การกินลดความเสี่ยง โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
ในปัจจุบันนี้จะพบว่าอัตราการเกิดของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น มีงานวิจัยพบว่าพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดีอาจจะนำไปสู่สาเหตุของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ และมีรายงานการวิจัยว่าแม่ผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็สามารถที่จะลดความเสี่ยงการตายจากโรคนี้ ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค (จากหนังสืออาหารบำบัดโรค โดยอาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช)
- ด้วยการลดน้ำหนัก ข้อมูลจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่อ้วนโดยเฉพาะอ้วนลงพุงมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
ด้วยวิธีการลดอาหารไขมันสูง เช่น แกงกะทิ ของทอดกรอบ เนื้อสัตว์ติดมัน ขนมเบเกอรี่ ขนมหวาน เลือกอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ และให้คุณค่าอาหารสูง ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
2. ลดอาหารประเภทไขมันสูง เพราะ อาหารประเภทไขมันสูง จะช่วยเร่งให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตได้ดีขึ้นนอกจากนี้ยังจะทำให้อ้วน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคนี้และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ไขมันทำให้ระดับฮอร์โมนเพศสูง ทั้งนี้ระดับฮอร์โมนเพศมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากเช่นเดียวกับมะเร็งเต้านมในผู้หญิง กรดไขมันชนิดที่เป็นอันตรายต่อเซลล์มะเร็งอันดับหนึ่งคือ กรดไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ อาจจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของมะเร็ง รองลงมาก็คือไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง เช่น กรดไลโนเลอิก หรือกรดโอเมก้า -6 (น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด) กรดไขมันเหล่านี้แม้จะดีในแง่ช่วยลดคอเลสเตอรอล แต่ถ้ากินมากเกินไปอาจจะไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้
ทางตรงกันข้าม กรดไขมันโอเมก้า 3 แม้จะเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งแต่กรดไขมันก็จำเป็นที่จะให้ในการป้องกันโรคหัวใจและโรคมะเร็งได้ ส่วน ปลาน้ำจืดบางชนิดก็มีกรดโอเมก้า 3 มาก เช่น ปลาช่อน ปลาดุกด้านปลาเนื้ออ่อน ปลาสลิด ปลาหมอไทย ปลานิลปลาโอ และปลากราย
ส่วนไขมันที่นิยมบริโภค ก็คือกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ได้แก่ น้ำมันมะกอกน้ำมันเมล็ดชา น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดไขมันและยังมีผลในการป้องกันมะเร็งด้วย
3.กำจัดอาหารประเภทเนื้อแดง (เนื้อสัตว์ใหญ่)ในเนื้อแดงจะมีไขมันแทรกอยู่มาก ดังนั้นการกินเนื้อแดงมาก แม้จะเป็นเนื้อไม่ติดมันก็ทำให้ได้รับไขมันเพิ่มขึ้นด้วย มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าชายที่กินไขมันเฉลี่ยวันละ 30.5 กรัม จากแดงจะมีโอกาสตายจากมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าชายที่กินไขมันจากเนื้อแดงวันละ 3.2 กรัม ฉะนั้นถ้าผู้ชายกินเนื้อให้น้อยลงก็สามารถจะลดอาการเกิดมะเร็งและลดไขมันในเลือด ได้
- กินถั่วเหลืองแทนโปรตีนจากเนื้อแดงบ้าง งานวิจัยเบื้องต้นพบว่าโปรตีนถั่วเหลือง(เต้าหู้) แป้งถั่วเหลือง และนมถั่วเหลือง สามารถชะลอความรุนแรงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้ เพราะถั่วเหลืองจะมีฮอร์โมนพืชที่เรียกว่า”ไฟโตเอสโทรเจน” จะช่วยเพิ่มปริมาณ เอสโทรเจนในผู้ชายทำให้เกิดสมดุลในฮอร์โมนเพศชาย
- เน้นผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ (หมายถึงผักและผลไม้ ที่มีสีเขียวจัด สีแดง สีเหลือง และสีส้ม) ควรกินผักให้ได้วันละ 2 ถ้วยครึ่ง และผลไม้ 2 ถ้วยโดยเลือกชนิดสีเข้มๆและจัดให้บ่อยขึ้น
- กินมะเขือเทศให้มากขึ้น เพราะในมะเขือเทศมีสารไลโคปีน ซึ่งเป็นสารในตระกูลแคโรทีนอยด์ มีฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาอนุมูลอิสระมาก เป็น สองเท่าของสารเบต้าแคโรทีน และมีผลในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก นักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิจัยและพบผลเช่นนี้จริง นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมะเขือเทศก็ให้ผลเช่นเดียวกัน
มะเขือเทศที่ ผ่านความร้อน จะพบว่า ในการปรุงอาหารการปลดปล่อยสารไลโคปีนจะออกมาจากผนังเซลล์ได้ดีกว่ามะเขือเทศสดทำให้ร่างกายดูดซึมได้ดีกว่า เพิ่มฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็ง แต่มะเขือเทศดิบจะให้วิตามินซีมากกว่า เพราะวิตามินซีจะถูกความร้อนทำลายได้ง่าย
- กินอาหารที่มีวิตามินดีสูง เชน นม แต่แนะนำให้เลือกนมพร่องมันเนยไข่แดงปลาทะเลเห็ดหอมหรือเสริมวิตามินดี เพิ่มด้วยแสงแดด
ความเสี่ยงของโรคนี้จะเกิดกับผู้ชายจะมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก จากงานวิจัยพบว่าสาเหตุมะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ดีจึงเป็นสาเหตุต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ถึงแม้ว่าผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก็สามารถที่จะลดเสี่ยงการตายจากโรคนี้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ดังนั้น SN Food อาหารเพื่อสุขภาพขอเป็นกำลังใจช่วยผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากโดยหันมาดูแลสุขภาพด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อจะได้มีอายุยืนยาวต่อไป