อาหารที่เหมาะสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะ
โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคสำคัญ และพบได้บ่อยโดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานซึ่งต้องเร่งรีบกับเวลา ทำให้รับประทานอาหารไม่ตรงต่อเวลาส่งผลให้สุขภาพแย่ลงและปัญหาทางสุขภาพที่พบได้บ่อยคือการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะถ้าได้รับการรักษาและดูแลตนเองให้ถูกต้องส่วนใหญ่เป็นแล้วก็จะหาย ดังนั้นผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ถั่วลิสง วิตามินอีในถั่วลิสงช่วยลดการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร เป็นการลดภาระของกระเพาะ
ถั่วลิสงมีสารอาหารดังต่อไปนี้ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินกลุ่มบี วิตามินอี โพแทสเซียมแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สังกะสี
ถั่วลิสง มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ บรรเทาอาการท้องเสีย
- กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีมีวิตามินยูและวิตามินเค ช่วยบำรุงและซ่อมแซมเยื่อบุของกระเพาะอาหารช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคกระเพาะทุกประเภท
กะหล่ำปลีมีสารอาหารดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินซี วิตามินเค วิตามินยู โพแทสเซียม แคลเซียม
กะหล่ำปลี มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ป้องกันมะเร็งลำไส้
- กวางตุ้งฮ่องเต้ แคลเซียมในกวางตุ้งฮ่องเต้ช่วยสร้างอุจจาระ ช่วยชดเชยแคลเซียมที่สูญเสียไปขณะท้องเสีย ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียเรื้อรัง
กวางตุ้งฮ่องเต้ มีสารอาหารได้แก่ เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก
กวางตุ้งฮ่องเต้ มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารหายเร็วขึ้น
- หัวไช้เท้า หัวไช้เท้าอุดมไปด้วยเอนไซม์ย่อยอาหาร ช่วยย่อยอาหารช่วยบรรเทาอาการปั่นป่วนของกระเพาะและลำไส้ที่เกิดจากกินมากเกินไป
หัวไช้เท้า มีสารอาหารดังต่อไปนี้ เส้นใยอาหาร วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม
หัวไชเท้า มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ชดเชยโพแทสเซียมที่สูญเสียไป ขณะท้องเสีย ลดแก๊สในกระเพาะอาหาร
- ฮ่วยซัว มิวโคโปรตีนในฮ่วยซัวช่วยปกป้องเยื่อเมือกและ ผนังกระเพาะอาหาร
ฮ่วยซัวมีสารอาหารดังต่อไปนี้ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินกลุ่มบี วิตามินเค โพแทสเซียม
ฮ่วยซัว มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ บำรุงกระเพาะอาหารและลำไส้ทำให้มีเรี่ยวแรงจากอาการท้องเสีย
- หอมหัวใหญ่ สาเมอร์แคปแทน(mercaptan) ที่อยู่ในหอมหัวใหญ่จะช่วยบำรุงรักษา เยื่อบุกระเพาะอาหาร ปรับสภาพของกระเพาะอาหารมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคกระเพาะ
หอมหัวใหญ่มีสารอาหารดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินกลุ่มบี โพแทสเซียม แคลเซียม ซีลีเนียม การประกอบซัลเฟอร์ สารฟลาโวนอยด์
หอมหัวใหญ่ มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ชดเชยแคลเซียมที่สูญเสียไปในขณะท้องเสีย
- ว่านหางจระเข้ ของเหลวในว่านหางจระเข้จะห่อหุ้มเยื่อบุกระเพาะอาหารที่เป็นแผลเอาไว้ บรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร
ว่านหางจระเข้มีสารอาหารดังต่อไปนี้ เส้นใยอาหาร วิตามินเอ กรดนิโคทินิก (วิตามินบี3) โพแทสเซียมแคลเซียม ธาตุเหล็ก
ว่านหางจระเข้ มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ว่านหางจระเข้ในวุ้นใส ออกฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนออกฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ลดอาการท้องผูกได้มีฤทธิ์ในการสมานแผลรักษาอาการผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการฉายรังสี
- มะม่วงวิตามินเอในมะม่วงช่วยรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
มะม่วงมีสารอาหารดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินซี โฟเลต กรดนิโคทินิก (วิตามินบี 3) โพแทสเซียม
มะม่วงมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- ถั่วลิสง อาการท้องเสียมักทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายไม่เพียงพอ แก้ได้โดยการกินถั่วลิสงที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม เพื่อรักษาสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
ถั่วลิสงมีสารอาหารดังต่อไปนี้ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินกลุ่มบี โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก
ถั่วลิสงมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ชดเชยแคลเซียมที่สูญไปขณะท้องเสีย
- ปลาทูน่า ปลาทูน่าอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร มีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ปลาทูน่ามีสารอาหารดังต่อไปนี้ โปรตีน กรดไขมันโอเมกา3 วิตามินกลุ่มบี วิตามินอี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ซีลีเนียม
ปลาทูน่ามีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ชดเชย โพแทสเซียมที่สูญเสียไปขณะท้องเสีย
อาหาร คือสิ่งสำคัญควรเอาใจใส่ในเรื่องการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยเฉพาะอาหาร 10 ชนิดที่กล่าวข้างต้น และรับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของมันของทอด หลีกเลี่ยงการเข้านอนหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ การงดดื่มแอลกอฮอล์ การงดสูบบุหรี่ และหมั่นการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมน้ำหนักทั้งหมดนี้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเป็นการรักษาสำคัญที่ทำให้โอกาสหายขาดจากโรคกระเพาะอาหารได้ ด้วยความปรารถนาดีจาก SN อาหารเพื่อสุขภาพ