อาหารประเภทใดบ้างที่มีผลต่อระดับโพแทสเซียม

โพแทสเซียม เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน และควบคุมความดันโลหิตที่สูง ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย แต่สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ก็ต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เพราะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมจะลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือดได้ ถึงแม้ว่าโพแทสเซียมจะมีบทบาทต่อการทำงานของร่างกายหลายอย่าง รวมไปถึงกระบวนการส่งสัญญาณประสาท การบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยปรับสมดุลของเหลวร่างกาย, และอยู่ในปฏิกิริยาทางเคมีมากมาย แต่การใช้และประสิทธิภาพของโพแทสเซียมผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง อาจจะต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ควรเอาใส่ใจในการเลือกรับประทานผักและผลไม้ ซึ่งเป็นกลุ่มอาหารหลักที่มีผลต่อแร่ธาตุโพแทสเซียมในเลือด การเลือกรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ จะช่วยลดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด และมีส่วนช่วยในการรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย

 

ซึ่งระดับโพแทสเซียมในร่างกายจะส่งผลต่อร่างกายของเรา ระดับโพแทสเซียมปกติในเลือด จะอยู่ในช่วง 3.5-5.0 mEq/L แต่ถ้าหากระดับโพแทสเซียมต่ำในเลือดน้อยกว่า 3.5 mEq/L อาจทำให้มีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร และตะคริวได้ และถ้าระดับโพแทสเซียมสูงในเลือดมากกว่า 5.0 mEq/L อาจเกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ เพราะฉะนั้น เราจะต้องควบคุมระดับโพแทสเซียมในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรเลือกรับประทานให้เหมาะสมต่อร่างกาย สำหรับอาหารที่ผลต่อระดับโพแทสเซียมในร่างกายก็มีด้วยกันหลากหลายชนิด กลุ่มอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง กลุ่มผักสีเข้ม ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง กลุ่มอาหารที่มีโพแทสเซียมปานกลาง ได้แก่ สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู ฝักอ่อน พริกหวาน และอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ กลุ่มผักสีซีด ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา ซึ่งเราควรเลือกรับประทานให้เหมาะสมกับร่างกาย

 

อย่างไรก็ตาม การจำกัดผักและผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ เราก็ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ก็ควรปรับการรับประทานผักและผลไม้ ถ้าหากระดับโพแทสเซียมอยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรรับประทานผักและผลไม้หมุนเวียนกันไป แต่ถ้าหากระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ ก็ควรงดผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง และควรหันมารับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมระดับต่ำ-ปานกลาง และถ้าหากมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมาก ควรงดรับประทานผลไม้ทุกชนิด และหันมารับประทานผักที่มีโพแทสเซียมต่ำแทน ถึงแม้ว่าโพแทสเซียมจะถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมากเมื่อรับประทานในปริมาณที่สูง แต่บางคนอาจมีอาการผิดปกติจากโพแทสเซียม อย่างเช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องร่วง อาเจียน หรือแก๊สในลำไส้ ดังนั้น การรับประทานโพแทสเซียมที่มากจนเกินไป จะถูกจัดว่าไม่ปลอดภัยและอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อน อ่อนแรง อัมพาต ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมด้วยตัวเอง ต้องมีแพทย์คอยให้คำปรึกษา เพราะอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ทาง SN Food อาหารเพื่อสุขภาพ เราเน้นย้ำมาตลอดให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย และที่สำคัญควรจะหมั่นออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บด้วย

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว