อาหารมื้อเช้า สำคัญขาดไม่ได้

อาหารมื้อเช้าดีต่อสุขภาพ  การรับประทานอาหารเช้าเป็นการเติมพลังงานให้กับร่างกาย  เนื่องจากพลังที่ร่างกายจะได้มาจากการย่อยสลายอาหารประเภท   คาร์โบไฮเดรตให้อยู่ในรูปของน้ำตาลหรือกลูโดส (Glucose)ไว้ในเลือดเป็นหลัก และบางส่วนถูกเก็บเป็นพลังงานสำรองที่เรียกว่าไกลโคเจน(Glycogen)ตามกล้ามเนื้อและตับ ในขณะหลับร่างกายจะไม่ได้พลังงานจากสารอาหารที่รับประทานอาหาร จึงต้องดึงไกลโคเจนออกมาใช้ตลอดคืน เพื่อช่วยคงระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ต่ำจนเกินไป

หลังการนอนเป็นเวลานานร่างกายจึงมีระดับไกลโคเจนที่เป็นแหล่งพลังงานสำรองถูกนำไปใช้จนหมด   ร่างกายจึงเริ่มสลายกรดไขมัน เพื่อนำไปเป็นพลังงานแทนชั่วคราวซึ่งไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการใช้เป็นพลังงาน จึงทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนแรง  ส่งผลต่อการเรียนรู้ หรือการทำงานได้ไม่เต็มที่

ดังนั้น การเริ่มต้นในวันใหม่ ควรรับประทานอาหารเช้าตามหลักโภชนาการจะช่วยให้ได้รับสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นในแต่ละวันอย่างครบถ้วน ด้วยการเลือกอาหารเช้าที่อุดมไปด้วยธัญพืช ไฟเบอร์ และโปรตีน แต่มีระดับน้ำตาลพอเหมาะจะช่วยกระตุ้นสมองให้พร้อมการเรียนรู้

อาหารเช้าที่ควรเลือกรับประทาน ได้แก่

  1. คาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าวกล้อง ซีเรียลธัญพืช เป็นต้น
  2. ผักและผลไม้

3.โปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่นไข่  ถั่ว

  1. นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ เช่น นมพร่องขาดมันเนย โยเกริ์ต หรือชีสไขมันต่ำ

 

การที่คนเราไม่รับประทานอาหารเช้าเนื่องจากเวลาเร่งรีบทำให้บางวันหรือเกือบทุกวันไม่ได้รับประทานอาหารเช้า   และบางคนการไม่รับประทานอาหารเช้าเพราะต้องการลดความอ้วน นั่นเป็นความคิดที่ผิดอย่างมาก   เนื่องด้วยผลจากการวิจัย ถ้าคนไม่รับประทานอาหารเช้าอาจมีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น  อันเป็นผลมาจากการสั่งการของสมอง ซึ่งจะสั่งให้ทานอาหารเพิ่มขึ้นในมื้อถัดไป    และผลเสียอีกตามมาคือถ้าคนที่ไม่รับประทานอาหารเช้าจะเกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้ ( จากหนังสือ สุขภาพดี อายุยืน คุณทำเองได้)

  1. โรคอ้วน การประชุมประจำปีของสมคมแพทย์หัวใจ (American Heart Association) มีการเสนอผลการวิจัยชื่อว่า CARDIA Studyที่พบว่า  อัตราการเกิดโรคที่เรียกว่า  ภาวะดื้อต่ออินซูลินที่ทำให้อ้วนได้ และยังพบว่าคนที่เป็นโรคเบาหวานมีอัตราลดลงสำหรับผู้ที่รับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมอถึง 35 – 50  เปอร์เซ็น   เมื่อเทียบกับผู้ไม่รับประทานอาหารเช้า

และคนที่ไม่รับประทานอาหารเช้า สมองจะหลั่งสารนิวโรเพปไทด์  วาย  (Neuropeptide Y )ซึ่งจะมีผลทำให้เรากินเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว     ส่งผลให้กินจุบกินจิบทั้งวัน  และทำให้กินอาหารมื้ออื่นเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ทำให้เกิดโอกาสอ้วนขึ้นได้ไม่ยาก

  1. โรคอัลไซเมอร์ คือโรคอาการขั้นต้นจะเหมือนสมองเสื่อมอย่างคนแก่ แต่ขั้นสุดท้ายของอัลไซเมอร์คือ จะไม่รับรู้อะไรเลย อาการของโรคอัลไซเมอร์สามารถเริ่มต้นอายุยังน้อย เพียง 35 ปี ก็เป็นกันได้เสียแล้ว ซึ่งไม่ใช่เป็นเฉพาะคนแก่ เท่านั้นที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์      ถ้าเราไม่ได้รับประทานอาหารเช้า จะทำให้สมองขาดอาหาร ส่งผลให้มีโอกาสเป็นหลง ๆ ลืม ๆ ตั้งแต่อายุยังน้อยได้ และก็จะมีโอกาสเป็นอัลไซเมอร์ได้มากขึ้น
  2. ร่างกายทรุดโทรม เมื่อร่างกายไม่ได้รับพลังงานจากอาหารเช้า ทำให้ร่างกายไปดึงสารอาหารจากอวัยวะส่วนอื่นออกมา   ซึ่งภายใต้กระบวนการนี้จะเกิดกรดชนิดหนึ่งออกมาด้วย      และเมื่อร่างกายต้องผลิตกรดออกมาบ่อย ๆ พออายุมากขึ้นเราก็จะมีโรคตามมาหลายอย่าง เช่น  มะเร็ง   หัวใจ
  3. หงุดหงิดและอารมณ์เสียง่าย อ่อนเพลีย เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วไม่รับประทานอาหารเช้า ร่างกายก็จะไปดึงพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่สะสมไว้ในตับ เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ   แต่เมื่อไหร่ที่พลังงานส่วนนี้ถูกใช้ไปจนหมด จะทำให้รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสียง่าย และอ่อนเพลีย ส่วนผู้ที่รับประทานอาหารเช้าจะมีพลังงานในการทำงานได้นานมากกว่า     และในตอนกลางวันจะรู้สึกอ่อนหล้าได้น้อยกว่า
  4. สมองทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร มีงานวิจัยหลายเรื่องที่ระบุว่า การรับประทานอาหารเช้ามีผลต่อการเรียนของนักเรียน และ นักศึกษาด้วย   เพราะถ้าสมองรับสารอาหารไม่เพียงพอ    สมองจะไม่รับรู้และไม่มีสมาธิในการเรียน   ดังนั้นเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพออาจจะทำให้ไอคิวต่ำและร่างกายไม่แข็งแรงได้    ส่วนคนที่ทำงาน ก็จะทำให้ทำงานได้ลดลงไม่มีประสิทธิภาพเช่นกัน   ดังนั้นควรที่จะรับประทานอาหารเช้าทุกวัน

ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  ทาง SN Food  อาหารเพื่อสุขภาพ   ขอให้ทุกคนได้ตระหนัก ถึงความสำคัญของอาหารมื้อเช้า และควรรับประทานอาหารเช้าทุก ๆ วัน  โดยรับประทานอาหารให้ครบ 7 หมู่   ( อาหาร 5 หมู่ รวม กับ  น้ำ และ ใยอาหาร) เพื่อสุขภาพกาย   และสุขภาพจิตที่ดีของตัวเราและคนในครอบครัว

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว