กินอาหารที่มีโซเดียมสูง ส่งผลเสียอย่างไร

กินอาหารที่มีโซเดียมสูง ส่งผลเสียอย่างไร ?

 

ในเรื่องของการรับประทานอาหาร ถือว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนเรามาก เพราะร่างกายของเราจำเป็นที่จะต้อได้รับสารอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายของเราให้สามารถใช้ชีวิตประวันต่อไปได้ และยังช่วยสร้างพลังงานให้กับร่างกายของเราด้วย ดังนั้น ในการเลือกรับประทานอาหารก็ถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะร่างกายของเราจะต้องได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ หากเราไม่เลือกรับประทานอาหาร หรือไม่รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ในระยะยาว ก็อาจจะทำให้เรามีปัญหาสุขภาพในอนาคตได้ เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารที่มุ่งหวังให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สารอาหารบางอย่างให้ทั้งคุณค่าและโทษ หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เช่น อาหารที่มีโซเดียมสูง เป็นหนึ่งในสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณของเหลวในร่างกายให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยในการทำงานของระบบประสาท และกล้ามเนื้อ ทว่าโซเดียมกลับเป็นสารอาหารที่เหมือนดาบสองคม เพราะสามารถทำลายสุขภาพได้ หากร่างกายได้รับมากหรือน้อยจนเกินไป ถ้าร่างกายได้รับโซเดียมไม่เพียงพอ อาจทำให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อผิดปกติ และอาจเกิดอาการบวมน้ำ แต่ถ้าหากรับประทานมากเกินไป แน่นอนว่าจะส่งผลเสียต่อร่างกายของเราได้ ซึ่งวันนี้ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราจะมาพูดถึงเรื่องของการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง ว่าจะมีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรได้บ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้กับคนที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด จะได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา

 

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าโซเดียมไม่ได้อยู่ในรูปแบบของเกลือหรืออาหารรสเค็มเพียงเท่านั้น แต่ยังอาจอยู่ในอาหารประเภทอื่นด้วย ซึ่งอาหารต่อไปนี้เป็นอาหารโซเดียมสูงที่หากรับประทานบ่อย ๆ ภาวะไตวายอาจมาเยือนโดยไม่รู้ตัว โดยส่วนใหญ่โซเดียมจะพบได้ในอาหารประเภท บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, เนื้อสัตว์แปรรูป, น้ำผลไม้,ขนมขบเคี้ยว,เครื่องปรุง ซึ่งจากการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคโซเดียมและความเสี่ยงที่จะมีภาวะน้ำหนักเกินในคนจำนวน 5,955 คน พบว่า คนที่บริโภคโซเดียมมากมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีภาวะน้ำหนักเกิน โดยผู้ชายจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากการรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงจะกระตุ้นให้ทางอาหารในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น หากบริโภคโซเดียมเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการแล้ว จะก่อให้เกิดการเสื่อมของไต เพราะไตทำหน้าที่ขับโซเดียม  เมื่อไตทำงานได้ลดลงจะทำให้มีการคั่งของเกลือ  มีการบวมน้ำ ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง และเกิดโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้ อย่างไรก็ตาม เราจึงควรรับประทานแต่พอดี ลดอาหารรสจัด หลีกเลี่ยงผงชูรส ลดอาหารแปรรูป ลดอาหารที่มีน้ำจิ้ม ลดการใส่เครื่องปรุงหรือซอสในอาหารที่ปรุงมาแล้ว และอ่านฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจสอบปริมาณโซเดียมเสมอ เพียงเท่านี้ความเสี่ยงโรคไตวายก็ไม่มาเยือนกันง่าย ๆ แน่นอน นอกจากนี้ ใครที่มีความกังวลใจหรือมีอาการผิดปกติที่เข้าข่ายอาการไตวายก็สามารถเข้ารับการตรวจกับแพทย์ให้แน่ชัดอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ หลักของการรับประทานอาหารที่ดีที่สุด คือ การที่เราเลือกรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ 

 

เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เพียงเท่านี้ เราก็จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บได้แล้ว และนอกจากนี้ เราควรออกกำลังกายควบคุมคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อที่เราจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่

 

ดังนั้น เราควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราอยากให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ซึ่งเน้นย้ำมาตลอดให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย และที่สำคัญควรจะหมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บด้วย ยิ่งในตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังน่าเป็นห่วง ทางที่ดีที่สุดเราควรดูแลสุขภาพ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์บ่อยๆ และสวมหน้ากากอนามัย เลือกรับประทานอาหารที่จะทำให้เราร่างกายแข็งแรง เพียงเท่านี้ก็จะช่วยทำให้เรา ห่างไกลจากโรคได้และยังช่วยทำให้มีสุขภาพที่ดีด้วย

 

บริษัท เอส เอ็น เซอร์วิส โซลูชั่น จำกัด

เราให้บริการทางอาคารแบบองค์รวม

อาทิ ช่างเทคนิค แม่บ้าน อาหาร จัดเลี้ยง

สนใจบริการติดต่อที่

เบอร์ 02-398-5600,063-207-6926

หรือ 091-461-5555

สนใจสมัครงานติดต่อที่

เบอร์ 094-865-6565 หรือ 092-258-5444

#ช่างเทคนิค #แม่บ้านรายวัน #แม่บ้านในอาคาร

#จัดเลี้ยง #ช่างแอร์ #ล้างแอร์ #ช่างไฟฟ้า

#ระบบไฟฟ้า #ระบบแอร์ #ระบบแก๊ส #อาหารผู้ป่วย

#อาหารในโรงพยาบาล #อาหารร้านสุขภาพ #อาหารทางสายยาง

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว