ปัญหาของการให้ อาหารทางสายยาง แล้วอาหารไม่ไหลเข้าสายยาง

การให้อาหารทางสายยาง เป็นการให้อาหารในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ตามปกติ เช่น มีอาการเจ็บคอมากเวลากลืนอาหาร หรือคอมีการอักเสบที่รุนแรง มีแผลร้อนในจนทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ แพทย์มักจะให้น้ำเกลือทดแทนด้วยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้เป็นระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะต้องให้อาหารทางสายยางเพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร รวมไปถึงผู้ป่วยจะมีระบบการย่อยอาหารและระบบขับถ่ายที่ผิดปกติ เนื่องจากไม่ได้รับสารอาหาร ทั้งยังทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการซึ่งอาจจะทำให้อาการบาดเจ็บหรือภาวะการเจ็บป่วยแย่ลง สำหรับการให้อาหารทางสายยาง ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการให้อาหารทางสายยาง เนื่องจากการให้อาหารทางสายยาง มักจะมีอุปสรรคมีปัญหาขณะให้อาหารทางสายยาง ไม่ว่าจะเป็น สายยางอาจจะเกิดหลุดขณะให้อาหาร หรือมีการอุดตันของสายยางให้อาหาร ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้ป่วย เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเกิดการสำลักอาหารในขณะที่ให้อาหารได้ เพราะฉะนั้นจะต้องมีความจำเป็นที่ผู้ดูแลจะต้องมีความรู้และสามารถแก้ไขปัญหารวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม อาหารทางสายยาง หรืออาหารปั่นผสมที่จะต้องนำไปให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ จะต้องเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนคือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่และวิตามิน หากกล่าวโดยทั่วไปก็คือจะต้องได้รับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ โดยจะต้องมีปริมาณที่เหมาะสมและนักโภชนาการจะเป็นผู้คำนวณสารอาหาร ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ป่วยจะต้องได้รับคาร์โบไฮเดรต 40- 50% โปรตีน 20 – 30% ไขมัน 10-20% และเกลือแร่ วิตามิน 10% แต่ถ้าหากผู้ป่วยต้องการหรือหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท นักโภชนาการจะต้องทำการออกแบบสูตรอาหารให้แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เพราะเนื่องจากร่างกายของแต่ละคนนั้นอาจจะมีภาวะการแพ้อาหารที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการจัดหาวัตถุดิบในการปรุงอาหารอีกด้วย สามารถประยุกต์เข้ากับสูตรอาหารได้เช่นเดียวกันแต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของนักโภชนาการ รวมไปถึงจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่า ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารชนิดใดได้บ้างเพื่อให้ถูกกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ เพราะโรคบางโรค บางครั้งอาหารก็ถือว่าต้องควบคุมเป็นพิเศษ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะต้องได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลน้อยที่สุด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น สำหรับการให้อาหารทางสายยางหลายคนที่ต้องนำผู้ป่วยไปดูแลที่บ้าน อาจจะเกิดปัญหาระหว่างการให้อาหารทางสายยาง เช่น สายยางให้อาหารเกิดหลุด ในกรณีนี้จะต้องพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้ผู้ป่วยนำสายยางเข้าสู่ร่างกายเช่นเดิมห้ามกระทำด้วยตัวเอง แต่หากผู้ดูแลมีความเชี่ยวชาญและมีความรู้ในเรื่องของการใส่สายยางให้อาหารก็ต้องพิจารณาหาทางแก้ไขทันที

อย่างไรก็ตาม ปัญหาในการให้อาหารทางสายยางนั้น มีด้วยกันหลายข้อแต่วันนี้อาหารปั่นผสม SN Food จะมาพูดถึงปัญหาเกี่ยวกับการให้อาหารทางสายยางแล้วอาหารไม่ไหลเข้าสายยาง กล่าวคือ สายยางให้อาหารเกิดการอุดตันนั่นเองซึ่งการอุดตันของสายยางให้อาหาร มีด้วยกันหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นความหนืดความเหลวของอาหารปั่นผสม ที่จะนำไปให้ผู้ป่วย รวมไปถึงอาหารที่ไม่มีความละเอียด โดยอาจจะมีเศษอาหารหรือวัตถุดิบบางอย่างที่ทำให้เกิดการอุดตันของสายยางให้อาหาร เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการตรวจสอบอาหารก่อนให้ผู้ป่วยว่าอาหารมีความหนืดหรือความเหลวที่เหมาะสมกับการให้อาหารทางสายยางหรือไม่ รวมทั้งต้องตรวจสอบ อาหารปั่นผสมก่อนนำไปให้ผู้ป่วยว่ามีความละเอียดหรือสามารถไหลผ่านเข้าสู่สายยางให้อาหารได้หรือไม่ และที่สำคัญผู้ดูแลจะต้องตรวจสอบสังเกตสายยางให้อาหารว่ามีเศษอาหารตกค้างอยู่ภายในสายยางหรือไม่เพื่อป้องกันไม่ให้สายยางให้อาหารเกิดการอุดตันขณะให้อาหารแก่ผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการสำลักอาหาร ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายมากเพราะจะทำให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ เพราะฉะนั้นปัญหาในการให้อาหารทางสายยาง แล้วอาหารไม่ไหลเข้าสายยาง สามารถแก้ไขได้ด้วยการเตรียมอาหารที่มีความเหลวที่พอดีและตรวจสอบสายยางให้อาหารทุกครั้ง เพียงเท่านี้ปัญหาเหล่านี้ก็จะลดความเสี่ยงในการเกิดขึ้นขณะให้อาหารแก่ผู้ป่วยได้

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว