อาหารที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคซึม
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตที่พบได้ทั่วไปทั้งโลกโดยทำให้เกิดความคิด และพฤติกรรมในเชิงลบซึ่งผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์ โดยมีข้อแนะนำให้สังเกตอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้า โดย แพทย์หญิงจุฑาวดี หล่อตระกูล เพื่อตัวเองและคนที่คุณรักจะได้รู้ตัวกันก่อนอย่างทันท่วงที
โดยสังเกตทางด้านอารมณ์ คนที่ป่วยจะมีอาการดังนี้
- รู้สึกท้อแท้ หดหู่ เศร้า รู้สึกต้องฝืนมีความสุข
- ควบคุมอารมณ์ได้ยาก จนอดทนต่อเรื่องต่าง ๆ ลดลง หงุดหงิดง่ายขึ้น
- หมดแรงจูงใจ ทำกิจกรรมลดลง ไม่อยากทำงานอดิเรกคือสิ่งที่ชอบหมดไฟ
- เก็บตัว อยากอยู่คนเดียว แยกตัวไม่ค่อยเข้าสังคม
โดยสังเกตทางด้านอาการทางกาย
- ความอยากอาหารเปลี่ยนไป อาจเบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ และน้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่า 50% ภายใน 1 เดือน
- การนอนเปลี่ยนไป จากเดิมอาจหลับยากหลังเข้านอน ตื่นเร็วในตอนเช้าหรือนอนหลับมากเกินกว่าปกติ
- อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยง่าย ไม่ค่อยมีแรง ทำกิจกรรมใช้เวลาทำนานขึ้นแม้จะเป็นกิจกรรมง่าย ๆ
- อาการทางกายที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ปวดหัว ปวดหลัง อาการระบบทางเดินอาหาร
- ความต้องการทางเพศลดลง
ผู้ป่วยเป็นจำนวนมากหาวิธีการรักษาแบบธรรมชาติควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีอาการที่มีผลในการรักษาโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะ แต่อาหารที่พวกเขาทานอาจจะมีผลต่อการรักษาอาการของโรคได้
อาหารต้านโรคซึมเศร้า ที่จะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
- ผักใบเขียวเข้ม ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่มักขาดโฟลิกซึ่งมีอยู่มากในผักใบเขียวเข้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผักโขม โดยผักใบเขียวเข้มมีที่เราอยากแนะนำให้กินคือ ผักโขม ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักกาดเขียว ผักหวาน ตำลึง บรอกโคลี เป็นต้น
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมากและยังมีสารอาหารสำคัญอย่างวิตามินซี กรดโฟลิก โพแทสเซียม และใยอาหารช่วยสร้างภูมิต้านทาน ป้องกันโรคเรื้อรัง ลดความเสี่ยงของสภาพของภาวะสมองเสื่อมและยังช่วยลดอาการเครียดได้เป็นอย่างดี
- ปลา ปลาหลายชนิดที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 อยู่มาก ซึ่งโอเมก้า – 3 คือกรดไขมันดีที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนสะดวก สมองจึงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้จัดการความคิดได้ดีไม่เกิดความเครียดสะสม โดยปลาที่มีโอเมก้า -3 สูง ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาดุก ปลาช่อน ปลาจาระเม็ด ปลาสำลี ปลาสวาย และปลากระพงขาว เป็นต้น
4 ถั่ว เปลือกแข็งเช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ อัลมอนด์ เฮเซลนัท แมคคาเดเมีย วอลนัท และพิสตาชิโอนั้นอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงกรดไขมันจำเป็นอย่าง โอเมก้า – 3 ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และป้องกันความเครียดได้ดี ช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระฉับกระเฉงมากกว่าซึมเศร้า
- เครื่องดื่ม ได้แก่ น้ำอัญชัน และน้ำลำไย ช่วยให้อารมณ์ดี หลับดีขึ้น
อาหารที่ควรงดสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า “ห้ามรับประทาน” เนื่องจากจะซ้ำเติมอาการป่วยหรือขัดขวางการดูดซึมยา (จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)
- อาหารที่มีน้ำตาลสูงอาหารที่มีรสหวานจัด ร่างกายจะดูดซึมได้เร็วกว่าปกติส่งผลให้น้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว ร่างกายเกิดภาวะเครียดอาจจะนำไปสู่อาการหดหู่ซึมเศร้าได้ เช่น แป้งขาว หรือข้าวขาว อย่างต่อเนื่องจะมีผลต่อการทำงานของสมองผิดปกติกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
- อาหารประเภทที่ มีสารไทรามีนสูง ซึ่งเป็นพวกประเภท ยีสต์หมัก เช่น ไส้กรอก และถั่วปากอ้า มีสารไทรามีนสูง ทำปฏิกิริยากับยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด เช่น ยาเซเลจิลีน ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงได้
- ชา – กาแฟ เพราะ มีคาเฟอีนสูงทำให้นอนไม่หลับกระสับกระส่ายจะทำให้เกิดความวิตกกังวลใจสั่นและเครียดเพิ่มขึ้นหากดื่มเกิน 2 แก้วต่อวัน
- น้ำผลไม้บางชนิดเช่น ส้ม เสาวรส น้ำองุ่น เป็นต้น อาจทำให้มีปฏิกิริยากับยาที่ใช้รักษาทำให้ตัวยาไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการรักษาเท่าที่ควร
ทาง SN อาหารเพื่อสุขภาพ หวังว่าการเลือกรับประทานอาหารและงดการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ อย่างเคร่งครัดด้วยจะได้หายป่วยจากโรคซึมเศร้า