การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดด้วยอาหาร
ในการดูแลผู้ป่วย มีอยู่รักหลายขั้นตอนและวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ หรือผู้ป่วยที่พิการ ในการดูแลผู้ป่วยก็จะมีมาตรฐานเดียวกันคือ ให้ผู้ป่วยได้รับแผนการรักษาแพทย์ให้ครบถ้วน และได้รับสารอาหารเป็นไปตามที่ร่างกายต้องการเพื่อพลังงานที่ควรได้รับในการซ่อมแซมร่างกาย เนื่องจากว่าในการซ่อมแซมร่างกายนั้นจะต้องการพลังงานจากอาหาร ซึ่งสารอาหารที่จำเป็นต่อการซ่อมแซมของร่างกายหลังผ่าตัดนั้น วันนี้อาหารปั่นผสม SN เราจะมาพูดถึงหมวดหมู่อาหารที่เหมาะแก่ร่างกาย เพื่อให้เราได้เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ เพื่อให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟูอย่างถูกต้อง และไม่ได้รับผลเสียต่อร่างกาย เมื่อได้รับอาหาร เพราะการรับประทานอาหารเข้าไปนั้น มีผลต่อร่างกายของเราโดยตรง เพราะฉะนั้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ร่างกายของเราได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณภาพ และเหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย
สารอาหารต่าง ๆ เราทราบกันอยู่แล้วว่าสามารถเป็นตัวขับเคลื่อนให้แก่ร่างกาย โดยสามารถหาประโยชน์ได้จากสารอาหาร ดังนี้ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ มีส่วนสำคัญในการสร้างเซลล์และองค์ประกอบต่าง ๆ ของผิวหนัง ทำให้ผิวหนังที่สร้างขึ้นใหม่มีความแข็งแรง และยังเป็นองค์ประกอบของเซลล์และเอนไซม์ต่าง ๆ ซึ่งในระบบภูมิคุ้มกันซึ่งทำหน้าที่ทำลายสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรค ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลติดเชื้อที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังผ่าตัด และยังช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายจากการผ่าตัดได้ หากร่างกายขาดโปรตีน ก็จะติดเชื้อได้ง่าย และขาดวัตถุดิบในการสร้างผิวหนังมาปิดบาดแผล จนเกิดแผลเรื้อรังไม่หาย โปรตีนคุณภาพดีที่มีความจำเป็นต่อร่างกายในช่วงเวลาเช่นนี้ คือ โปรตีนที่มีกรดอะมิโน (Amino acid) จำเป็นครบถ้วน อย่างโปรตีนจากเนื้อปลา ควรปรุงเป็นอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้มปลา เพื่อรับประทานในช่วงแรก หากผู้ป่วยรับประทานอาหารมังสวิรัติ ก็สามารถรับโปรตีนจากธัญพืชและถั่วต่าง ๆ เช่น
- ถั่วเหลือง
- ถั่วเขียว
- ถั่วดำ
- ถั่วแดง
เพื่อให้ร่างกายได้รับกรดอะมิโน (Amino acid) ที่จำเป็นได้ เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีไขมันดี คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว นอกจากจะให้พลังงานสูงแล้ว ยังช่วยป้องกันร่างกาย สลายโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานในการสร้างและซ่อมแซมเยื้อหุ้มเซลล์ มีส่วนช่วยให้แผลสมานได้เร็วขึ้น พบมากใน
- น้ำมันมะกอก
- น้ำมันรำข้าว
- น้ำมันถั่วลิสง
- น้ำมันถั่วเหลือง
- น้ำมันงา
- ถั่วเปลือกแข็ง เช่น อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง
- และวิตามิน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
สารอาหารที่ร่างกายจำเป็นในขณะที่ร่างกายเกิดการอักเสบ และยังช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือดแดง เพื่อทดแทนเลือดที่สูญเสียไป และช่วยเรื่องความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด มีบทบาทสำคัญในการสร้างเส้นใยคอลลาเจนใต้ผิวหนัง กระตุ้น การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ดี มีส่วนช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ลดการบวมช้ำ ลองเลือกผักผลไม้พวกนี้ เช่น
- ฝรั่ง
- สตรอเบอร์รี่
- กีวี่
- ส้ม
- พริกหวาน
- มันฝรั่ง
- บร็อคโคลี่
- และผักตระกูลกะหล่ำ
นอกจากนี้ยังมี วิตามินเอ ช่วยกระตุ้นการแบ่งเซลล์ในกระบวนการสร้างผิวหนังใหม่ และควบคุมสมดุลของการเกิดการอักเสบภายในร่างกายไม่ให้น้อย หรือมากเกินไป หากขาดวิตามินเอจะส่งผลให้แผลติดเชื้อง่ายและหายช้าแหล่งของวิตามินเอพบมากในผักที่มีสีเหลือง หรือ สีส้ม เช่น แตงโม มะละกอ เป็นต้น
ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดนั้นสิ่งสำคัญนอกเหนือจากการรักษาของแพทย์การให้ยา ยังต้องมีอาหารเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเป็นตัวสนับสนุนให้แผลหายเร็วขึ้น อาหารเป็นตัวช่วยหลักสำคัญที่มีโครงสร้างของโปรตีนที่มีตัวกระตุ้นทำให้แผลหายเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นหากผู้ป่วยได้รับอาหารหรือสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการที่ร่างกายจะต้องใช้ อาจมีส่วนทำให้แผลหายช้าหรือแผลมีอาการอักเสบ ติดเชื้อได้ ติดกันช้าในที่สุด หรือสามารถทำให้เจอภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆได้มากมาย ในกรณีที่ผู้ป่วยติดเตียงหลายหลายครั้งเธอจึงต้องสั่งอาหารเหลว อาหารปั่นผสม เป็นสูตรต่าง ๆเพื่อผู้ป่วยให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน จึงทำให้เราเห็นได้แล้วว่าอาหารนั้นมีความจำเป็นต่อผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยหลังผ่าตัดได้อย่างไร หากผู้ป่วยได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายควรจะได้รับแผลจะหายเร็ว ไม่มีการอักเสบติดเชื้อไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ และการฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัดก็จะผ่านไปด้วยดี