โรคเบาหวาน กับเกิดผลเสียต่อสุขภาพ

สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาอธิบายไว้ว่าโรคเบาหวานหมายถึงการที่มีน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงสร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดขนาดใหญ่และเล็กซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกายกระทบต่อการทำงานของอวัยวะสำคัญ ๆ และทำให้เกิดความผิดปกติดังนี้

  1. สมอง อาจทำให้เป็นสมองเสื่อมและหลอดเลือดสมองอุดตัน

2 .  ดวงตา ทำให้เบาหวานขึ้นตา  จอประสาท  ตาบวมน้ำ  ต้อกระจกต้อหิน  และก็ตาบอด

  1. ช่องปาก ได้แก่ เหงือก และอวัยวะรองรับฟันอักเสบ มีโอกาสสูญเสียฟันได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
  2. หัวใจและหลอดเลือดได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจวายเฉียบพลัน
  3. ระบบประสาท ได้แก่  รู้สึกเจ็บคัน  อ่อนแรงตามแขนขา อีกทั้งส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น รู้สึกท้องอืดท้องเสียท้องผูก
  4. ไตได้แก่โรคไตวาย
  5. ระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ ติดเชื้อบ่อย แผลหายช้า
  6. ระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ ภาวะมีบุตรยากและสมรรถภาพทางเพศ
  7. เท้า ได้แก่ เท้าเป็นแผล

กรณีแผลเรื้อรังเนื้อ  อาจต้องตัดนิ้วเท้าหรือกัดเท้า

 

งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ลงใปเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ได้ทำการศึกษาเรื่องผู้ป่วยโรคเบาหวาน สรุปผลการวิจัยจัดหมวดหมู่โรคเบาหวานออกเป็น 5 ประเภท คือ

1.เกิดจากการอักเสบของเซลล์ในตับอ่อนจึงไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ตามธรรมชาติสามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก

  1. เกิดจาก ผู้ป่วยที่ ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เองตามธรรมชาติ จึงทำให้ร่างกายได้รับอินซูลินไม่เพียงพอ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะพบผู้ป่วยประเภทนี้ประมาณร้อยละ 18
  2. ผู้ป่วยที่ร่างกาย ดื้อต่ออินซูลินหรือควบคุมอินซูลินไม่ได้ทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเซลล์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มนี้จะมีลักษณะอ้วนลงพุง น้ำหนักมากเกินไป  ไตเสื่อม  ไขมันพอกตับ  พบประมาณร้อยละ 15ของ ผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่ผิด
  3. ผู้ป่วยกลุ่มนี้ เกิดจากความอ้วนน้ำหนักเกินมาตรฐาน เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ผิด เช่น กินของหวานหรือแป้งขาวมากเกินไปไม่ได้ออกกำลังกาย พบประมาณร้อยละ 22 ของผู้ป่วยเบาหวาน
  4. กลุ่มนี้คือผู้ป่วยที่มีอายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญเสื่อมลงทำให้ระบบย่อยทำงานไม่ได้ ผู้สูงอายุมักจะเกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อยและไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงานทำให้มีปัญหาระดับน้ำตาลสะสมมากเกินไปพบได้ประมาณร้อยละ 39 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

เมื่อเรารู้ว่าเป็นโรคเบาหวานเราควรเลือกทานอาหารให้เหมาะสมโดยอาหารของผู้ป่วยนั้นแบ่งออกเป็น 3

ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 ก็คือให้หลีกเลี่ยงไม่ควรรับประทานได้แก่

-อาหารประเภทขนมหวาน อาหารที่มีน้ำตาล   เช่น  ทองหยิบ  ทองหยอด  ฝอยทอง  เค้ก  เป็นต้น

-เครื่องดื่ม  เช่น  น้ำอัดลม  น้ำแดง  น้ำเขียว  นมปรุงแต่งรถส่วนใหญ่ที่มีรสหวาน  และน้ำตาลผสมอยู่ปริมาณมาก

 

ประเภทที่ 2 อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน

– ผักใบเขียวทุกชนิด

– เครื่องเทศต่างๆ

– เครื่องปรุง  ได้แก่  มะนาว

– น้ำซุปใส(ไม่มีน้ำมัน)

– ชากาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล(ไม่ควรดื่มเกิน 2 ถ้วยต่อวัน)

 

ประเภทที่ 3 อาหารที่ควรกำหนดปริมาณในการบริโภค  หรือจำกัดจำนวน

– แป้งหรือคาร์โบไฮเดรต  มีอยู่ในอาหารประเภท  แป้ง  ข้าว  ผลไม้น้ำตาล  นม  ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็วและอ้วนได้ง่าย  ควรรับประทานตามความเหมาะสมความต้องการของร่างกาย  (เลือกข้าวซ้อมมือข้าวที่สีไม่มากนักเช่นข้าวกล้อง  เพราะจะมีวิตามินและเส้นใยมาก  และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำตาล

– เนื้อสัตว์หรือโปรตีนถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ได้รับไขมันและคอเลสเตอรอลสูงควรเลือกรับประทานเนื้อที่ไม่ติดมันและหนังเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย  เช่น เนื้อปลาเนื้อไก่  ไข่ดาว  หรือ  โปรตีนจากพืช  เช่น  เต้าหู้  งดหรือลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง  เช่นไข่แดง ไข่นกกระทา  ปลาหมึก  หอยนางรม

– ไขมัน ควรบริโภคไขมันที่มาจากพืช  เช่น  น้ำมันรำข้าว  น้ำถั่วเหลือง  น้ำมันมะกอก  น้ำมันข้าวโพด  หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์หรือไขมันอิ่มตัว  เช่น  น้ำมันปาล์ม กะทิ  เป็นต้น

-ผลไม้  เนื่องจากส่วนใหญ่มีรสหวาน  การรับประทานผลไม้  ทุกชนิดจึงต้องกำหนดปริมาณเหมาะสมคือ 1 ส่วนต่อมื้อ  หลังอาหาร  เช่น  ส้มเขียวหวาน 1 ผลมะละกอสุก 8 ชิ้นคำ

-นม  ควรดื่มนมจืดและ เป็นชนิดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนยปริมาณที่เหมาะสมวันละ 1- 2 แก้ว

 

SN  อาหารเพื่อสุขภาพ  อยากเห็นทุกคนมีสุขภาพที่ดี  ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งหมด  ในเรื่องการกินอาหารที่มีประโยชน์  และให้หลีกเลี่ยงอาหารไม่ควรรับประทาน  การพักผ่อนที่เพียงพอ  การออกกำลังกายสม่ำเสมอ   งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด  และพยายามไม่เครียด

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว