ประเภทของผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางหลอดเลือดดำ

เมื่อในอดีต การดูแลผู้ป่วยจะอยู่ในรูปแบบที่ไม่ครอบคลุม การให้ยาจะอยู่ในวงจำกัด ผู้ป่วยหลายๆคนต้องเสียชีวิตจากโรคระบาดที่เกิดในอดีต เนื่องจากปัจจุบันวิวัฒนาการของอาหารนั้นไปไกลมาก จนคนทั่วไปไม่อาจทราบได้ว่าด้วยเรื่องการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆมีแบบใดบ้าง เช่นนั้นการให้อาหารผู้ป่วยเช่นกันก็มีหลากหลายวิธีให้เลือกตามความเหมาะสมของโรคนั้น ๆ พบว่าการให้อาหารนั้นนอกจากจะให้ทางปากได้แล้วยังพบว่าสามารถให้ทางอื่นได้อีกด้วย เนื่องจากวิธีการแพทย์พยายามหาวิธีให้อาหารกับผู้เจ็บป่วย ให้ได้รับอาหารในจำนวนที่เพียงพอความต้องการของร่างกายที่ต้องการพลังงานไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือขณะเจ็บป่วย กลับพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากรับประทานอาหารเองได้ค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายที่ต้องใช้ หรือบางรายอาจจะรับไม่ได้เลย หรือในบางรายแพทย์ก็อาจห้ามรับอาหารหรือให้อาหารผ่านเข้าสู่ทางเดินอาหารก็เป็นได้ โดยวิธีการให้อาหารมี 2 ทางที่นิยมใช้และยังพบใช้ได้ในโรงพยาบาลทั่วไป คือการให้เข้าสู่ทางเดินอาหาร นั่นคือการใส่ท่อผ่านทางรูจมูกตรงสู่กระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารส่วนต้นของลำไส้เล็กโดยวิธีการทำผ่าตัดอาหารที่ให้ควรเป็นอาหารเหลว และวิธีที่พบบ่อยอีกเช่นกันให้อาหารผ่านทางหลอดเลือดดำใต้ผิวหนังโดยใช้เข็มหรือใช้สายสวนสอดเขาใต้ผิวหนัง เพื่อที่จะให้สารอาหารหรืออาหารในรูปแบบของเหลวไหลผ่านเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด เพื่อให้ได้รับยาและสารอาหารให้ครบ ซึ่งเราจะเข้าใจว่าการให้สารละลายผ่านเส้นเลือดดำคือการให้น้ำเกลือเพื่อการรักษาหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นจากอาการป่วย แต่การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำก็สามารถให้อาหารได้เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นอาหารเช่นเดียวกับที่คนปกติรับประทานที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป คือส่วนประกอบของอาหารก็มีอยู่ 6 อย่างด้วยกัน ที่เป็นอาหารหลักคือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ วิตามิน และสิ่งสุดท้ายคือ น้ำ ซึ่งอาหารที่เราจะให้ผู้ป่วยรับประทานก็ควรประกอบด้วยอาหารหลักทั้ง 6 อย่างเช่นกัน ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดในสัดส่วนที่พอเหมาะ เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละชนิด การให้สารอาหารเสริมทางหลอดเลือดดำจะสามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้แต่วิธีการนี้ก็อาจจะมีความเสี่ยงและข้อเสียที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจ โดยจะต้องคำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา หรือขณะให้อาจจะต้องสังเกตอาการอย่างงใกล้ชิด เนื่องจากเราไม่สามารถทราบได้ว่าในกรณีผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติแพ้ยาหรือแพ้ยากลุ่มเดียวกับสารอาหารที่จะให้

 

การให้อาหารทางหลอดเลือดดำ มีความจำเป็นที่สามารถจำแนกได้ตามประเภทโรคหรืออาการของผู้ป่วยที่จะได้รับ นั่นก็คือผู้ป่วยรับอาหารเองได้น้อยหรือไม่ได้เลยเนื่องจาดภาวะความเจ็บป่วยในขณะนั้นหรือน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะพบได้เสมอกับผู้ป่วยที่สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ป่วยด้วยปัญหาทางสมองที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุรุนแรง ที่มีความจำเป็นต่อการต้องการอาหารเพื่อการรักษาตนเองค่อนข้างสูง และยังมีผู้ป่วยที่มีภาวะทุโภชนาการอยู่เดิม ซึ่งเนื่องจากการขาดอาหารโดยตรง หรืออยู่ในภาวะเจ็บป่วยจนไม่สามารถรับอาหารได้มากเพียงต่อร่างกายต้องการ และประเภทสุดท้าย ผู้ป่วยที่ไม่ควร ให้อาหารทางปากหรือทางกระเพาะลำไส้เลย ซึ่งได้แก่ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า มีการอุดตันเกิดขึ้นในทางเดินอาหาร หรือเป็นเพราะว่าการผ่าตัด เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต้องงดอาหารทางปากเป็นการชั่วคราวระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นในระหว่างที่ผู้ป่วยเหล่านี้ ต้องงดอาหารหรือไม่ได้อาหาร เหล่านี้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องให้อาหาทางหลอดเลือดตอบแทน และมีอาการเจ็บป่วยอีกประเภท คือรับประทานอาหารได้แต่ต้องการได้รับสารอาหารเพื่อเสริมสร้างร่างกายขณะเจ็บป่วย

 

เราคงได้เห็นกันแล้วว่าอาหารนั้นมีความจำเป็นต่อร่างกายมากน้อยเพียงใด ยิ่งในขณะที่ร่างกายเจ็บป่วยยิ่งจำเป็นต่อการนำสารอาหารและพลังงานไปใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอเป็นอย่างมาก การดำเนินการของโรคควรที่จะเป็นไปในทางที่ดี อีกหนึ่งตัวช่วยหลักรองลงมาจากยาคืออาหารนั่นเอง ทั้งนี้เมื่อผู้ป่วยได้กลับบ้านหรือหายจากอาการเจ็บป่วย การปรับการรับประทานอาหารที่สามารถรับประทานทางปากได้ อาจจะต้องค่อยๆปรับรับประทานอาหารที่ต้องเริ่มต้นจากาอาหารเหลวเป็นมื้อแรกของวัน และอาจจะต้องเป็นอาหารอ่อนในมื้อถัดมา 1-2 มื้อแล้วจึงให้รับประทานอาหารทั่วไปหรือปกติได้

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว