ถ้าไม่รับประทานผัก จะส่งผลต่อร่างกายอย่างไร

การรับประทานผักและผลไม้ หลายคนทราบดีอยู่แล้วว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และยังดีต่อระบบขับถ่ายของเราอีกด้วย แต่หลายคนก็ไม่ชอบรับประทานผัก  โดยเฉพาะในเด็ก การรับประทานผักผลไม้น้อยทำให้สุขภาพเด็กแย่ลง ที่เห็นชัดเจนคืออาจจะเป็นหวัดบ่อย ติดเชื้อง่าย เจ็บคอ อาการเหล่านี้สามารถป้องกันง่ายๆด้วยการเพิ่มภูมิต้านทานให้กับเด็กๆ โดยการรับประทานผักผลไม้เพิ่มมากขึ้น เพราะร่างกายของเราจะได้รับทั้งวิตามิน เกลือแร่จากผักผลไม้ ได้รับเส้นใยอาหารที่ช่วยจับไขมันและสารพิษต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรง เช่นมะเร็ง ออกไปจากร่างกาย และช่วยให้ระบบขับถ่ายดี ไม่เป็นโรคท้องผูกด้วย ซึ่งผัก สามารถนำไปประยุกต์เป็นเมนูเพื่อสุขภาพได้หลากหลายเมนู ทำให้รับประทานได้ง่ายขึ้น ในกลุ่มคนที่ไม่ชอบรับประทานผัก ไม่ว่าจะเป็น เมนูสุกี้ หรือผักลวกต่างๆ ก็ถือว่าอร่อยไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะได้รับสารอาหารจากผัก ผลไม้ที่เรารับประทานเข้าไปแล้ว ยังทำให้มีรสชาติอร่อยขึ้นด้วย แต่คุณทราบหรือไม่ว่า การที่เราไม่รับประทานผักและผลไม้นั้น ส่งผลเสียต่อร่างกายได้มากกว่าที่เราคิด เพราะฉะนั้น เราไม่ควรมองข้าม และควรที่จะรับประทานผักบ้างเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

 

สำหรับผักนั้น ดีต่อสุขภาพและเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ และผักเป็นแหล่งอาหารที่ให้พลังงานต่ำ และเป็นแหล่งสำคัญของวิตามินและเกลือแร่หลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ใยอาหาร สารต้านอนุมูล อิสระ เป็นต้น การรับประทานผักและผลไม้ เป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ได้อย่างดีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนไทย แนะนำให้รับประทานผักวันละ 4 -6 ถ้วยตวง หรือ 4 -6 ทัพพี เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายของเราได้รับพลังงานและสารอาหารครบถ้วนที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยสำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี ได้แก่ เด็ก ควรรับประทานผัก วันละ 4 ถ้วยตวงหรือ 4 ทัพพี และในผู้หญิงวัยทำงานและผู้สูงอายุ ควรรับประทานผักวันละ 6 ถ้วยตวงหรือ 6 ทัพพี สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี ได้แก่ วัยรุ่นและผู้ชายวันทำงาน ควรรับประทานผักวันละ 5 ถ้วยตวง หรือ 5 ทัพที ซึ่งจะถือว่าได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ทั้งยัง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ถ้าหากร่างกาย ไม่ได้รับสารอาหารที่มาจากผักเลย หรือเราไม่ได้รับประทานผักเลย ก็อาจทำให้ร่างกายขาดวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคไม่ดี ติดเชื้อได้ง่าย วิตามินและเกลือแร่จะช่วยในเรื่องของกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยเรื่องการทำงานของระบบประสาทและสมอง ควบคุมการการเวียนของน้ำในร่างกายในสมดุล สรุปคือหากไม่กินผักและผลไม้เลย กระบวนการเจริญเติบโตของร่างกายและจิตใจจะไม่แข็งแรงสมบูรณ์

 

แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผัก จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายๆด้าน แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่ต้องรับประทานผักอย่างระมัดระวังเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เนื่องจากผักสด 1 ถ้วยตวง จะมีน้ำอยู่ประมาณ 7.4-124.4 กรัม โดยมะเขือเทศมีปริมาณน้ำมากที่สุด รองลงมาได้แก่ แตงกวา มะเขือเปราะ ฟักเขียว เป็นต้น สำหรับผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณน้ำที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต อาจต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำเมื่อบริโภคผักเหล่านี้ด้วย ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหาร และที่สำคัญจะต้องเอาใจใส่ในเรื่องของอาหารการกินให้มาก ยิ่งในกลุ่มผู้ที่มีภาวะร่างกายที่มีความผิดปกติ เช่น ในผู้ป่วยที่มีอาการไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ร่างกายไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกทางปัสสาวะได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องจำกัดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง สำหรับผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง ทั้งนี้ SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราอยากให้ทุกคนระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ และควรที่หันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพ ด้วยการรับประทานผักในแต่ละมื้อให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้มีภูมิคุ้มกันและมีระบบขับถ่ายที่เป็นปกติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ด้วย

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว