะมาแนะนำอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคตับ ควรจะได้รับสารอาหารใดบ้าง

 

แม้ว่าจะอยู่ในก็ตาม ควรใส่ใจการรับประทานอาหารให้หลากหลายมากขึ้น เนื่องจากอาหารนั้นมีผลต่อตับโดยตรง ควรจะครบหมวดหมู่ ยกตัวอย่างอาหารพวกข้าว แป้ง ผัก ผลไม้สด และอาหารพวกโปรตีนควรรับประทานอย่างเหมาะสม และให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากว่าในผู้ป่วยที่เป็นตับแข็ง และมีภาวะทุพโภชนาการร่วมด้วย จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ เหมาะสม เริ่มต้นจากโปรตีน โดยควรได้รับประมาณวันละ 6-12 ช้อนโต๊ะ และควรเริ่มต้นด้วยการให้โปรตีนที่มีคุณภาพดี เช่น นม ไข่ทั้งฟอง เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา  เนื้อไก่ เนื้อหมู เป็นต้น ถัดมาคาร์โบไฮเดรท  ควรให้ในรูปของแป้งมากเท่าที่ผู้ป่วยจะรับได้ น้ำตาลเป็นแหล่งให้พลังงานที่ควรใช้ปรับเมื่อมีการสั่งเพิ่มหรือลดพลังงาน เพราะผู้ป่วยโรคตับแข็งมักกินอาหารได้น้อย การใช้น้ำตาลเสริมทดแทนหมู่ข้าวและแป้งก็จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้เช่นกัน ต่อมาคือไขมัน ผู้ป่วยโรคตับแข็งมักมีปัญหาด้านการย่อยและดูดซึมไขมันทั่วไปในอาหาร ดังนั้นอาจลดไขมันที่ใช้ตามปกติในอาหารที่รับประทานทุกวัน เนื่องจากไม่ต้องการน้ำดีในการย่อย สามารถดูดซึมเข้าสู่ตับได้โดยตรง และวิตามิน ผู้ป่วยมีปัญหาด้านการย่อย การดูดซึม และการเก็บวิตามินหลายชนิดในตับ ดังนั้นแพทย์มักจะสั่งเป็นในรูปแบบอาหารเสริมรับประทานเพิ่มหรือเป็นในรูปแบบของยาเสริมเพิ่มเติมเข้าไปแล้วแต่กรณีไป

 

ในการดูแลผู้ป่วยตับแข็งนั้นเนื่องจากมีการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ จึงควรรับประทานอาหารบ่อยขึ้น แบ่งอาหารออกเป็นหลายๆมื้อเพิ่มขึ้น เพื่อทำให้ร่างกายได้รับอาหารเพียงพอ และเมื่อมีการปรุงอาหารจำกัดเกลือและลดอาหารเค็ม โดยการหลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสชนิดต่าง ๆ และไม่ควรเกิน ๖ แก้วต่อวัน หรืออาจต้องลดมากกว่านี้ถ้ามีอาการบวมมาก เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับนั้นมีภาวะบวมน้ำง่ายมากกว่าคนปกติทั่วไป และท้ายสุดคือ  รับประทานอาหารที่สะอาด ไม่เป็นอาหารที่เก็บค้าง หรืออาหาร สุกๆดิบๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล เนื่องจากในอาหารทะเลมักจะมีเชื้อโรคบางชนิด อาจทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ทางอาหารอาหารทางสายยาง SNFood อยากให้ทุกคนหันมาใส่ใจในการรับประทานอาหารที่เหมาะสมในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่ออาการของโรคที่ดีขึ้นและสุขภาพดีแก่ผู้คนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรง

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว