ปัญหาที่มักพบได้บ่อยจากการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง

การให้อาหารทางสายยาง อาหารสุขภาพ เป็นการให้อาหารผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่กลืนอาหารเองไม่ได้ จึงจำเป็นต้องให้อาหารด้วยการใช้สายยางให้อาหาร ซึ่งการให้อาหารทางสายยางมักมีปัญหาและอุปสรรคมากมาย หากผู้ที่ดูแลมีความรู้พื้นฐานเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีความชำนาญ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ตั้งแต่การใส่สายยาง หากผู้ดูแลไม่มีความชำนาญหรือความรู้พื้นฐานในเรื่องของการใส่สายยางให้อาหารเข้าร่างกายผู้ป่วย อาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับความอันตรายหรือเกิดสำลักได้ หรืออาจจะทำให้เกิดแผลภายในบริเวณที่ใส่สายยาง ทำให้เลือดออกได้ หรือแม้แต่การใส่สายยางให้อาหารบริเวณหน้าท้อง ก็มีปัญหาและอุปสรรคเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครก็จะสามารถทำได้ ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง ทราบถึงวิธีแก้ไขปัญหาและวิธีป้องกันที่ถูกวิธี การใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง ถึงแม้ว่าจะมีวิธีที่ง่ายและสะดวก รวดเร็ว ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเสี่ยงต่อการผ่าตัดใหญ่ ขนาดแผลหน้าท้องจะมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ในช่วงแรกที่บาดแผลจากการผ่าตัดยังไม่หายดีผู้ดูแลจะต้องดูแลรักษาความสะอาดอย่างดี เพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือแผลอักเสบได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ๆตามมาได้ในอนาคต
สำหรับปัญหาที่มักพบได้บ่อยในการใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว การให้อาหารทางสายยางบริเวณหน้าท้องนั้น จะต้องมีการผ่าตัด ถึงแม้ว่าจะเป็นการผ่าตัดเล็กๆ แต่ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงการติดเชื้อได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ไม่ดีเท่าที่ควร การให้อาหารทางสายยางบริเวณหน้าท้อง จะเป็นการให้อาหารโดยส่งตรงไปที่กระเพาะอาหารโดยตรง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ หรือกลืนอาหารไม่ได้ วิธีการให้ทางหน้าท้องถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ปัญหาส่วนใหญ่ที่มักพบได้บ่อยคือ การอุดตันของสายยางให้อาหาร อาจจะเกิดจากการบดยาไม่ละเอียด หรืออาหารปั่นผสมมีความหนืดมากเกินไป รวมไปถึงการให้น้ำตามหลังจากการให้อาหาร หรือยาไม่ดีพอคือไม่สมดุลกันนั่นเอง ซึ่งหากเกิดการอุดตันอาจจะต้องลองใช้น้ำอุ่นค่อยๆล้างและลองดูดด้วยกระบอกให้อาหาร
ในกรณีที่ให้อาหารแบบหยดช้าๆต่อเนื่องหลายชั่วโมงควรให้น้ำอย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง และทุกครั้งที่หยุดเครื่องควบคุมการไหลของอาหาร ควรให้น้ำทุกครั้งหลังจากตรวจสอบประมาณอาหารที่เหลือในกระเพาะด้วย วิธีที่กล่าวมาคือวิธีการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ซึ่งหากแก้ไขแล้วยังไม่ดีขึ้น ต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันที ต่อมาปัญหาเรื่องของสายให้อาหารหลุด โดยปกติผู้ป่วยจะไม่สามารถดึงสายออกมาจากกระเพาะอาหารได้โดยง่าย นอกจากถูกดึงแรงๆ หากสายหลุดออกมาให้ใช้ผ้าก๊อซปิดรูแผลไว้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล และรีบไปพบแพทย์โดยนำสายให้อาหารที่หลุดออกไปด้วยโดยทันที ไม่ควรทิ้งข้ามคืน เพราะรูที่ใส่อาจปิด ทำให้ใส่สายไม่ได้ ทำให้ต้องทำการเจาะหน้าท้องใหม่
นอกจากนี้ปัญหาในเรื่องของการมีเนื้อเยื่อแดงที่แผลรูเปิด หรือ มีติ่งเนื้อ เป็นปัญหาที่พบบ่อยแต่ไม่อันตราย ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกได้บ้าง ให้เช็ดด้วยผ่าก๊อซ แล้วกดไว้ 1 – 2 วัน เลือดจะหยุดเอง สายยางให้อาหารอาจจะเกิดการรั่วซึม รอบๆสายให้อาหาร เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การอุดตันของสาย การติดเชื้่อที่แผลรูเปิด หรือ อาจเกิดจากสายที่ใช้มีขนาดเล็กกว่าแผลรูเปิดที่ทำไว้ หรือ อาจเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปแก้ไขเบื้องต้นด้วยการ ให้อาหารหยดช้าๆระหว่างให้อาหารให้นอนตะแคงขวาลงกึ่งนั่ง-กึ่งนอน หรือยกหัวเตียงประมาณ 30 -45 องศา เช็ดทำความสะอาดรอบๆรูเปิดแผล แล้วใช้ผ้าก๊อซรองไว้สำหรับดูดซับสิ่งรั่วซึม ทั้งหมดที่กล่าวมาคือ วิธีปัญหาที่ผู้ดูแลมักจะพบได้บ่อยในการให้อาหารทางสายยาง โดยการเจาะหน้าท้อง และการแก้ไขปัญหา หากยังไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์และแจ้งปัญหาให้ทราบ เพื่อทำการแก้ไขต่อไป

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว