คนติดรสชาติหวาน ควรระวัง
คนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ไม่ได้หมายถึงแค่ผู้ป่วยเป็นเบาหวานเท่านั้น แต่หมายรวมถึงคนชอบกินขนมหวาน ผลไม้หวาน น้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต ขนมปัง เป็นต้น รับประทานปริมาณมากเป็นประจำ เพราะคนกลุ่มนี้มีน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เกือบตลอดเวลา ทำให้เลือดเหนียวข้น เลือดไหลช้าลงนำสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ช้าลง ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อลดลง เส้นเลือดฝอยตีบตันได้ง่าย ส่งผลให้หลอดเลือดและอวัยวะเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ไม่ต่างจากคนที่เป็นเบาหวานสักเท่าไหร่
(จากหนังสือสุขภาพดี อายุยืน คุณทำเองได้)
ที่สำคัญที่สุดก็คือ แม้ว่าการกินหวานกินคาร์โบไฮเดรตมาก จะไม่ได้ทำให้เป็นโรคเบาหวานโดยตรงไม่ได้ทำให้เป็นโรคเบาหวานโดยตรง แต่การที่ร่างกายได้รับน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตมากเกินเป็นประจำ ตับอ่อนก็จะทำงานหนักในการผลิตอินซูลิน เมื่อรวมกับผลจากการมีน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหลอดเลือดที่ตับอ่อนและตัวตับอ่อนเอง ก็จะเสื่อมอย่างรวดเร็ว สุดท้ายก็จะกลายเป็นเบาหวานอยู่ดี
นอกจากนี้คนที่ชอบกินอาหารหวานก็จะมีความเสี่ยงเป็น โรคมะเร็งตับอ่อน ด้วยเพราะตับอ่อนจะต้องทำงานหนักในการผลิตอินซูลิน มีผลสรุปว่าผู้ที่ชอบกินอาหารที่ใส่น้ำตาล เช่น ชา กาแฟ ธัญญาหารวันละ 5-6 มื้อ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งตับอ่อน มากกว่าคนที่ไม่ใส่น้ำตาลถึง 69% ในขณะที่ผู้ชอบดื่มน้ำอัดลมวันละ 2 หน หรือมากกว่านั้นมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับอ่อนมากกว่าคนที่ไม่ดื่มถึง 93% ผู้ที่ชอบกินผลไม้หวาน ๆ ผลไม้กวนก็เสียงมากกว่าคนปกติ 51%
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่ชอบกินคาร์โบไฮเดรตกินหวานบ่อยๆความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกายจะเสียไป ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคในร่างกายลดต่ำลง ผลที่ตามมาก็คือทำให้ติดเชื้อง่าย
อีกทั้งการกินน้ำตาลซูโครส(น้ำตาลทราย น้ำหวาน )มาก จะทำให้กรดอะมิโนมีชื่อว่าทริปโตฟาน ถูกเร่งเข้าสู่สมองมากเกินไปทำให้เสียสมดุลของฮอร์โมนในสมอง ส่งผลให้เกิดอาการเซื่องซึม เหนื่อย ไม่กระฉับกระเฉง ซึ่งหากเป็นเด็กจะทำให้เรียนไม่รู้เรื่องและหากเป็นวัยทำงานก็ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
ส่วนผู้ที่กินหวานหรือคาร์โบไฮเดรตมากๆ หรืออาหารที่สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้เร็ว จนระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินจำนวนมากิ เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว ระดับน้ำตาลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ จะทำให้สมองและระบบประสาททํางานผิดเพี้ยนไป จนมีอาการหงุดหงิด หิวโซ ใจสั่น ไม่มีแรง
นอกจากนี้หากเรากินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปจะทำให้มีน้ำตาลส่วนเกินในเลือดมากเกินความต้องการ ร่างกายก็จะมีการเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นไขมันสะสม ทำให้อ้วนขึ้น และน้ำตาลส่วนเกินนั้นยังจับโปรตีนในร่างกาย ทำให้หลอดเลือดมีโอกาสอักเสบและอุดตันได้ การกินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปจึงสามารถส่งผลร้ายต่อโรคไขมันในเลือด และโรคหัวใจได้อีกด้วย
สัญญาณที่บอกว่า เรา ติดหวาน หรือไม่ มีลักษณะดังนี้
- รู้สึกอยากกินของหวานทั้งวันโดยเฉพาะหลังมื้ออาหาร
2 . อยากกินแป้งในตอนเช้าและตอนดึกๆในปริมาณที่มากกว่าปกติ
- เริ่มมีปัญหาเครียดสะสมหงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
- ติดกาแฟ ติดน้ำตาล และติดแอลกอฮอล์ รวมถึงเครื่องดื่มทุกอย่างต้องใส่น้ำตาลในปริมาณมาก
กองโภชนาการ กรมอนามัย ได้มีการแนะนำปริมาณน้ำตาลที่พอเหมาะสมต่อวันดังนี้
เด็กอายุ 6 – 13 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา
วัยรุ่นหญิงและชาย อายุ 14- 25 ปี ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชา
ผู้ชายทำงาน อายุ 25- 60ปีควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน6 ช้อนชา
ผู้หญิงวัยทำงาน อายุ 25- 60ปีควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน4 ช้อนชา
ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 4 ช้อนชา
คนที่ใช้พลังงานมาก อย่างเช่น เกษตรกร นักกีฬา อายุ 25- 60ปีควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 8 ช้อนชา
ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพขอแนะนำว่าให้รับประทานน้ำตาลแต่พอเหมาะสม น้ำตาลถึงแม้จะมีรสชาติหวาน แต่รู้หรือไม่ว่าน้ำตาลถึงแม้จะมีรสหวานและให้พลังงานแก่เราได้บางส่วนก็ตาม แต่ก็ส่งผลร้ายได้มากมายจนคาดไม่ถึง มีผลกระทบต่อสุขภาพและโรคตามมาอีกมายมาย เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ความดันเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน ฟันผุ ปวดท้อง ท้องอืด ผิวแก่ก่อนวัย ซึ่งไมดีต่อสุขภาพเลยแม้แต่น้อย