ผักผลไม้ที่ช่วยลดความดันโลหิตสูง

ปัจจุบันคนไทยพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงโดยที่ไม่รู้ตัว หลายคนมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและหมองว่าเป็นการใช้ชีวิตปกติ ซึ่งความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน คือตรวจไม่พบความผิดปกติของร่างกายที่เป็นต้นเหตุของความดันโลหิตสูง มีส่วนน้อยที่รู้สาเหตุที่ ทำให้มีความดันโลหิตสูงเช่น ไตวาย เนื้องอกของไต มีความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด แต่เรามีการจำแนกความเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้แก่ อายุสูงขึ้นโดยเฉพาะมากกว่า 40 ปี มีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีภาวะเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น มีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงในลักษณะคนเมืองมากขึ้นเช่นขาดการออกกำลังกาย ภาวะอ้วน หรือตกอยู่ในภาวะเครียดเรื้อรัง ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  สูบบุหรี่ในปริมาณมากเป็นประจำ และรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด ซึ่งอาการของโรคความดันโลหิตสูงนั้นในระดับอ่อนหรือปานกลาง ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแต่อย่างไร แต่มักตรวจพบโดยบังเอิญ ขณะไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาปัญหาอื่น มีบางส่วนอาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย เวียนศีรษะ ปวดศีรษะตุบๆ หากเป็นมานานหรือความดันโลหิตสูงมาก ๆ อาจมีอาการเลือดกำเดาไหล ตามัว ใจสั่น มือเท้าชา เป็นต้น ทั้งนี้ในการเลือกรับประทานอาหารที่งดกลุ่มรสเค็มจะสามารถป้องกันความดันโลหิตสูงได้ การบริโภคอาหารที่มีรสเค็มจัด หรืออาหารที่มีปริมาณเกลือและโซเดียมสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงอย่างมาก ในการบริโภคอาหารแต่ละวันนอกจากเราจะได้รับปริมาณเกลือและโซเดียมที่ถูกปรุงแต่งในกระบวนการผลิตและการแปรรูปอาหารแล้ว ในขั้นตอนการประกอบอาหารยังมีการเพิ่มปริมาณเกลือน้ำปลาและซอสปรุงต่าง ๆเพิ่มในขณะรับประทานอาหารแต่ละมื้อ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณเกลือและโซเดียมเกินความต้องการ

 

สำหรับวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ จะมาแนะนำการเลือกรับประทานผลไม้ที่มีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตได้ เพราะเนื่องจากการเลือกรับประทานอาหาร การบริโภคเกลือและโซเดียม เราต้องควบคุมการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้เพราะจะช่วยให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี  สามารถเริ่มต้นได้จากการเลือกซื้อผักและผลไม้เนื้อสัตว์ที่สดใหม่แทนการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง ผักดองและอาหารสำเร็จรูป หากต้องซื้ออาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากอาหารทุกครั้ง และเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมต่ำหรือน้อย โดยคนทั่วไปควรบริโภคเกลือไม่เกิน วันละ 1 ช้อนชา หรือน้อยกว่า 6 กรัมต่อวัน ถัดมาล้างผักและเนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบอาหารให้สะอาดเพื่อชะล้างเกลือออก นอกจากนี้ลดการใช้เกลือและเครื่องปรุงรส หันมาใช้เครื่องเทศและสมุนไพรที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ เช่น หัวหอม กระเทียม ขิง พริกไทย มะนาว ผงกระหรี่แทน และไม่วางภาชนะหรือขวดใส่เกลือรวมทั้งเครื่องปรุงรสต่าง ๆเช่นซอส ซีอิ๊วขาวและน้ำปลาไว้บนโต๊ะอาหารทุกมื้อ ชิมอาหารก่อนรับประทานทุกครั้ง ควรการรับประทานอาหารที่มีรสชาติพอเหมาะ ไม่เค็มจัดและไม่หวานจัด ปรุงอาหารรับประทานเองแทนการรับประทานนอกบ้านทุกครั้ง นอกจากนี้ควรเลือกหรือจำแนกเมนูอาหารที่มีระดับโซเดียมสูง เท่านี้เราก็จะสามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้

 

การดูแลตัวเองด้วยวิธีการเลือกการรับประทานอาหาร ถือว่าเป็นหนึ่งวิธีการที่สามารถป้องกันรูปแล้วหลังที่ไม่ติดต่อต่าง ๆได้ สิ่งสำคัญคือการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง ได้แก่อาหารกลุ่มซอสปรุงรสที่มีรสเค็ม เช่นน้ำปลา ซีอิ้ว ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว หรือแม้แต่อาหารที่ใช้เกลือถนอมอาหารได้แก่อาหารตากแห้งเช่นกะปิ เต้าหู้ยี้ แหนม หรือแม้แต่อาหารปรุงต่าง ๆ เช่น ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง และยังมีอาหารที่มีโซเดียมอยู่ตามธรรมชาติได้แก่เนื้อสัตว์ต่าง ๆโดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาทะเล ทั้งนี้อาหารที่ควรรับประทานเพื่อป้องกันโรคคงามดันโลหิตสูง ได้แก่ แตงโมที่ช่วยการไหลเวียนโลหิตเลือด และช่วยคอบคุมการขยายตัวของเส้นเลือด ขึ้นฉ่ายช่วยลดความเครียดที่ก่อให้เกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน และกล้วย ช่วยสร้างสมดุลให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมและโพแทสเซียมในอัตราที่สมดุลกับการทำงานของไต น้ำมันมะกอกซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดความดัน ลดคอเลสเตอรอล ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก กระเทียม มีการต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันคอเลสเตอรอลเกาะตามผนังหลอดเลือดแดง และยังมีข้าวกล้องที่เป็นแหล่งพลังงานและกากใยที่ดีมีประโยชน์ งาดำ งาขาว มีโปรตีนที่ดี มีประโยชน์ ในการเลือกรับประทานอาหารสำหรับการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงก็ดี หรือผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก็ดี หากเราหันมาใส่ใจรับประทานอาหารมากขึ้น เลือกสิ่งที่เหมาะสมหรือสิ่งที่ไม่เหมาะสมหน่อย เราก็จะสุขภาพดี ห่างไกลจากโรคความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็จะสามารถทำให้อาการของโรคทุเลาลงได้

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว