อาการ พีเอ็มเอส ก่อนมีประจำเดือน ของผู้หญิง สามารถแก้ไขได้ด้วยอาหาร

พีเอ็มเอส หรือ  PMS หรือย่อมาจาก  Premenstrual  Syndrome)เป็นอาการที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิงในช่วงอายุ 20 – 40 ปี   จะมีอาการเหมือนคนป่วย  ไม่สบายตัว  มีอารมณ์หงุดหงิด โดยมากมักจะมีการแบบนี้ในช่วงก่อนมีประจำเดือนประมาณ5-11 วัน และจะเริ่มดีขึ้นในช่วงหลังมีประจำเดือนแล้ว 4 – 7 วัน อาการที่จะพบบ่อย ๆ คือ ปวดหัว หงุดหงิด  บวมน้ำ  เจ็บคัดเต้านม  รวมทั้งอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ที่มีความสุขอาจจะเปลี่ยนเป็นอารมณ์เศร้าได้ อาการดังกล่าวเป็นอาการเกิดขึ้นช่วงสั้น ๆ  ภายใต้อิทธิพลการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของผู้หญิง

แต่ถ้ารู้จักวิธีบริโภคอาหารให้ถูกต้อง  สามารถที่จะป้องกันไม่ให้เกิดอาการเหล่านั้นได้

 

อาหารต้านการปวดประจำเดือนของผู้หญิง (จากหนังสืออาหารบำบัดโรค) โดยอาจารย์ศัลยา  คงสมบุรณ์เวช

โดยทั่วไปการบริโภคอาหารไม่ถูกต้องจะเพิ่มความเสี่ยงอาการ  พีเอ็มเอส  ผู้หญิงที่มีอาการ พีเอ็มเอส  มักมีนิสัยมการบริโภคผิดๆ เช่น ชอบกินอาหาร ๆ กินแป้งมาก  มีผลทำให้ได้รับวิตามินบีและแร่ธาตุน้อยลง  เช่น   ธาตุเหล็ก แมงกานีส และสังกระสี ดังนั้นการเสริมวิตามินแร่ธาตุรวมวันละเม็ด  อาจช่วยลดอาการพีเอ็มเอสได้

 

มีข้อแนะนำในการป้องกันและลดอาการ พีเอ็มเอส

คือกินอาหารเป็นเวลา 3 มื้อ   ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง  อาจจะเป็นอาหารว่างในปริมาณน้อย ๆ ระหว่างมื้อได้  โดยที่อาหารควรมีส่วนผสมของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตด้วย

 

เลี่ยงน้ำตาลและของหวาน  การอยากกินของหวานๆ ในช่วงที่มีอาการปวดพีเอ็มเอส  อาจเนื่องมาจากการแกว่งของระดับน้ำตาลและฮอร์โมนอินซูลินในเลือดช่วงที่มีประจำเดือน

ดังนั้นผู้หญิงที่มีอาการปวดพีเอ็มเอส  ควรเลือกอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนซึ่งย่อยช้ากว่า เช่นข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮมวีต  เผือก มัน ฟักทอง  ข้าวโพดหรือแครกเกอร์  จะช่วยลดอาการอยากของหวานและทำให้อารมณ์ดีขึ้น

 

เลี่ยงกรดไขมันอิ่มตัวสูง  ซึ่งมีมากในสัตว์บก  นมไขมันเต็ม  เนย  กะทิกรดไขมันชนิดนี้มีผลในการเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนในเลือดและกระตุ้นให้เกิดอาการพีเอ็มเอส  ก่อนมีประจำเดือน จึงควรกินอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำแทน  เช่น ปลา  ถั่ว  ธัญพืชไม่ขัดสี   รวมทั้งอาหารที่มีกากใยสูง   เช่น  ผัก   ผลไม้  ก็จะช่วยลดอาการปวด พีเอ็มเอส  ได้

 

เลือกกรดไขมันไลโนเลอิก  ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็น  ช่วยปรับระดับสารคล้ายฮอร์โมนที่ชื่อว่าพรอสตาแกลนดิน  จะช่วยลดอาการบวมน้ำ  คัดหน้าอกได้  กรดไขมันชนิดนี้มีมากในน้ำมันถั่วเหลือง  น้ำมันดอกคำฝอย   คุณแม่บ้านอาจจะใช้น้ำมันพืชดังกล่าววันละ 2 ช้อนโต๊ะ  และการปรุงอาหารหรือหรือทำน้ำสลัด  ระวังอย่าให้มากเกินไป  เพราะว่าจะทำให้น้ำหนักเพิ่มได้

 

เครื่องเครื่องดื่มกาแฟอีน  สารกาเฟอีนจะกระตุ้นให้หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย  โกรธง่าย  และกระวนกระวายใจ   ผู้หญิงที่มีปัญหาอาการพีเอ็มเอส  ช่วงก่อนมีประจำเดือนจึงควรหันมาดื่มชาสมุนไพรที่ไม่มีกาแฟอีนแทนกาแฟหรือชาอารมณ์ ที่ขึ้นๆลงๆจะสงบลงได้

 

เลี่ยงอาหารรสจัดเค็ม  อาหารหมักดองหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง  เพราะอาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง  จะทำให้ร่างกายเก็บน้ำไว้มากขึ้น   และทำให้บวมน้ำได้

 

กินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่และหลากหลาย  เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน  ถึงแม้ผู้หญิงจะมีอาการพีเอ็มเอส  จะกินอาหารมากขึ้น  นั่นก็หมายถึงว่าได้แคลอรี่มากขึ้นด้วย    แต่กลับได้รับวิตามินและแร่ธาตุอาหารลดลง   วิตามินหลาย ๆ ชนิดที่เกี่ยวข้องกับอาการพีเอ็มเอส  เช่น  วิตามินเอ   วิตามินบี 6  แมกนีเซี่ยม  และสังกะสี  สามารถลดอาการพีเอ็มเอส ได้   แต่ก็ไม่เสมอไปกับผู้หญิงทุกคน  เพราะอาการพีเอ็มเอส  อาจมีปัญหาด้านจิตสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

 

วิตามินบี 6   จำเป็นต่อการสร้างสารเคมีในสมองควบคุมการทำงานของเส้นประสาท โดยเฉพาะสารเซโรโทนินและโดพามีน  ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์  ความสมดุลของน้ำในร่างกายความจำ   และการนอน

 

นักวิจัยมีความเชื่อว่า   การแปรปรวนของระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนอาจทำให้ขาดวิตามินบี 6 ชั่วคราว  ส่งผลให้การผลิตและการทำงานของสารเคมีในสมองลดลงจึงทำให้เกิดอาการปวดพีเอ็มเอสได้   ทั้งนี้ในผู้หญิงบางคนที่มีอาการปวดพีเอ็มเอส  ได้แก่  อาการปวดหัวบวมน้ำซึมเศร้าอ่อนเพลียและหงุดหงิดและลดลง  เมื่อได้รับอาหารที่มีวิตามินบี 6 เพิ่มขึ้น

 

การเสริมวิตามินบี 6 ช่วยลดอาการเจ็บเต้านมในคนที่มีอาการพีเอ็มเอสได้ นอกจากนี้ วิตามินบี 6 ยังช่วยในการควบคุมระดับแมกนีเซียมในเลือด  ซึ่งการขาดวิตามินจะทำให้สมดุลของระดับแมกนีเซียมเปลี่ยนไปจนทำให้เกิดอาการเหมือนพีเอ็มเอสได้

 

มีคำเตือนว่าไม่ควรส่งเสริมวิตามินบี 6ขนาดสูง ให้คนที่มีอาการปวดพีเอ็มเอส  เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการเหน็บชาตามมือเท้า  และมีอาการปวดเริ่มด้วย

 

วิตามินอี  การขาดวิตามินอีอาจมีต่อการผลิตสารคล้ายฮอร์โมนที่มีชื่อว่าพรอสตาแกลนดิน ซึ่งสัมพันธ์กับอาการอาการพีเอ็มเอส  อาการคัดเต้านม บวมน้ำ  และน้ำหนักเพิ่มในช่วงก่อนมีประจำเดือน    การเสริมวิตามินอีอาจช่วยได้แต่จะไม่เสมอไป

 

แมกนีเซียม  หญิงที่มีอาการพีเอ็มเอส  มักจะพบว่าจะมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ  อาการบางอย่างของการขาดแมกนีเซียมจะคล้ายกับอาการพีเอ็มเอส  เช่น  ปวดกล้ามเนื้อ ความอยากอาหารเปลี่ยนไป  คลื่นไส้ อารมณ์ไม่คงเส้นคงวา  นอกจากนี้อาจจะมีการปวดหัว เวียนหัว  และมีอาการอยากของหวานเกิดขึ้นได้   อาการเหล่านี้บางครั้งแก้ไขได้ด้วยการเพิ่มอาหารแมกนีเซียมสูง  อย่างไรก็ดี  การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในเลือดจะมีผลมาจากการขาดแมกนีเซียมหรือไม่นั้น ก็ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด

 

แร่ธาตุอื่น ๆ ผู้หญิงที่มีอาการพีเอ็มเอส  บางคนมีอาการซึมเศร้า  อารมณ์แปรปรวน  และเจ็บเต้านม   อาจจะมีระดับธาตุเหล็กในเลือดต่ำ  แต่การได้รับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นจะช่วยได้หรือไม่ก็ยังไม่ชัดเจน    มีรายงานวิจัยว่า  การเพิ่มอาหารแคลเซียมสูงเพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียม  วันละ     1, 500  มิลลิกรัม  (เท่ากับนม 4 – 5 แก้ว แก้วละ 240ซีซี )  อาจจะช่วยลดอาการปวดพีเอ็มเอส  ทางด้านอารมณ์  เพิ่มสมาธิในการแก้ไขปัญหา  ลดอาการปวดและบวมน้ำได้

 

โดยทั่วไปผู้หญิงมีอาการพีเอ็มเอส  จะได้รับประโยชน์จากการกินอาหารไขมันต่ำ  เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี   (เช่นซีเรียล ถั่วต่างๆ  ข้าวโพด  ลูกเดือย )ซึ่งมีใยอาหารสูง มีสารอาหารเข้มข้น  ให้วิตามินเกลือแร่ครบถ้วนเพียงพอ   แต่อาหารควรมีน้ำตาลต่ำ   เกลือต่ำ  เลี่ยงอาหารสะดวกซื้อ  (ซึ่งมักจะมีส่วนผสมของแป้ง  น้ำตาล  ไขมัน   และเกลือสูง)  ควรเลือกบริโภค เนื้อล้วน ๆ   เช่นเนื้อไก่  เนื้อปลา  ดื่มน้ำ  ไขมันต่ำ  และดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว

 

ทาง  SN Food   อาหารเพื่อสุขภาพ  เห็นว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้หญิง ที่ก่อนมีจะมีประจำเดือนอย่างมาก    เพื่อลดอาการปวดที่ทรมานให้หายได้   จะได้ใช้ชีวิตในปัจจุบันอย่างมีความสุข  ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพตนเองก่อนมีประจำเดือน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อผู้หญิงไม่ใช่น้อย

อาหารสายยาง, อาหารสุขภาพ, อาหารผู้ป่วย, อาหารเหลว