เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุ !
เป็นที่ทราบดีว่า ผู้สูงอายุจำเป็นต้องควบคุมอาหารการกินอย่างมาก เพราะกลุ่มคนในวัยนีต้องระมัดระวังในเรื่องของการรับประทาน เพราะโดยส่วนมากกลุ่มผู้สูงอายุ จะมีปัญหาในเรื่องของสุขภาพช่องปาก เช่นการสูญเสียฟัน โรคฟันผุ เหงือกอักเสบ อาจจะส่งผลในเรื่องของรับประทานอาหาร ผู้สูงอายุจะต้องรับประทานอาหารที่อ่อน เคี้ยวง่าย ในกรณีที่ผู้สูงอายุ ไม่สามารถรับประทานอาหาร หรือเคี้ยวอาหารไม่ได้ ก็อาจจะให้รับประทานอาหารประเภทโจ๊ก ข้าวต้ม ซึ่งจะง่ายต่อการรับประทานมากกว่าสำหรับคนในวัยนี้ เมนูเพื่อสุขภาพอาหาร สำหรับผู้สูงอายุ จึงมีความสำคัญอย่างมาก ถึงแม้ว่าผู้ป่วยในวัยนี้อาจจะมีฟันหรือสูญเสียฟันไปแล้ว ก็ควรเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อสุขภาพช่องปากโดยรวมที่ดี นอกจากนี้ความสามารถในการรับรส อาจจะลดลงด้วย เมื่อที่อายุมากขึ้น การรับรสหรือกลิ่นก็อาจจเสื่อมถอยลงได้ เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป ก็อาจจะทำให้รู้สึกว่า อาหารไม่อร่อย ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้ เพราะฉะนั้นเราสามารถปรุงรส ปรับเปลี่ยนรสชาตของอาหารให้พอดีตามความชอบของผู้สูงอายุ เพื่อช่วยกระตุ้นการขับน้ำย่อยและน้ำลาย ทำให้เกิดความรู้สึกเจริญอาหารมากขึ้น อาจจะคิดเมนูใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นความอยากอาหารและช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้มากขึ้น
สำหรับอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ควรจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสม อาจจะเป็นอาหารที่อ่อนนุ่ม หรือปรุงให้นิ่ม หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก และที่สำคัญเลยคือต้องมีสารอาหารที่ครบ 5 หมู่ และควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยในแต่ละมื้อควรมีปริมาณอาหารที่น้อยลง และควรรับประทานให้บ่อยขึ้น เพื่อให้ระบบย่อยอาหาร ทำงานได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารขณะที่อาหารยังร้อนอยู่ เพื่อจะได้ช่วยกระตุ้นในเรื่องของน้ำย่อยอาหาร ทำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารได้มากขึ้นและทำให้รบบย่อยดีขึ้นด้วย สำหรับปริมาณที่ผู้สูงอายุควรรับประทานในแต่ละวัน ควรรับประทานเนื้อสัตว์ 4-5 ช้อนโต๊ะ ควรเน้นเป็นเนื้อปลา นมสด ควรรับประทาน 240 มิลลิลิตร ควรเป็นนมพร่องมันเนย 1 แก้วทุกวัน ไข่ไก่ ควรรับประทาน 3/4 ฟอง ต่อสัปดาห์ แต่ผู้สูงอายุที่มีปัญหาในเรื่องของไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือดสูงควรเลือกรับประทานเฉพาะไข่ขาว ข้าวและอาหารประเภทแป้ง ควรรับประทาน 6-8 ทัพพี ควรเลือกข้าวหรืออาหารประเภทแป้งอื่นๆที่ผ่านการขัดสีน้อย ส่วนผักใบเขียว ไม่ว่าจะสดหรือต้ม รับประทาน 2 ทัพพีต่อวัน และผลไม้หรือผลไม้สุก มื้อละ 1 ส่วน ควรหลีกเลี่ยวผลไม้รสหวานจัด เช่นทุเรียน ขนุน ลำไย องุ่น
รวมไปถึงไขมันก็ควรรับประทานในปริมาณที่พอดี 2 ช้อนโต๊ะโดยประมาณ หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์ เนย ส่วนน้ำดื่ม ควรดื่มวันละ 6-8 แก้ว ดื่มน้ำบริสุทธิ์หรือน้ำผลไม้คั้นสดได้บ้าง แต่ควรหลีดเลี่ยง ประเภทน้ำอัดลม ชาและกาแฟ สำหรับตัวอย่างเมนูอาหารเพื่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ควรจะเป็นโจ๊ก ข้าวต้มปลา ข้าวโอ๊ตต้มใส่นม ไข่ตุ๋น ซุปมะเขือเทศ ซุปเห็ด ซุปฟักทอง ซุปลูกเดือย ซุปข้าวกล้อง ซุปธัญพืช ถั่วแดงกวน ถั่วเขียวต้มน้ำตาล ลูกเดือยต้มน้ำตาล กล้วยบวชชี ทั้งหมดนี้คืออาหารประเภทธัญพืชที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้สูงอายุแต่ก็ต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพประเภทอาหารคาว ได้แก่ ฟักทองผัดไข่ เห็กผัดน้ำมันหอย ผัดผักบุ้ง ต้มเลือดหมู แกงส้มผักรวม แกงจืดไข่เจียว ต้มจับฉ่าย สลัดปลาทูน่า สุกี้กุ้ง ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่มีผักเป็นส่วนผสม ซึ่งถือว่ามีประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารมากมาย ซึ่งสามารถเลือกรับประทานได้อย่างหลากหลาย แต่ต้องระมัดระวังเรื่องของรสชาต ต้องถูกปากผู้สูงอายุด้วย อาจจะปรับเปลี่ยนรสชาตเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารด้วย