เผยประโยชน์ และโทษ ของ ข้าวโอ๊ต

ก่อนจะบอกว่าข้าวโอ๊ต (Oat) เป็นอาหารที่มีประโยชน์ และมีโทษอย่างไร  ขอเล่าความเป็นมาก่อนว่าข้าวโอ๊ตที่ปลูกในปัจจุบันพัฒนามาจากข้าวโอ๊ตแดงป่า ซึ่งเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย ข้าวโอ๊ตถูกนำไปปลูกในหลาย ๆ พื้นที่ทั่วโลกเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน ก่อนที่จะนำมาเป็นอาหารข้าวโอ๊ตถูกนำมาใช้ในการปรุงยาและรักษาอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ในเวลาต่อมาก็มีการนำข้าวโอ๊ตไปปลูกที่ยุโรปกันอย่างกว้างขวาง และได้กลายเป็นพืชเพื่อการค้าสำคัญ ข้าวโอ๊ตกลายเป็นอาหารที่สำคัญของหลาย ๆ ประเทศ เช่น สกอตแลนด์ เกรทบริเทน     เยอรมนี และประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ในต้นศตวรรษที่ 17 ชาวสก๊อตได้นำข้าวโอ๊ตติดตัวไปด้วยเมื่อพวกเขาย้ายไปต่างถิ่นฐานที่ทวีปอเมริกาเหนือ จนทำให้ข้าวโอ๊ตเป็นหนึ่งในพืชที่ได้รับความนิยมสูงสุดในดินแดนแถบนั้น ในปัจจุบันประเทศที่มีการผลิตข้าวโอ๊ตเพื่อการค้ามากที่สุดได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนีโปแลนด์ และฟินแลนด์

 

ข้าวโอ๊ตมีสารอาหารหลักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

เส้นใยอาหารช่วยลดคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ วิตามินกลุ่มบีช่วยเผาผลาญ ย่อยสลาย และดูดซึมสารอาหารที่อยู่ในตับจึงทำให้ตับแข็งแรง วิตามินอีกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดชะลอความแก่  ธาตุเหล็กจำนวนมากและในข้าวโอ๊ตช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง แคลเซียมช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

 

ข้าวโอ๊ตมีสารอาหารที่สำคัญในการขจัดสารพิษ ได้แก่

  1. เส้นใยอาหาร : ข้าวโอ๊ตอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารช่วยดูดซึมน้ำ เพิ่มปริมาณและความอ่อนตัวของอุจจาระกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เพิ่มแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย กระตุ้นให้สารพิษขับออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระในเวลาที่เหมาะสม ลดการสัมผัสระหว่างสารพิษกับผนังลำไส้นอกจากนี้ ยังลดปริมาณการดูดซึมและการก่อตัวของไขมันที่มีฤทธิ์เป็นกลางในร่างกายอีกด้วย ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและโรคอ้วน

2 บีตากลูแคน: ข้าวโอ๊ตมีบีตากลูแคน ซึ่งเป็นเส้นใยอาหารที่ละลายในน้ำชนิดหนึ่ง ช่วยลดคอเลสเตอรอลและ ลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำในเลือด(คอเลสเตอรอลเป็นโทษต่อร่างกาย) และยังดูดซึมกรดน้ำดีในลำไส้และขับออกจากร่างกายกระตุ้นให้ตับนำคอเลสเตอรอลในเลือดมาผลิตกรดน้ำดี ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด

  1. วิตามินอี: วิตามินอีในข้าวโอ๊ต ช่วยกำจัด อนุมูลอิสระที่เป็นโทษต่อร่างกายป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆและชะลอความแก่
  2. โพแทสเซียม: ช่วยขับเกลือส่วนเกินออกจากร่างกาย รักษาความสมดุลของความเป็นกรดและด่างป้องกันการสะสมของโซเดียมมากเกินไปจนทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูง ช่วยในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

 

ข้าวโอ๊ตยังเหมาะสำหรับ  คนทั่วไป วัยกลางคน และผู้สูงอายุ   และโดยเฉพาะสำหรับ

  1. ผู้มีอาการท้องผูกเป็นประจำ ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
  2. สำหรับทำเป็นอาหารเสริมสำหรับสตรีผู้ที่เพิ่งคลอดบุตร
  3. ผู้ที่มีปัญหาเรื่องกระดูกพรุนและกระดูกหักง่าย
  4. ผู้ป่วยโรคโลหิตจางหรือ ผู้กำลังรอให้แผลแห้งสมาน

แต่ข้าวโอ๊ดไม่เหมาะสำหรับ

1.ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้กลูแทน

  1. เด็กเล็กไม่ควรรับประทานเยอะ

 

นอกจากนี้ข้าวโอ๊ตยังถูกนำไปดัดแปลงเป็นอาหารเช้าหรือของหวาน อาหารที่กินคู่กันได้กับข้าวโอ๊ต แล้วได้ประโยชน์ ได้แก่

1 ข้าวโอ๊ต กินคู่กับ หน่อไม้ฝรั่ง จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมโฟเลต

ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ  การกินข้าวโอ๊ตที่มีวิตามินบี6 คู่กับหน่อไม้ฝรั่งมีโฟเลต ช่วยกระตุ้นการดูดซึมโฟเลตของร่างกาย ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็กและป้องกันโรคโลหิตจาง

2.ข้าวโอ๊ต กินคู่กับ สาหร่าย เมื่อกินร่วมกันแล้วจะทำให้สาร แอนติออกซิแดนต์ทำงานได้ดีขึ้น               ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ วิตามินเอในข้าวโอ๊ตจะจับตัวกับซีลีเนียมในสาหร่าย ส่งผลให้สารแอนติออกซิแดนต์ ทำงานได้ดีขึ้น กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายป้องกันโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง

 

ส่วนข้าวโอ๊ตไม่ควรกินคู่กับอะไรมีดังนี้คือ

1 ข้าวโอ๊ต กินคู่กับ แอปเปิล จะทำให้ขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม

ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ  เมื่อกินข้าวโอ๊ตมีแคลเซียมคู่กับแอปเปิลที่มีกรดออกซาลิก สารทั้งสองชนิดจะรวมตัวกันกลายเป็นแคลเซียมออกซาเลตที่ร่างกายดูดซึมไปใช้ยาก หากกินไนปริมาณมากติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายขาดแคลเซียมและเป็นตะคริว

2 ข้าวโอ๊ตกินกับเนื้อวัว ไม่ควรกินด้วยกันเพราะจะทำให้ขัดขวางการดูดซึมของธาตุเหล็ก

ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ     เมื่อกรดโฟติกในข้าวโอ๊ตรวมตัวกับธาตุเหล็กในเนื้อวัว จะขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กและแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ ในเนื้อวัวเข้าสู่ร่างกาย

 

แม้ว่าการกินข้าวโอ๊ตจะมีประโยชน์หลายอย่าง แต่หากกินมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดโทษได้ เช่น ท้องอืดนอกจากนี้กรดไฟติกจำนวนมากในข้าวโอ๊ตจะขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็กและแคลเซียมของร่างกายอีกด้วย ทาง SN อาหารเพื่อสุขภาพ  หวังว่าทุกท่านสามารถเลือกอาหารการกินให้เหมาะสมกับตัวท่านเองได้

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว