ผู้สูงอายุเป็นโรคขาดสารอาหารได้ง่ายกว่าที่คิด
โรคขาดสารอาหาร เกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกช่วงอายุ เป็นภาวะที่ร่างกายขาดสารอาหารและอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอาจมีอาการ เช่น
- อ่อนเพลีย
- ผิวหนังมีลักษณะผิดปกติ
- กระดูกหยุดเจริญเติบโต
- หรือมีภาวะสมองเสื่อม
ซึ่งโรคขาดสารอาหารมักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารหลักอย่างโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที อาจมีอาการร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งโรคขาดสารอาหารมักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากในวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการรับประทานอาหาร ทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร หรือปัญหาทางจิตใจ โดยอาจเกิดจากภาวะซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท ซึ่งอาจส่งผลต่ออารมณ์และทำให้ความอยากอาหารลดลง รวมไปถึงสภาพร่างกาย เช่น มีฟันอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในวัยผู้สูงอายุ อาจทำให้เกิดอาการไม่อยากอาหาร เป็นต้น ซึ่งโรคขาดสารอาหารนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในวัยผู้สูงอายุที่ง่ายกว่าที่เราคิด หลายคนอาจจะคิดว่า โรคขาดสารอาหารเป็นโรคที่ไกลตัว เพียงแค่เรารับประทานอาหารให้เพียงพอ ก็ลดความเสี่ยงได้แล้ว แต่ต้องบอกเลยว่า โรคขาดสารอาหารนั้น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่ประกอบกัน ซึ่งบางรายอาจจะรับประทานอาหารได้ตามปกติแต่ก็ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ
สำหรับโภชนาการในผู้สูงอายุนั้น ต้องได้รับการดูแลให้มากเป็นพิเศษ เนื่องจากในวัยนี้ต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และต้องรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายด้วย แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวหรือปัญหาสุขภาพ การรับประทานอาหารถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เพราะอาการอาจจะกำเริบขึ้นมาได้ ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน อาจจะต้องได้รับสารอาหารที่มีน้ำตาลน้อย เพราะอาจจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในร่างกายได้ แต่ในเรื่องของสภาพจิตใจของผู้สูงอายุก็ต้องให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะจะส่งผลต่อโภชนาการของผู้ป่วย อาจจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยลง อาจจะส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ ซึ่งโภชนาการในผู้สูงอายุ เราสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหารได้ เช่น อาจจะต้องใช้วิธีการให้อาหารทางสายยาง หรือใช้อาหารทางการแพทย์ เพื่อเป็นแนวทางในการที่ให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจต้องรับประทานอาหารเสริมร่วมกับวิตามินอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมอาหารเสริมที่รับประทานเข้าไปก่อนหน้าได้ ซึ่งระยะเวลาและปริมาณในการรับประทานอาหารเสริมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการป่วยของผู้สูงอายุ
อย่างไรก็ตาม ในการป้องกันการขาดสารอาหารของผู้สูงอายุอาจจะใช้วิธีการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารว่างระหว่างมื้ออาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ให้แคลอรี่จำนวนมากแก่ร่างกาย ซึ่งหากมีอาการรุนแรงแพทย์อาจให้ผู้สูงอายุเข้าพบนักโภชนาการด้วย เพื่อวางแผนการรับประทานอาหารให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอด้วย หรือบางครั้งวิธีที่ดีที่สุดก็อาจจะใช้วิธีการให้สารอาหารผ่านทางสายยาง ซึ่งอาจให้ผู้สูงอายุรับอาหารทางสายยางเพื่อทดแทนสารอาหารที่ขาดไป โดยวิธีนี้อาจใช้กับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร การบดเคี้ยวอาหาร ซึ่งอาจทำได้โดยสอดสายยางผ่านจมูกลงไปยังกระเพาะอาหาร หรือสอดสายยางผ่านผิวหนังบริเวณกระเพาะอาหารเข้าไปยังกระเพาะอาหารโดยตรง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ในคนทั่วไปวิธีการป้องกันการขาดสารอาหาร คือ การรับประทานอาหารให้ได้สัดส่วนและครบถ้วนตามหลักโภชนาการ โดยเน้นอาหารที่มีคุณประโยชน์สูงอย่างผัก ผลไม้ หรือธัญพืชไม่ขัดสี และรับประทานอาหารจำพวกแป้งให้เพียงพอ เช่น ข้าว ขนมปัง มันฝรั่ง เป็นต้น รวมถึงเนื้อสัตว์ เนื้อปลา ไข่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมด้วย ทางอาหารปั่นผสม SNFood เราอยากให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเพื่อป้องกันการเกิดขาดสารอาหารและป้องกันการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้