กระเทียมดำ รวมคุณสมบัติดีๆ
กระเทียมดำก็คือกระเทียมสด ที่นำมาผ่านกระบวนการหมักบ่ม ด้วยอุณหภูมิสูงประมาณ60–90°C ในความชื้นที่ควบคุมให้อยู่ราว 80–90% การหมักบ่มนี้จะทำให้กระเทียมกลายเป็นสีดำ และยังมีเนื้อสัมผัสเปลี่ยนไป มีความนุ่มและยืดหยุ่นคล้ายเยลลี่ รวมทั้งรสชาติที่ไม่เหมือนเดิม ว่ากันว่ารสชาติของกระเทียมดำ คล้ายกับรสชาติของน้ำส้มบัลซามิก ผสมกับซอสถั่วเหลือง พร้อมด้วยรสหวานนิดๆ คล้ายกับลูกพรุน
การหมักบ่มทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของกระเทียม ทำให้สารประกอบที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น อย่างเช่นสารอัลคาลอยด์ (Alkaloid)หรือ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) โดยมีการศึกษาหลายชิ้นที่รายงานว่า สารสกัดกระเทียมดำแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพหลายอย่าง เช่น ต้านอนุมูลอิสระ ต่อสู้อาการแพ้ ต้านโรคเบาหวาน ต้านการอักเสบ และต้านมะเร็ง
ประโยชน์สุขภาพของกระเทียมดำ มีอะไรบ้าง
ช่วยต่อสู้อาการสมองเสื่อม
นักวิจัยพบความเชื่อมโยงระหว่างโรคสมองเสื่อมกับเซลล์สมองตาย เนื่องจากเซลล์สมองไม่สามารถสร้างใหม่ได้ การปกป้องเซลล์สมองไม่ให้ตายจึงมีความสำคัญอย่างมาก และสารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยได้ การบริโภคกระเทียมดำที่มีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง จึงช่วยลดอนุมูลอิสระที่เกินสมดุลในร่างกาย ช่วยป้องกันการเกิดอาการอักเสบ และความเสียหายต่อเซลล์ อีกทั้งยังช่วยการไหลเวียนโลหิต ทำให้สมองได้รับออกซิเจนมากขึ้น เพิ่มความตื่นตัว และทำให้เรามีสมาธิและความจำดีขึ้นด้วย ดังนั้น ไม่เพียงแค่คุณจะลดความเสี่ยงต่อปัญหาในอนาคต แต่คุณยังปกป้องตัวเองจากปัญหาสมองในระยะสั้นอีกด้วย
กระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกันของคุณมีบทบาทอย่างมากต่อสุขภาพโดยรวมของเรา ช่วยป้องกันโรคและการติดเชื้อต่างๆ รวมถึงอาการเรื้อรังบางอย่าง สารต้านอนุมูลอิสระที่มีปริมาณสูงในกระเทียมดำ ช่วยต่อสู้กับอนุมูลอิสระ ลดอาการอักเสบ และป้องกันความเสียหายจากอนุมูลอิสระทีเกิดกับเซลล์
ในการศึกษาในหลอดทดลองเมื่อปี 2012 ที่ประเมินความแตกต่างระหว่างกระเทียมดำและกระเทียมสด และผลกระทบต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน พบว่าไม่เพียงแต่กระเทียมดำจะแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติในการต้านมะเร็งและต้านอนุมูลอิสระแล้ว มันยังมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันด้วย
ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ
หนึ่งในคุณสมบัติอันยอดเยี่ยมของกระเทียมก็คือ การทำให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง และกระเทียมดำก็ทำได้เช่นกัน และมีการศึกษาบางชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า มันมีประสิทธิภาพไม่แพ้กระเทียมสด โดยการศึกษาในสัตว์ทดลองเมื่อปี2018 ซึ่งเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระเทียมดำและกระเทียมสด ต่อการฟื้นฟูสุขภาพหัวใจหลังจากเกิดภาวะขาดเลือด นักวิจัยพบว่าทั้งกระเทียมสดและกระเทียมดำ สารถช่วยลดความเสียหายของหัวใจได้
บรรเทาอาการแพ้
การเกิดอาการแพ้สัมพันธ์กับแอนตี้บอดี้อิมมูโนโกลบิน อี (IgE)และมาสต์เซลล์ (mast cells) เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ซึ่งต่างมีส่วนในการทำให้เกิดอาการอักเสบในระยะยาว ในการศึกษาซึ่งใช้กระเทียมดำ 2มก. ในสัตว์ทดลอง พบว่ามีมีการลดลงของเอ็นไซม์ที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ จึงป้องกันไม่ให้เกิดการแพ้ได้ และในการศึกษาอีกชิ้นหนึ่ง กระเทียมดำสามารถยับยั้งโมเลกุลหลักที่ทำให้เกิดการแพ้ และป้องกันการส่งสัญญาณที่ทำให้ภูมิคุ้มกันโจมตีเซลล์ของตัวเองซึ่งนำไปสู่อาการแพ้ต่างๆ
เพิ่มไขมันดี
“ไขมันดี” หรือคอเลสเตอรอล HDL ช่วยในการควบคุมไขมัน “เลว” จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ การศึกษาวิจัยชี้ว่ากระเทียมดำอาจมีประโยชน์หัวใจที่มากกว่ากระเทียมสด โดยการศึกษาเมื่อปี 2014 ที่โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย Chonbuk National ในเกาหลีใต้ พบว่าผู้ที่รับประทานสารสกัดจากกระเทียมดำทุกวันเป็นเวลา14 วัน มีไขมันดีโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น และยังมีออลโปโปรตีน บี (allpoprotein)Bในไขมันในเลือดลดลง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
กระเทียมดำยังมีส่วนผสมของสารประกอบ S-allylcysteineในปริมาณสูง ซึ่งพบว่าสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ ซึ่งงานวิจัยของมหาวิทยาลัยDankookในเกาหลีก็พบว่า กระเทียมดำสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ได้อย่างมีนัยสำคัญ